อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก (ชุดที่ 1)

HARD

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก (ชุดที่ 2)

news

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

เนื้อหา

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและ
โลกตะวันตก
    

       โลกตะวันออกและโลกตะวันตกมีการติดต่อกันมายาวนานเป็นเวลากว่า 2,000 ปีมาแล้ว ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือการค้าขาย การทูต การสงคราม และการเผยแผ่ศาสนา การติดต่อกันดังกล่าวทำให้มีการแลกเปลี่ยนทางอารยธรรม สำหรับเส้นทางการติดต่อในระยะแรก เป็นที่รู้กันอย่างดีในชื่อ “เส้นทางสายไหม หรือเส้นทางสายแพรไหม” (The Silk Road) ต่อมาเมื่อมีการสำรวจทางทะเลโดยชาวโปรตุเกส และได้ค้นพบหมู่เกาะเครื่องเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เส้นทางการค้าทางทะเลดังกล่าว ที่รู้จักกันในชื่อ “เส้นทางเครื่องเทศ” มีความสำคัญขึ้นมาแทนที่

 สาเหตุและรูปแบบการติดต่อ

          การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกเกิดจากสาเหตุหลายประการในเวลาที่แตกต่างกัน บางเวลาสาเหตุหนึ่งมีความสำคัญมากกว่า แต่บางเวลาอาจมีสาเหตุอีกแบบหนึ่งก็ได้ หรือบางสาเหตุทำให้เกิดสาเหตุอื่นก็ได้


การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกเกิดจากปัจจัย ดังนี้

       1) การขยายอำนาจ  ยกตัวอย่างเช่น ผลจากการรุกรานอินเดียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนีย ระหว่าง 334 – 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยผ่านทางเอเชียกลางเข้ามาจนถึงแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานปัจจุบัน มีผลทำให้อิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของกรีกเข้ามาแพร่หลายในเอเชีย โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูปแบบคันธาระ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบแรกของโลก และได้รับอิทธิพลมาจากประติมากรรมของกรีก
        นอกจากนี้ การขยายอำนาจโดยการทำสงครามยังมีให้พบเห็นต่อมาอีกในสมัยหลัง เช่น สงครามครูเสด, การรุกรานเอเชียกลางและยุโรปตะวันออก โดยชาวมองโกล เป็นต้น
         การขยายอำนาจทางการสงครามที่ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน คือ สงครามครูเสด (Crusade War) ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาวคริสต์ในยุโรปกับชาวมุสลิมในตะวันออกกลาง ทำให้ชาวยุโรปได้พบเห็นความเจริญของโลกตะวันออกในดินแดนที่ไปทำสงครามและมีความต้องการสินค้าจากโลกตะวันออกมากขึ้น
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลได้ขยายอำนาจไปถึงยุโรปตะวันออกทำให้พื้นที่ของตะวันออกและตะวันตกของจีนเชื่อมต่อถึงกัน ประกอบกับปัจจัยที่ทำให้การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกเพิ่มมากขึ้น

       2) การแสวงหาพันธมิตร  หลักฐานสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการติดต่อระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก คือ การที่จักรพรรดิจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรทางตะวันตก เพื่อขอความช่วยเหลือในการปราบปรามพวกคนเถื่อนที่เข้ามารุกรานดินแดนจีนอยู่บ่อยครั้งในเวลานั้น ซึ่งราชทูตดังกล่าวได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรเหล่านั้น ดินแดน
ต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่ได้พบเห็นมากมาย รวมถึงจักรวรรดิโรมัน ซึ่งกำลังรุ่งเรืองอยู่ในเวลานั้นด้วย

          สำหรับเส้นทางที่ราชทูตและคณะใช้เดินทาง ในเวลาต่อมาได้รับการขนานนามว่า “เส้นทางสายไหม หรือเส้นทางสายแพรไหม” (The Silk Road) ซึ่งเส้นทางสายไหมนี้ได้รับความนิยมจากนักเดินทาง และพ่อค้าที่ต้องการจะเดินทางไปค้าขาย หรือติดต่อยังอีกฟากหนึ่งของโลกเป็นเวลากว่า 1,000 ปี จนกระทั่งมีการสำรวจเส้นทางการค้าทางทะเลในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เส้นทางสายไหมจึงหมดความสำคัญลง

          นักเดินทางผ่านเส้นทางสายไหมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พระเสวียนจางหรือพระถังซำจั๋ง ที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดีย (ค.ศ. 618 - 632) และมาร์โค โปโล นักเดินทางชาวเวนิส ซึ่งเดินทางมารับราชการในรัชสมัยจักรพรรดิกุบไลข่าน (ค.ศ. 1275 - 1291) แต่ต่อมาเมื่อความเจริญด้านการเดินเรือและการสำรวจทางทะเลประสบความสำเร็จ เส้นทางค้าขายทางทะเลจึงได้มีความสำคัญแทนที่ 

       3) การเผยแผ่ศาสนา  การเผยแผ่ศาสนาในสมัยโบราณ มีทั้งการเผยแผ่ในทวีปเอเชียด้วยกัน คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และการเผยแผ่ศาสนาข้ามทวีป ได้แก่ การเผยแผ่ศาสนาคริสต์มายังเอเชีย โดยเฉพาะเข้าไปยังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งการเผยแผ่ศาสนายังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน แต่อาจมีช่องทางหรือรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

       4) การค้าขาย  ได้มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผ้าไหม จากจีนซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเป็นที่ต้องการอย่างมากของชนชั้นสูงชาวโรมัน เป็นต้น  ซึ่งการจะเดินทางค้าขายไม่ว่าจากตะวันตกไปสู่ตะวันออก หรือจากตะวันออกไปสู่ตะวันตกก็ตาม จะต้องใช้เส้นทางบก ที่เรียกว่า “เส้นทางสายไหม” ซึ่งมีความยากลำบาก และอันตราย แม้ว่าเส้นทางดังกล่าวจะเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมในเวลานั้นก็ตาม (เพราะมีเส้นทางเดียว)

          ต่อมาเมื่อถึงยุคการสำรวจทางทะเล ชาวตะวันตกต้องการแสวงหาเส้นทางการเดินเรือมายังแหล่งผลิตเครื่องเทศ โดยเฉพาะ “พริกไทย” อันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวยุโรปในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องเทศ อย่างเช่น พริกไทย ช่วยในการปรุงรสอาหาร ถนอมอาหาร และเป็นยารักษาโรคอีกด้วย สำหรับแหล่งผลิตเครื่องเทศตั้งอยู่ในบริเวณหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวยุโรปเรียกว่า “หมู่เกาะอินเดียตะวันออก” โดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสนามว่า วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) ได้เดินทางจากยุโรปอ้อมแหลมกู๊ดโฮป และเดินทางมาถึงเมืองกาลีกัต (Calicut) ในอินเดีย และเดินทางต่อมายังหมู่เกาะอินเดียตะวันออกได้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นับได้ว่าการเดินทางถึงเอเชียของชาวตะวันตก ด้วยการใช้เรือเช่นนี้ ได้เป็นการจุดประกายการล่าอาณานิคม และแสวงหาทรัพยากรในทวีปแอฟริกา และเอเชีย ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ร้อยปีข้างหน้าด้วย

           กล่าวโดยสรุป ระหว่าง ค.ศ. 500 – 1500 โดยประมาณ โลกตะวันออกมีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าโลกตะวันตก แต่หลังจากที่โลกตะวันตกเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ อันนำไปสู่ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม แนวคิดเรื่องจักรวรรดินิยม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดสังคมนิยม จึงทำให้อารยธรรมของยุโรปเจริญรุดหน้ามากกว่าอารยธรรมตะวันออก รวมไปถึงอำนาจทางการทหาร และเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง ในขณะที่โลกตะวันออกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนั้น โลกตะวันออกจึงด้อยความเจริญมากกว่าและกลายเป็นผู้รับอารยธรรมของโลกตะวันตกมาใช้มากกว่าในที่สุด


ผลของการติดต่อระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันตก


        การแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผาประเภท Porcelain ของจีน ซึ่งเป็นสินค้าที่นิยมในหมู่ชาวตะวันตกชั้นสูงอย่างชาวโรมัน เครื่องเทศ พริกไทย สำหรับปรุงและถนอมอาหารจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่นิยมของชาวตะวันตก ส่วนสินค้าตะวันตกที่เป็นที่นิยมในตะวันออก เช่น ม้า กระเบื้องจากเปอร์เซีย
        การรับและแลกเปลี่ยนความเจริญทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคโบราณและยุคกลาง ดูเหมือนว่าโลกตะวันออกจะมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าโดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์เข็มทิศ กระดาษและแท่นพิมพ์ จนได้รับการยกย่องเป็นศูนย์กลางความเจริญของโลก ชาวอินเดียคิดสัญลักษณ์แทนตัวเลขในระบบเลขฐานสิบ ทศนิยม การคำนวณหาพื้นที่ซึ่งชาวอาหรับได้รับไปเผยแพร่ในยุโรป
        ในยุคต่อมาชาติตะวันตกกลับมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการด้านต่าง ๆ เนื่องมาจากเกิดเหตุการ์สำคัญอย่าง การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ความเจริญทางตะวันตกขยายสู่โลกตะวันออก เช่น เครื่องกลไก เครื่องจักร อาวุธ เป็นต้น
        ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวยสามารถปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคมและมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น สังคมเมืองเติบโตขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เกิดการสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม