ในวิชาฟิสิกส์จะมีปริมาณต่าง ๆ เช่น ปริมาณทางกลศาสตร์ ปริมาณทางไฟฟ้า ปริมาณทางความร้อน
ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้เป็น ปริมาณสเกลาร์ (scalar) กับปริมาณเวกเตอร์ (vector)
เราจะสังเกตว่า
ปริมาณสเกลาร์จะมีแต่ขนาดเท่านั้น
ปริมาณเวกเตอร์จะเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง
ดังนั้น
การรวมปริมาณสเกลาร์เราจะใช้วิธีทางพีชคณิต (บวก ลบ คูณ หาร)
การรวมปริมาณเวกเตอร์จะต้องใช้วิธีการแบบเวกเตอร์
ในการกำหนดตัวแปร (variable) ที่เป็นปริมาณเวกเตอร์เราจะใช้วิธีอยู่ 2 แบบคือ
แต่ในกรณีที่เราต้องการเขียนภาพแสดงปริมาณเวกเตอร์
เราจะใช้ภาพลูกศรในการเขียนโดย
ยกตัวอย่างเช่น เวกเตอร์แรง ขนาด 5 นิวตันทิศทางขวามือ สามารถเขียนภาพลูกศรได้ดังรูป
เมื่อมีแรงหลาย ๆ แรงมากระทำต่อวัตถุเดียวกันที่เวลาเดียวกัน เราจะได้แรงลัพธ์ (resultant force) เสมือนมีแรงเดียวมากระทำต่อวัตถุนั้นโดยถูกเขียนด้วยตัวแปร และจะมีปริมาณขนาดตามการรวมกันของเวกเตอร์
ในการรวมกันของปริมาณเวกเตอร์จะมีด้วยกันอยู่ 2 วิธีคือ
นอกจากนี้เวกเตอร์ของแรงหนึ่งเราสามารถแยกองค์ประกอบเป็นแรงย่อยตามระบบพิกัดฉาก (Cartesian cooridates) ตามแนวแกน X และแกน Y โดย