รูปที่ 1 แสดงการไหลของอิเล็กตรอนอิสระในเส้นลวดตัวนำ โดยการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระทำให้เกิดกระแสอิเล็กตรอน ส่วนกระแสสมมติคือกระแสไฟฟ้าที่เราสมมติให้มีขนาดเท่ากับกระแสอิเล็กตรอนแต่มีทิศทางตรงข้ามกับกระแสอิเล็กตรอน
กระแสสมมติจะมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุบวก (ตามทิศทางสนามไฟฟ้า) แต่จะมีทิศทาง
การเคลื่อนที่ตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุลบ (สวนทางกับทิศทางสนามไฟฟ้า)
คำว่า "กระแสไฟฟ้า" (สัญลักษณ์ของกระแสไฟฟ้าคือ I) ที่เราได้ยินบ่อย ๆ หมายถึง กระแสสมมติ
ความสัมพันธ์ของนิยามกระแสนั้นสามารถนำมาวาดกราฟได้ โดยจะมีกราฟอยู่ 2 กราฟนั่นคือ
โดยหากพิจารณาที่พื้นที่ใต้กราฟของ
กราฟ (1) จะได้ประจุไฟฟ้า
และหากพิจารณาที่ความชันของ
กราฟ (2) จะได้กระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าในตัวนำไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากประจุพาหะเคลื่อนที่ (Charge carrier) ซึ่งก็คืออิเล็กตรอนอิสระในโลหะนั่นเอง โดยอิเล็กตรอนอิสระที่เคลื่อนที่ภายในตัวนำไฟฟ้านั้นจะเป็นการเคลื่อนที่แบบ
ไร้ระเบียบและอิเล็กตรอนอิสระยังเกิดการชนกับไอออนบวกที่เรียงตัวเป็นโครงผลึกอยู่ภายในตัวนำไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้ความเร็วของอิเล็กตรอนในแต่ละชั่วขณะเวลานั้นมีค่าไม่คงที่ แม้ว่าความเร็วของอิเล็กตรอน ณ ขณะใด ๆ มีค่าไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้ได้ด้วยความเร็วเฉลี่ย โดยความเร็วเฉลี่ยของประจุพาหะที่เคลื่อนที่นั้นถูกเรียกว่าความเร็วลอยเลื่อน (Drift velocity :
รูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่แบบไร้ระเบียบของอิเล็กตรอนอิสระ นอกจากนี้อิเล็กตรอนอิสระยังชนกับไอออนบวกที่
เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบอยู่ภายในตัวนำ ทำให้ค่าความเร็วลอยเลื่อน (ความเร็วเฉลี่ยของอิเล็กตรอนอิสระ) มีค่าค่อนข้างน้อยอยู่ที่ประมาณระดับ มิลลิเมตรต่อวินาที