แรง กฏการเคลื่อนที่ (1)

ยอดวิว 10.3k

แบบฝึกหัด

EASY

แรง กฏการเคลื่อนที่ (1) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

แรง กฏการเคลื่อนที่ (1) (ชุดที่ 2)

HARD

แรง กฏการเคลื่อนที่ (1) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

เวกเตอร์ของแรง

ปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์

ในวิชาฟิสิกส์จะมีปริมาณต่าง ๆ เช่น ปริมาณทางกลศาสตร์ ปริมาณทางไฟฟ้า ปริมาณทางความร้อน

ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้เป็น ปริมาณสเกลาร์ (scalar) กับปริมาณเวกเตอร์ (vector)

เราจะสังเกตว่า

  • ปริมาณสเกลาร์จะมีแต่ขนาดเท่านั้น
  • ปริมาณเวกเตอร์จะเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง

ดังนั้น

  • การรวมปริมาณสเกลาร์เราจะใช้วิธีทางพีชคณิต (บวก ลบ คูณ หาร)
  • การรวมปริมาณเวกเตอร์จะต้องใช้วิธีการแบบเวกเตอร์

การเขียนเวกเตอร์

ในการกำหนดตัวแปร (variable) ที่เป็นปริมาณเวกเตอร์เราจะใช้วิธีอยู่ 2 แบบคือ 

  1. การใช้อักษรตัวหนา เช่น เวกเตอร์ของความเร็ว v
  2. การใช้สัญลักษณ์ลูกศรครึ่งบนชี้จากซ้ายไปขวาเหนือตัวแปร เช่น เวกเตอร์ของความเร่ง a with rightwards harpoon with barb upwards on top

แต่ในกรณีที่เราต้องการเขียนภาพแสดงปริมาณเวกเตอร์
เราจะใช้ภาพลูกศรในการเขียนโดย

  • ความยาวของลูกศรจะทำหน้าที่แทนขนาดปริมาณของเวกเตอร์นั้น
  • หัวลูกศรจะแสดงถึงทิศทางของเวกเตอร์

ยกตัวอย่างเช่น เวกเตอร์แรง F with rightwards harpoon with barb upwards on top ขนาด 5 นิวตันทิศทางขวามือ สามารถเขียนภาพลูกศรได้ดังรูป

แรงลัพธ์และการรวมเวกเตอร์

เมื่อมีแรงหลาย ๆ แรงมากระทำต่อวัตถุเดียวกันที่เวลาเดียวกัน เราจะได้แรงลัพธ์ (resultant force) เสมือนมีแรงเดียวมากระทำต่อวัตถุนั้นโดยถูกเขียนด้วยตัวแปร begin inline style sum for blank of F with rightwards harpoon with barb upwards on top end styleและจะมีปริมาณขนาดตามการรวมกันของเวกเตอร์

ในการรวมกันของปริมาณเวกเตอร์จะมีด้วยกันอยู่ 2 วิธีคือ

  1. วิธีรวมเวกเตอร์ด้วยการวาดรูป
  2. วิธีรวมเวกเตอร์ด้วยการคำนวณด้วยรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

การแตกแรงเป็นแรงย่อย

นอกจากนี้เวกเตอร์ของแรงหนึ่งเราสามารถแยกองค์ประกอบเป็นแรงย่อยตามระบบพิกัดฉาก (Cartesian cooridates) ตามแนวแกน X และแกน Y โดย

  • open vertical bar F subscript x close vertical bar equals open vertical bar F close vertical bar cos theta
  • open vertical bar F subscript y close vertical bar equals open vertical bar F close vertical bar sin theta