แรง กฏการเคลื่อนที่ (3)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แรง กฏการเคลื่อนที่ (3) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

แรง กฏการเคลื่อนที่ (3) (ชุดที่ 2)

HARD

แรง กฏการเคลื่อนที่ (3) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

แรงโน้มถ่วงสากล
และแรงเสียดทาน

กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน (Newton's law of universal gravitation)

นิวตันได้ระบุในงานของเขา “Philosophiae Naturalis Principia Mathematica” เกี่ยวกับการดึงดูดของจุดมวลในเอกภพว่า

“แต่ละจุดมวลในเอกภพจะดึงดูดจุดมวลอื่นๆ ด้วยแรงที่มีขนาดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่ากำลังสองของระยะห่างระหว่างกัน”

ซึ่งก็คือ กฏความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน เขียนความสัมพันธ์ได้เป็น

             F subscript G equals G fraction numerator left parenthesis m subscript 1 m subscript 2 right parenthesis over denominator r squared end fraction

โดย    G    คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่าเป็น
                begin mathsize 14px style 6.673 space cross times space 10 to the power of negative 11 space end exponent N m to the power of 2 space end exponent divided by space left parenthesis k g right parenthesis to the power of 2 space end exponent end style
      begin mathsize 12px style m subscript 1 comma m subscript 2 end style  คือ ค่ามวลของวัตถุแรกกับวัตถุที่สองตามลำดับ
          r    คือ ระยะห่างระหว่างมวลสองก้อน

แรงเสียดทาน (Friction)

คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของสองวัตถุและมีทิศตรงข้ามกันกับทิศของการเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. แรงเสียดทานสถิต (Static friction) เกิดขึ้นเมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุหนึ่งแต่ยังไม่เคลื่อนที่ และจะมีค่ามากที่สุดตอนที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่บนผิวหนึ่ง โดยขนาดของแรงเสียดทานมีค่าเป็น
                    f subscript s less or equal than mu subscript s N

2. แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic force) เกิดขึ้นเมื่อผิวของวัตถุหนึ่งเคลื่อนที่บนอีกผิวหนึ่งที่มีอัตราเร็วคงตัว โดยแรงเสียดทานจลน์จะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิต และมีค่าเป็น

                  f subscript k equals mu subscript k N

ลักษณะของแรงเสียดทาน

  1. แรงเสียดทานนั้นไม่ขึ้นกับจำนวนพื้นที่ผิวสัมผัส
  2. แรงเสียดทานนั้นไม่ขึ้นกับความเร็วที่วัตถุเคลื่อนที่
    และยังมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
  3. แรงเสียดทานขึ้นอยู่กับแรงที่วัตถุกดพื้นในแนวที่ตั้งฉากหรือแรงปฏิกิริยาของพื้นในแนวที่ตั้งฉาก
  4. แรงเสียดทานขึ้นกับพื้นผิวสัมผัส เช่น เรียบหรือขรุขระ

ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน

แรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้คือ

  1. แรงกดที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส ถ้าแรงกดตัวฉากกับผิวสัมผัสมากจะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย
  2. ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส พื้นผิวสัมผัสที่หยาบและขรุขระจะเกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นผิวสัมผัสที่เรียบลื่น
  3. ชนิดของผิวสัมผัส เช่น คอนกรีตกับเหล็ก เหล็กกับไม้ จะเห็นว่าผิวสัมผัสมีความหยาบขรุขระ เรียบลื่น เป็นมันแตกต่างกัน ทำให้เกิดแรงเสียดทานไม่เท่ากัน

การลดแรงเสียดทาน

การลดแรงเสียดทานสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. การใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบี
  2. การใช้ระบบลูกปืน
  3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตลับลูกปืน
  4. การออกแบบรูปร่างของยานพาหนะให้เพรียวลม
    ทำให้ลดแรงเสียดทาน

การเพิ่มแรงเสียดทาน

การเพิ่มแรงเสียดทานมีประโยชน์ในด้านความปลอดภัยของมนุษย์ เช่น

  1. ยางรถยนต์มีดอกยางเป็นลวดลายเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนน
  2. การหยุดรถต้องเพิ่มแรงเสียดทานที่เบรก เพื่อหยุดหรือทำให้รถแล่นช้าลง
  3. รองเท้าบริเวณพื้นต้องมีลวดลายเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทำให้เวลาเดินไม่ลื่นหกล้มได้ง่าย
  4. การปูพื้นห้องน้ำควรใช้กระเบื้องที่มีผิวขรุขระเพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดทาน