อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย (ชุดที่ 1)

HARD

อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย       

      อารยธรรมอินเดีย มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคสมัยอินโด-อารยันรุกราน สมัยพระเวท สมัยกาพย์ สมัยจักรวรรดิ และสมัยคุปตะ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

       กำเนิดขึ้นราว 3,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณเมืองฮารัปปา (Harappa) และเมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo - Daro) ซึ่งพบร่องรอยเมืองโบราณที่เป็นหลักฐานสำคัญหลงเหลืออยู่

ภาพที่ 1  ซากเมืองโบราณโมเฮนโจดาโร
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Mohenjo-daro#/media/File:Mohenjodaro_-_view_of_the_stupa_mound.JPG


ภาพที่ 2  ซากเมืองโบราณฮารัปปา
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Harappa#/media/File:View_of_Granary_and_Great_Hall_on_Mound_F.JPG 

       นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยเมืองโบราณหลายแห่งตามลุ่มแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขา ปัจจุบันคือดินแดนของประเทศปากีสถานและดินแดนบางส่วนทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าอารยธรรมดังกล่าว สร้างขึ้นโดยชาวดราวิเวียน (Dravidian) หรือมิลักขะ หรือทมิฬ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย
       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ยืนยันว่าคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุรู้จักการเขียนอักษรภาพ รู้จักการใช้โลหะ ใช้อิฐในการก่อสร้าง ทอผ้า และทำเครื่องประดับด้วยทองคำ เพชร พลอย มีระบบสาธารณสุข มีถนนและการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีระบบการชลประทาน อันแสดงถึงการเป็นอารยธรรมเมืองที่เจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีระบบการปกครองและนับถือเทพเจ้า เช่น พระแม่ธรณี
       อย่างไรก็ตาม ในราว 1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมฮารัปปาถึงจุดสิ้นสุดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเนื่องจากธรรมชาติหรือถูกรุกรานจากพวกอินโด - ยูโรเปียน


สมัยอินโด - อารยันรุกราน

       เป็นช่วงเวลาที่ชาวอินโด - อารยัน ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโด - ยูโรเปียนอพยพมาจากทางตะวันออกของทวีปยุโรป โดยเป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่ สามารถเอาชนะพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองได้ เพราะมีความสามารถในการรบบนหลังม้าและมีอาวุธที่เหนือกว่า หลังจากนั้นพวกอารยันได้ปกครองดราวิเดียนและได้รับเอาวัฒนธรรมบางอย่างของพวกดราวิเดียนไปเป็นของตน เช่น การนับถือโค พระศิวะและศิวลึงค์ เป็นต้น


สมัยพระเวท

       หลังจากอินโด-อารยันชนะพวกดราวิเดียนแล้ว ชาวอินโด - อารยันได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาในภาคเหนือของอินเดีย พวกอินโด - อารยันได้ตั้งข้อกำหนดห้ามไม่ให้คนทั้งสองกลุ่มแต่งงานกัน เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ ทำให้เกิดระบบวรรณะขึ้น
       ในสมัยนี้มี วรรณคดีเรื่องสำคัญคือ คัมภีร์พระเวท ชาวอินโด - อารยันนับถือเทพเจ้าในธรรมชาติหลายองค์ มีการฆ่าสัตว์บูชายัญ พราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทำให้พวกพราหมณ์มีอำนาจเพิ่มขึ้น


สมัยมหากาพย์

       เป็นช่วงเวลาที่พวกอินโด-อารยัน สถาปนาอาณาจักรต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำคงคาขึ้นมา มีสถานะเป็นรัฐอิสระ ปกครองโดยราชาที่มาจากการเลือกตั้งหรือสืบสายโลหิต
       ในยุคนี้เมืองมีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบ มีถนนตัดกันอย่างเป็นระเบียบ ติดต่อค้าขายกับอียิปต์ อาหรับและเมโสโปเตเมีย
        ในสมัยมหากาพย์ มีการแบ่งคนออกเป็น  4 วรรณะ ชัดเจนกว่าในสมัยพระเวท ดังนี้

  • พราหมณ์ หรือนักบวช มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรม ถวายคำปรึกษาแด่กษัตริย์ และสืบทอดพระเวท
  • กษัตริย์ หรือนักรบ มีหน้าที่ปกครองอาณาประชารษฎร์ และปกป้องบ้านเมือง 
  • แพศย์ หรือไวศยะ คือสามัญชนทั่วไป ประกอบอาชีพค้าขาย เกษตรกรรม และหัตถกรรม
  • ศูทร หรือพวกทาส หรือชนชั้นต่ำที่ทำหน้าที่รับใช้ชนชั้นที่สูงกว่า อาทิ เลี้ยงวัว ทำงานกรรมกร เป็นต้น

       นอกจากนี้ยังมีพวกนอกวรรณะที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะ เรียกว่า "จัณฑาล" (อันที่จริงจัณฑาลคือชื่อเรียกของบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่แต่งงานข้ามวรรณะในประเภทหนึ่งเท่านั้น ยังมีชื่อเรียกของบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่แต่งงานข้ามวรรณะอื่น ๆ อีกมากมาย)
       ในยุคมหากาพย์ มีการแต่งวรรณกรรมที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น มหาภารตะ เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก ตอนที่สำคัญของเรื่องเรียกว่า “ภควัทคีตา” แปลว่า “บทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า” แต่งโดยฤาษีที่ชื่อว่า "วาสยะ" และมหากาพย์อีกเรื่องหนึ่งคือ รามายณะ (รามเกียรติ์) แต่งโดยฤาษีที่ชื่อว่า "วาลมิกิ" ทั้งสองเรื่องกล่าวถึงการกระทำสงครามระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม
       ในยุคนี้พราหมณ์ยังรวบรวมหลักความเชื่อเรื่อง “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ไว้ในคัมภีร์
อุปนิษัท ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท อันเป็นที่มาของความคิดเอกนิยม (Monoism) ที่เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและการหลุดพ้น มีความเชื่อว่าพระวิษณุเป็นผู้รักษา และพระศิวะเป็นผู้ทำลาย จนกระทั่งต่อมาแนวคิดของพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมากขึ้นทำให้เกิดการปฏิวัติทางด้านความคิดของอินเดียในสมัยนั้น


สมัยจักรวรรดิ

       ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของแคว้นมาซิโดเนีย (Macidonia) นครรัฐกรีก ได้เข้ามายึดครองอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ต่อมาพระเจ้าจันทรคุปต์แห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ได้รวบรวมอินเดียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และสถาปนาให้ฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของชาวอินเดียอย่างมาก ราชวงศ์เมารยะปกครองอินเดียทั้งภาคเหนือและภาคกลาง มีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตร
มีการค้าขายกับอินเดียใต้ จีน เมโสโปเตเมียและนครรัฐกรีกในเอเชียไมเนอร์

       หลักการปกครองของราชวงศ์เมารยะได้มาจากคัมภีร์อรรถศาสตร์ ที่กษัตริย์จะมีอำนาจสูงสุดในทุกด้าน กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ขึ้นครองราชย์เมื่อ 273 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมาก ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง
       สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในสมัยนี้คือ สถูป เช่น สถูปที่เมืองสาญจี เมืองโภปาล ในอินเดียภาคกลาง เนื่องจากเป็นยุคที่ไม่มีการสร้างรูปพระพุทธเจ้า จึงมีการสร้างสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ปางประสูติเป็นรูปดอกบัว ปางตรัสรู้เป็นรูปต้นโพธิ์ และปางเทศนาเป็นรูปกงล้อแห่งธรรม ประติมากรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพสลักประดับหัวเสาของพระเจ้าอโศก มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ 4 ตัว หันหลังชนกัน ตั้งอยู่บนกงล้อธรรมจักร

       หลังจากพระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์เมื่อ 236 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิเมารยะเริ่มแตกแยกและเสื่อมอำนาจลงโดยถูกรุกรานจากพวกสะกะ (Saka) หรือสักกะ กษัตริย์ที่สำคัญของพวกสักกะคือ พระเจ้ามิลินทร์ ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทำให้เกิดการสร้างประติมากรรมพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีก เรียกว่า ศิลปะคันธาระ ต่อมามีพวกกุษาณะ (Kushan) ชนเผ่าเร่ร่อนในเอเชียกลาง ได้เข้ามาปกครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเป็นเวลาเกือบ 200 ปี กษัตริย์องค์สำคัญ คือ พระเจ้ากนิษกะ มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองตักศิลา (Taxila)


สมัยคุปตะ

       หลังราชวงศ์กุษาณะสิ้นสุดอำนาจลง พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 แห่งราชวงศ์คุปตะ สามารถรวบรวมอาณาจักรและดินแดนต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ อีกทั้งสมัยคุปตะถือว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดียในภาคเหนือ สมัยนี้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในราชสำนัก และใช้ทั่วไปในอินเดียเหนือ อารยธรรมอินเดียในช่วงนี้มีความเจริญในทุกๆ ด้าน ทั้งปรัชญา วรรณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การละคร การศึกษา และวิทยาศาสตร์ มรดกสำคัญคือ ภาพจิตรกรรมที่ถ้ำอชันตาและบทละครเรื่องศกุนตลา

       อารยธรรมอินเดียที่สำคัญ ได้แก่

  • ระบบการวัด การชั่ง ที่แหล่งโบราณคดีโลทาลซึ่งเป็นอารยธรรมในยุคสำริด ได้พบหลักฐานการกำหนดระบบการชั่งน้ำหนัก และการวัดให้มีมาตรฐานเดียวกันบนงาช้าง
  • ระบบการนับเวลา นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า พระเจ้ากนิษกะ เป็นผู้ตั้งมหาศักราช
  • ด้านความเชื่อศาสนา การเมือง การปกครองและสังคม อารยธรรมอินเดียมีระบบการแบ่งผู้คนเป็นวรรณะต่างๆ ประกอบด้วย วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพทย์และวรรณะศูทร รวมทั้งจัณฑาลที่เป็นพวกนอกวรรณะ มีการนับถือเทพเจ้าหลายพระองค์ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทางศาสนา ต่อมาเรียกความเชื่อนี้ว่า ศาสนาพราหมณ์ฮินดู เทพเจ้าสำคัญได้แก่ พระวิษณุและพระศิวะ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนาและศาสนาเชนที่ไม่เชื่อในเรื่องเทพเจ้า
  • ด้านภาษาและวรรณกรรม ชาวอารยันประดิษฐ์ตัวอักษรและภาษาสันสกฤต ใช้ในการบันทึกคัมภีร์พระเวท จากมุขปาฐะที่ชาวอารยันท่องกันสืบต่อมา ใช้บันทึกมหากาพย์มหาภารตะและรามายณะซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมและศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ของประเทศที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพระพุทธศาสนา