กิลเบิร์ต นิวตัน ลิวอิส ได้เสนอการเขียนสัญลักษณ์ในการแสดงธาตุและเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุโดยการใช้จุด เรียกว่า
โดยจำนวนจุดจะเท่ากับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุนั้น และเขียนจุดรอบสัญลักษณ์ของธาตุ โดยเขียนจุดเดี่ยวทั้ง 4 ด้านรอบสัญลักษณ์ของธาตุก่อน แล้วจึงเติมจุดให้เป็นคู่
ยกเว้น ธาตุฮีเลียม (He) ที่มี 2 เวเลนซ์อิเล็กตรอน จะเขียนเป็นจุดคู่อยู่ด้านเดียวกัน ดังรูป
เนื่องจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี นักเคมีจึงใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสในการนับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของปฏิกิริยา
นอกจากนี้นักเคมียังพบว่า อะตอมของธาตุอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเพื่อที่จะทำให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของแก๊สมีสกุลหรือแก๊สเฉื่อย โดยจะทำให้อะตอมมีเสถียรภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกว่า “กฎออกเตต” (octet rule)
โดยที่อะตอมของธาตุอาจมีการให้อิเล็กตรอน รับอิเล็กตรอน หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำให้เกิดพันธะเคมี 3 ประเภท ได้แก่
เช่น
โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) ฯลฯ
โดยจะมีสมบัติบางประการคล้ายกัน และมีการยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่เหมือนกัน
ยกเว้น AlCl3 BeCl2 จะไม่ได้เกิดเป็นพันธะไอออนิกซึ่งเป็นข้อยกเว้น
ไอออนบวกและไอออนลบมีประจุไฟฟ้าที่ต่างกัน จึงเกิดการยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า “พันธะไอออนิก” (ionic bond) และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า “สารประกอบไอออนิก” (ionic compound) ซึ่งสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎออกเตต ดังรูป