อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน (ชุดที่ 1)

HARD

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน

      อารยธรรมโรมันถือกำเนิดขึ้นบริเวณคาบสมุทรอิตาลี โดยชาวอินโด - ยูโรเปียนที่อพยพมาจากแม่น้ำดานูบทางใต้ของทวีปยุโรป เรียกว่า พวกอิตาลิก (Italic) ซึ่งประกอบด้วยคนหลายกลุ่ม เช่น ซาบีน (Sabines) แซมไนต์ (Samnites) ลาติน (Latin) ที่สำคัญ คือ ชาวลาติน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ราบละติอุม ซึ่งเป็นที่ราบกว้างใหญ่ทางใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตะวันออกจรดเทือกเขาแอเพนไนน์ (Apennine)
      ชาวลาตินนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ สร้างเมืองที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เมืองที่สำคัญที่สุด คือ กรุงโรม อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15 ไมล์ ทำให้สามารถค้าขายทางทะเลได้สะดวกและอาศัยแม่น้ำไทเบอร์ เป็นเส้นทางคมนาคมกับดินแดนที่อยู่ตอนกลางของคาบสมุทรได้ จากตำแหน่งที่ตั้งนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงโรมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสมมากกว่าเมืองอื่น ๆ ส่งผลให้กรุงโรมสามารถขยายอำนาจสร้างความเป็นผู้นำและยิ่งใหญ่เหนือกว่าบรรดาชาวลาตินกลุ่มอื่น ๆ ในเวลาต่อมาได้


ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

      พื้นที่บริเวณแหลมอิตาลีเหนือแม่น้ำไทเบอร์ มีชาวกรีกซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาจากเอเชียไมเนอร์ ได้มาสร้างความเจริญขึ้นในดินแดนแถบนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ ต่อมาชาวลาตินจึงรับอารยธรรมของกรีกและอีทรัสกัน มาผสมผสานกับอารยธรรมของตน โดยรับวิทยาการด้านการเพาะปลูกพืชประเภทมะกอกและองุ่น รวมทั้งตัวอักษร ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากชาวกรีก รวมทั้งรับความคิดความเชื่อทางศาสนาและเทพเจ้า การก่อสร้างวิหาร การสร้างซุ้มประตูโค้ง (Arch) การตกแต่งภาพปูนปั้นและสัญลักษณ์ต่างๆ มาจากพวกอีทรัสกัน ที่สำคัญคือ สัญลักษณ์ขวานเหน็บอยู่กับมัดหวายซึ่งต่อมาได้ถูกพวกฟาสซิสต์ (Fascist) นำมาใช้เป็นเครื่องหมายของแนวคิดนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงกล่าวได้ว่าอารยธรรมโรมันเกิดจากการรับอารยธรรมของกรีกและชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมาผสมผสานเป็นอารยธรรมของตน

      ในช่วง 700 - 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวลาตินตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอีทรัสกันนานราว 200 ปี เป็นการปกครองจะเป็นแบบรวมอำนาจที่ศูนย์กลางมีกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด ทั้งการปกครองและเป็นประมุขทางศาสนา พลเมืองแบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกขุนนางที่มีอำนาจทางการปกครอง เรียกว่า พวกพาทริเชียน (Patrician) และพวกประชาชนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพค้าขาย ช่างฝีมือ เจ้าของที่ดิน ชาวนารายย่อยและแรงงาน เรียกว่า พวกเพลเบียน (Plebeian)

      ราว 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกลาตินได้หลุดพ้นจากการปกครองของพวกอีทรัสกันและสถาปนาโรมเป็นรัฐอิสระ พร้อมกับจัดตั้งระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้น ต่อมาได้ขยายอิทธิพลครอบคลุมชาวลาตินเผ่าอื่น ๆ จนในราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช กรุงโรมก็ขยายอำนาจเหนือดินแดนต่าง ๆ บนคาบสมุทรอิตาลีได้สำเร็จ

     หลังจากนั้นได้เกิดความขัดแย้งระหว่างพวกพาทริเซียน และพวกเพลเบียน จนต่อมาสภาซีเนต (Senate) ก็ยินยอมให้พวกเพลเบียนมีสิทธิ์เลือกผู้นำของตนเอง เรียกว่า คณะทรีบูน (Tribunes) และสามารถจัดการลงประชามติในหมู่พวกตนได้ ในที่สุดคณะทรีบูนก็ได้รับสิทธิทางการเมืองในการหยุดยั้งการกระทำที่อยุติธรรมและถือเป็นการกดขี่พวกตน โดยใช้สิทธิ์ในการเปล่งวาจาว่า "วีโต้" (Veto) หมายความว่า "ข้าพเจ้าขอห้าม" อันเป็นศัพท์ที่ตกทอดมาสู่การเมืองในปัจจุบัน หมายถึง "การยับยั้ง" แม้กระนั้นความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นก็ยังคงดำเนินเรื่อยมา 

     ราว 450 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเพลเบียนสามารถกดดันพวกพาทริเซียนให้ออกกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วยมาตราต่าง ๆ จารึกลงบนแผ่นสำริดจำนวน 12 แผ่น (นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นแผ่นไม้) เรียกว่า "กฎหมาย 12 โต๊ะ" (Law of Twelve Tables) กฎหมายนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะทำให้ทั้งสองชนชั้นอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน มีการเผยแพร่แผ่นจารึกลงในฟอรัม เด็ก ๆ ชาวโรมันทุกคนจะต้องท่องจำกฎหมายเหล่านี้จนขึ้นใจ นอกจากนี้กฎหมายยังเปิดโอกาสให้พวกเพลเบียนดำรงตำแหน่งสำคัญได้เช่นเดียวกับพวกพาทริเซียน 

ภาพที่ 1  ภาพวาดจำลองการประกาศใช้กฎหมาย 12 โต๊ะ
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Twelve_Tables#/media/File:Twelve_Tables_Engraving.jpg

      ราว 146 ปีก่อนคริสต์ศักราช สาธารณรัฐโรมันได้ทำสงครามขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง เช่น ได้รับชัยชนะในสงครามฟินิเชียหรือสงครามพิวนิก (Punic War) กับอาณาจักรคาร์เทจของพวกฟินิเชีย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าแถบเมติเตอร์เรเนียน และได้ครอบครองดินแดนต่าง ๆ ทั้งในทวีปแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย อีกทั้งสามารถผูกขาดทางการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนมีความมั่งคั่ง รวมถึงรับอารยธรรมของกรีกมาผสมผสานเป็นความเจริญของตน
      ความยิ่งใหญ่ของสาธารณรัฐโรมัน ทำให้พวกแม่ทัพที่รับผิดชอบในการปราบปรามดินแดนต่าง ๆ มีอำนาจมากขึ้น จนสามารถดำรงตำแหน่งกงสุลและเป็นเผด็จการที่มีอำนาจอย่างแท้จริง ดังเช่น ซุลลา (Sulla) ปอมเปย์ (Pompey) และจูลีอุส ซีซาร์ (Julius Caesar) ดังนั้น หากนำสาธารณรัฐโรมันมาเทียบกับประเทศในปัจจุบันแล้ว จะมีอาณาเขตกว้างไกลตั้งแต่ประเทศสเปน อังกฤษ จนถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตก

      เมื่อ 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังจากที่จูลีอุส ซีซาร์สิ้นชีวิตแล้ว ออกตาเวียน (Octavian) ผู้เป็นทายาทได้ปรับปรุงการปกครองของโรมันใหม่ โดยยกเลิกระบอบสาธารณรัฐ สถาปนาจักรวรรดิโรมัน และดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งโรมันพระองค์แรกมีพระนามว่า ออกุสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) อำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่จักรพรรดิ อีกทั้งดำรงตำแหน่งประมุขทางศาสนาด้วยอีกทางหนึ่ง โดยมีสภาเซเนตและสภาประชาชนในการบริหารราชการ


ภาพที่ 2  รูปสลักหินของไกอุส ออคตาวิอุส ผู้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิพระองค์แรก แห่งจักรวรรดิโรมัน

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Augustus#/media/File:Statue-Augustus.jpg

      ในปี ค.ศ.312 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงหันมาเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่โรมปฏิเสธมาตลอดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรงขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ จนสามารถครอบครองดินแดนบางส่วนในเอเชียตะวันตก ทรงสร้างเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ให้เป็นเมืองหลวงอีกแห่งหนี่งของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine)

      ค.ศ.476 จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ถูกพวกอานารยชนเผ่ากอท (Goth) ซึ่งเป็นชนเผ่าเยอรมันเผ่าหนึ่งเข้าปล้นสะดม จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้าย คือ ถูกขับออกจากบัลลังก์ ถือเป็นการจบยุคจักรวรรดิโรมันตะวันตกและประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่จักรวรรดิโรมันตะวันออกยังคงมีจักรพรรดิปกครองอยู่ จนในท้ายที่สุดแล้วก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิออตโตมัน

      อารยธรรมโรมันที่สำคัญ ได้แก่

      ชาวโรมันได้ใช้เวลานานกว่า 600 ปี ในการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของตน ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมัน ความโดดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากการวางรากฐานที่เข้มแข็ง ซึ่งได้รับมาจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมดินแดนโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของตนเอง จากความพยายามคิดค้นและสร้างระบบต่าง ๆ เพื่อดํารงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ ทําให้จักรวรรดิโรมันเจริญก้าวหน้า ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

      1.  ด้านการปกครอง ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันที่ได้พัฒนาระบอบการปกครองของตนขึ้นเป็นระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิตามลำดับ  สำหรับจุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือ การให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนกลาง และการปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย พลเมืองโรมันแต่ละกลุ่ม ทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร ต่างมีโอกาสเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ สภาซีเนต (Senate) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มพาทริเซียน (Patricians) หรือชนชั้นสูง สภากองร้อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มทหาร เหล่าต่าง ๆ แลสภาราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกพลีเบียน (Ple-beians) หรือสามัญชนเผ่าต่าง ๆ รวม 35 เผ่า แต่ละสภา มีหน้าที่และอํานาจแตกต่างกัน รวมทั้งการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ไปบริหารงานส่วนต่าง ๆ
แต่โดยรวมแล้วสภาซีเนตมีอํานาจสูงสุด เพราะได้ควบคุมการปกครองทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนกําหนดนโยบายต่างประเทศด้วย
      กฎหมายโรมัน มีมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรกกฎหมายไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ทำให้พวกสามัญชนเรียกร้องให้เขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์
      ต่อมาหลังจากที่พวกเพลเบียน ซึ่งเป็นกลุ่มคนสามัญ ได้เรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม จากพวกพาทริเซียนมาเป็นเวลานาน จึงได้มีการแกะสลักกฎหมายบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่น เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Twelve Tables) ความโดดเด่นของกฎหมายโรมัน คือ ความทันสมัย เพราะมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบจักรวรรดิ และสภาพแวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้ ชาวโรมันยังมีส่วนทําให้เกิดการยอมรับหลักการพื้นฐานของกฎหมายว่า ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่างปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงจนปัจจุบันคือ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิดจริง กฏหมายโรมันยังเป็นหลักกฏหมายของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส

      2.  ด้านสาธารณสุขและการแพทย์
      โรมได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐานทางด้านสาธารณสุขสูงที่สุดในยุโรป ในขณะนั้น เพราะมีระบบการระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลที่ก้าวหน้า ภายในเมืองมีน้ำสะอาดสำหรับประชาชน โดยมีท่อลำเลียงจากลำธารมาสู่ตัวเมืองหลายแห่ง แสดงถึงความก้าวหน้าทั้งทางด้านการก่อสร้างและการอนามัย นอกจากนี้ยังมีสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ตามเมืองต่าง ๆ ด้วย

      3.  ด้านวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม
      ช่างชาวโรมันโบราณได้รับการยกย่องว่าเป็น นักก่อสร้างที่มีความสามารถ การก่อสร้างของโรมส่วนใหญ่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ถนน ชาวโรมันวางแผนสร้างถนนให้สอดคล้องกับความจำเป็นทั้งทางด้านการบริหารและยุทธศาสตร์จนมีคำกล่าวว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่โรม” (All Roads lead to Rome) ชาวโรมันสร้างถนนด้วยวิธีการเรียงหินเป็นชั้น ๆ ให้มีความคงทนถาวร ซึ่งในปัจจุบัน ถนนที่ชาวโรมันสร้าง ก็ยังคงแข็งแรงทนทาน บางส่วนยังสามารถใช้งานได้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวโรมันยังประสบความสำเร็จในการสร้างสะพานโค้งซ้อนกันเพื่อเป็นฐานสำหรับท่อส่งน้ำอีกด้วย

ภาพที่ 3  สภาพส่วนหนึ่งของทางหลวงสายแอปเปียนในปัจจุบัน
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Appian_Way#/media/File:Minturno_Via-Appia.jpg

      สถาปนิกชาวโรมันรักษาโครงสร้างสถาปัตยกรรมกรีก แต่ขณะเดียวกันก็มีการคิคค้นทำหลังคารูปอุโมค์ (Barrel Vault) และโครงหลังคาสันไขว้ (Cross Vault) สร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะเพื่อความสุขและแสดงความยิ่งใหญ่ของตน โดยปรับปรุงสิ่งก่อสร้างในยุคก่อน ๆ ให้เป็นรูปแบบใหม่ เช่น ประตูชัย สนามประลองยุทธ์ สนามแข่งรถศึกเทียมม้า โรงอาบน้ำสาธารณะ โคลอสเซียม สิ่งก่อสร้างของชาวโรมันมีลักษณะพิเศษ 3 อย่างคือ ความแข็งแรง ความหรูหรา โอ่อ่า และความมีประโยชน์ต่อรัฐและประชาชน

ภาพที่ 4  สนามกีฬาโคลอสเซียม สถาปัตยกรรมโรมันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง
ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Colosseum#/media/File:Colosseo_2008.jpg

ภาพที่ 5 สนามกีฬาโคลอสเซียม

  4.  ด้านศาสนา
      แต่เดิมนั้นชาวโรมันมีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ โชคลางและภูติผีปีศาจ ต่อมาหันมานับถือเทพเจ้ากรีก โดยเปลี่ยนชื่อในภาษากรีกมาเป็นภาษาละติน เช่น เทพเจ้าซุส (Zeus) ในภาษากรีก มาเป็นเทพเจ้าจูปิเตอร์ (Jupiter) ในภาษาละตินแทน
      แม้ว่าภายหลังศาสนาคริสต์จะกำเนิดขึ้นและเริ่มขยายเข้าสู่จักรวรรดิ แต่ผู้ปกครองของโรมในตอนนั้นยังคงปฏิเสธศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังมองว่าชาวคริสต์เป็นพวกนอกรีตอีกด้วย มีการลงโทษและทารุณกรรมชาวคริสต์เป็นจำนวนมาก จนในที่สุด เมื่อจักรรคอนสแตนตินได้ทรงเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนา ชาวโรมันจึงได้เริ่มหันมานับถือศาสนาคริสต์ตาม จนได้กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิโรมันในที่สุด