เราได้เรียนจากวิดิโอที่ 1 มาแล้วว่ากระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราทำให้ศักย์ไฟฟ้าที่ปลายลวดทั้งสองด้านมีค่าแตกต่างกัน โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วที่ศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังขั้วที่ศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า
จากรูปที่ 1 เรากำหนดให้ปลาย และปลาย
ของลวดตัวนำมีศักย์ไฟฟ้าเป็น
และ
ตามลำดับ และจากรูปเรารู้ว่า
นั้นมีค่ามากกว่า
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลจากปลายด้าน
ไปยังปลายด้าน
เราเรียกผลต่างระหว่างศักย์ไฟฟ้าที่ปลายทั้งสองด้านว่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (Potential Difference : p.d) ระหว่างจุด 2 จุด โดยเราเขียนสัญลักษณ์
แทนความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด และ
เราพบว่าหากความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายลวดมีค่าเพิ่มมากขึ้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลในลวดตัวนำก็จะมีค่ามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิของลวดตัวนำมีค่าคงตัว กระแสไฟฟ้าที่ไหลในลวดตัวนำจะแปรผันโดยตรงกับความต่างศักย์ที่ตกคร่อมปลายทั้งสองของลวดตัวนำ
รูปที่ 1 ประจุพาหะ (อิเล็กตรอนอิสระ) ถูกเร่งผ่านความต่างศักย์ทำให้พลังงานจลน์ของประจุพาหะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่ออิเล็กตรอนอิสระชนกับไอออนบวก อิเล็กตรอนอิสระจะสูญเสียพลังงานจลน์ พลังงานที่สูญเสียนี้จะเปลี่ยนรูปไปเป็นความร้อน เป็นต้น
การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าออกมาในรูปของความร้อนหรือแสงนี้สามารถถูกเขียนแสดงออกมาในรูปของปริมาณที่เรียกว่า ความต้านทาน (Resistance) เราสามารถนิยามความต้านทาน จากอัตราส่วนของระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าต่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดตัวนำหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราสนใจ
ความต้านทานอาจมีค่าคงที่หรือไม่คงที่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสมบัติของวัสดุนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
รูปที่ 2 กราฟแสดงความต้านทานของวัสดุต่าง ๆ จะเห็นโลหะจะมีค่าความต้านทานคงที่ ต่างจากหลอดฟิลาเมนต์ (หลอดไส้) ที่เมื่อเพิ่มความต่างศักย์ให้สูงขึ้น ความต้านทานจะสูงขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีวัสดุบางชนิดที่เมื่อความต่างศักย์มากกว่าค่า ๆ หนึ่ง ความต้านทานจะลดลงจนเกือบจะเป็นศูนย์
ในกรณีของโลหะตัวนำที่อุณหภูมิคงตัว ความต้านทานของโลหะตัวนำจะมีค่าคงตัวดังที่แสดงในรูปที่ 2 (ก) เราจะเรียกวัสดุที่ความต้านทานมีค่าคงตัว ไม่ขึ้นกับความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ให้เข้าไปว่าเป็นไปตามกฏของโอห์ม (Ohm’s law)
รูปที่ 3 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของวัสดุใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามกฎของโอห์มจะไม่เป็นกราฟเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิด ในกรณีความต้านทานของวัสดุชิ้นนี้จะมีค่าลดลงเมื่อความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เราพบว่าความต้านทานของวัสดุชนิดเดียวกันอาจจะมีค่าไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของวัสดุนั้น ๆ โดยเราพบว่าความต้านทานนั้นมีค่าแปรผันตรงกับความยาวของวัตถุนั้นและแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัดของวัตถุ โดยมีค่าคงที่การแปรผันคือค่าสภาพความต้านทาน (Resistivity; ) เราสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า
ค่าสภาพความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุชนิดต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนี้