อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์ (ชุดที่ 1)

HARD

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์

      อารยธรรมอียิปต์ เกิดขึ้นในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา แต่เดิมเคยมีมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ โดยมีความเจริญอยู่ในระดับหนึ่ง เช่น มีการเพาะปลูกโดยใช้ใบมีดและเคียว มีการบดเมล็ดพืช มีความสามารถในการใช้เรือล่องไปตามแม่น้ำไนล์ ดังได้พบหลักฐานการสร้างเรือที่เก่าที่สุดมีอายุราว 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

      เฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณได้กล่าวถึงอียิปต์ว่า อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (Egypt is the gift of the Nile) เพราะทุกปี น้ำในแม่น้ำไนล์จะท่วมบริเวณ 2 ฝั่ง น้ำได้พัดพาดินตะกอนมาทับถมทำให้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์โบราณสามารถสร้างระบบชลประทานป้องกันน้ำท่วมได้สำเร็จ ทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น ประกอบกับบริเวณนี้มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่น มีทะเลทรายและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากภายนอก และมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ อารยธรรมอียิปต์โบราณจึงได้พัฒนาเป็นจักรวรรดิแห่งแรกของโลกและมีพัฒนาการต่อมาเป็นระยะเวลายาวนาน


ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

      ประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์โบราณที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนและขยายเป็นหมู่บ้าน เติบโตเป็นเขตการปกครองที่เรียกว่า โนมิส (Nomes) ประมาณ 40 แห่ง แต่ละแห่งมีผู้นำคอยปกป้องดูแลโนมิสของตน ต่อมาได้รวมกันเป็นอาณาจักร แบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรที่อยู่ทางตอนเหนือ ตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แยกเป็นสาขาต่าง ๆ เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ เรียกว่า อียิปต์ต่ำ หรืออียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อีกอาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า อียิปต์สูง หรืออียิปต์บน (Upper Egypt) อยู่บริเวณหุบเขาบนที่สูงแม่น้ำไนล์ไหลผ่าน

      ราว 3,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ของอียิปต์สูงชื่อ เมเนส (Menes) หรือนาร์เมอร์ (Narmer) ได้รวบรวมอียิปต์ทั้งสองส่วนเข้าไว้ด้วยกันและสถาปนาตนขึ้นเป็น ฟาโรห์ (Pharaoh) หรือกษัตริย์แห่งอียิปต์ มีฐานะเป็นเสมือนเทพเจ้า (God-king) ตั้งเมืองหลวงที่เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ระหว่างดินแดนของอียิปต์ล่างกับอียิปต์บน

      อียิปต์มีความเจริญในด้านวัฒนธรรมหลายประการทำให้จักรวรรดิอียิปต์มีอำนาจแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง จักรวรรดิอียิปต์มีการปกครองภายใต้ฟาโรห์ในระบอบเทวาธิปไตยโดยมีขุนนางเรียกว่า วิเซียร์ (Vizier) เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครอง โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าเมือง แม่ทัพและผู้พิพากษา ส่วนนักบวชมีอิทธิพลสูงสุด ประชากรส่วนใหญ่ของจักรวรรดิอียิปต์คือชาวนาที่ไม่มีสิทธิ์ในการปกครองและมีหน้าที่รับใช้ฟาโรห์ ซึ่งมีฐานะเสมือนเทพเจ้า มีการประดิษฐ์ตัวอักษรภาพจารึกในแผ่นศิลาหรือฝาผนังหินเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์

      นักประวัติศาสตร์แบ่งช่วงเวลาของอารยธรรมอียิปต์ออกเป็น 3 สมัย มีราชวงศ์ปกครองสืบต่อกันมาถึง 30 ราชวงศ์ เริ่มตั้งแต่ 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึง 332 ปีก่อนคริสต์ศักราช จึงได้ล่มสลายลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย เข้ารุกรานและได้ครอบครองจักรวรรดิอียิปต์

ภาพที่ 1 ชุมชนชาวอียิปต์


สมัยอาณาจักรเก่า (Old Kingdom of Egypt)

      มีฟาโรห์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและเชื่อว่าฟาโรห์เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพแห่งดวงอาทิตย์ มีการปกครองในระบอบเทวาธิปไตย เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเมมฟิส และให้ความสำคัญกับการกสิกรรม การสร้างเขื่อน การขุดคลอง และการสร้างยุ้งฉาง โดยเฉพาะการสร้างพีระมิดขนาดใหญ่เพื่อเก็บพระศพฟาโรห์และพระราชวงศ์ พีระมิดที่ใหญ่ที่สุดคือ พีระมิดของฟาโรห์คูฟู ที่เมืองกีซาใกล้กรุงไคโร และชาวอียิปต์มีวิธีเก็บรักษาพระศพของฟาโรห์ไม่ให้เน่าเปื่อยโดยการทำมัมมี่ ก่อนนำพระศพไปบรรจุไว้ในห้องเก็บพระศพภายในพีระมิด ปลายสมัยอาณาจักรเก่าดินแดนต่าง ๆ ได้แยกตัวเป็นอิสระ และถือเป็นการสิ้นสุดสมัยอาณาจักรเก่า



ภาพที่ 2  มหาพีระมิดแห่งเมืองกิซา หรือมหาพีระมิดของฟาโรห์คูฟู
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Pyramid_of_Giza#/media/File:Kheops-Pyramid.jpg


สมัยอาณาจักรกลาง (Middle Kingdom of Egypt)

      เมื่ออาณาจักรเก่าล่มสลายลง เกิดความระส่ำระส่ายและการจลาจล ขุนนางแย่งชิงกันเป็นใหญ่ จนกระทั่งกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 12 สามารถรวบรวมอียิปต์ได้อีกครั้งหนึ่ง ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองทีบส์ (Thebes) บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือทางเหนือของอิยิปต์ และมีการสร้างป้อมปราการตามแนวแม่น้ำไนล์ เข้ายึดครองนูเบียได้สำเร็จ (Nubis ส่วนหนึ่งของซูดานในปัจจุบัน)
      ในสมัยนี้ถือเป็นยุคทองของอียิปต์ ฟาโรห์ทำนุบำรุงการเกษตร เพิ่มระบบชลประทาน ขยายพื้นที่การเพาะปลูกและขยายเส้นทางการค้าไปจนถึงเมโสโปเตเมียและเกาะครีตในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ในตอนปลายสมัยอาณาจักรกลาง ขุนนางท้องถิ่นแข่งกันตั้งตัวเป็นใหญ่และถูกรุกรานจากพวกฮิกโซส (Hyksos) จึงเปิดโอกาสให้พวกฮิกโซสเข้ายึดครองอียิปต์เป็นเวลาประมาณ 110 ปี


สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (New Kingdom of Egypt)

      เจ้าชายอาโมส (Ahmose) ขับไล่พวกฮิกโซสออกไปจากอียิปต์สำเร็จ และขึ้นปกครองอียิปต์ในเวลาต่อมา ฟาโรห์อาโมสทำการบูรณะศาสนสถานและฟื้นฟูการค้าขายขึ้นใหม่อีกครั้ง ฟาโรห์องค์ต่อมาได้สร้างกองทัพให้เข้มแข็งและขยายอาณาเขตไปสู่ทวีปแอฟริกา โดยในสมัยฟาโรห์ทัตโมสที่ 3 และพระนางฮัตเชปซุต (Hatshepsut) พระราชมารดา ขยายดินแดนออกไปกว้างใหญ่กว่าเดิมทรงได้รับชัยชนะเหนือซีเรีย และขยายอาณาเขตไปจนถึงตอนเหนือของแม่น้ำยูเฟรทีส ถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของยุคจักรวรรดิ ส่งผลให้นครทีบส์เต็มไปด้วยวิหารขนาดใหญ่ เพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น วิหารคาร์นัก (Karnak) เพื่อบูชาเทพอะมอน วิหารที่อาบูซิมเบล (Abu Simbel) เสาหินขนาดใหญ่ที่เรียกว่า โอเบอลิกส์ (Obelisk) อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิอียิปต์


ภาพที่ 3  ตัวอย่างเสาโอเบลิกส์
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Obelisk#/media/File:Louxor_obelisk_Paris_dsc00780.jpg

        ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์ได้เสื่อมอำนาจลง ถูกปกครองโดยชาวต่างชาติ เช่น พวกอัสซีเรีย พวกเปอร์เซีย กรีกและโรมัน ตามลำดับ และในที่สุดอียิปต์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน


อารยธรรมอียิปต์ที่สำคัญ ได้แก่

1.  ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา
      ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อและนับถือเทพเจ้าอย่างมาก ศาสนาของชาวอียิปต์เป็นแบบพหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือเทพและเทวีหลายองค์ บูชาสัตว์หลายชนิด แต่ละโนมิสจะมีเทพเจ้าประจำของตน โดยในระยะแรกจะมีรูปร่างเป็นสัตว์ เช่น เทพเจ้าอนูบิส (Anubis) เป็นสุนัข เทพเจ้าอะนิส (Anis) เป็นเหยี่ยว ต่อมาเทพเจ้ามีรูปร่างเป็นมนุษย์มากขึ้นแต่มีเครื่องประดับส่วนบนเป็นรูปสัตว์

      เมื่อมีการรวมโนมิสเข้าเป็นเมือง เทพเจ้าก็มารวมกัน มีเทพเจ้าประจำเมือง เช่น เอมอน (Amon) เป็นเทพเจ้าประจำนครทีบส์ และเมื่อนครใดเป็นราชธานีของอียิปต์ เทพเจ้าของนครนั้น ก็จะได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าสูงสุด สำหรับเทพเจ้าที่มีผู้นับถือทั่วไปอย่างกว้างขวาง เช่น โอซิริส (Osiris) เทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์ เร หรือรา (Re) เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์สัญลักษณ์ของเทพเจ้าเร คือ หินที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิด เรียกว่า “เบนเบน” (Benben) ซึ่งจะประดิษฐานบนเสาสูงที่เรียกว่า โอเบอลิส์ก (Obelisk)
      ชาวอียิปต์โบราณที่มีความเชื่อเรื่องวิญญาณอมตะหรือการฟื้นคืนชีพ จึงคิดวิธีเก็บรักษาศพคนตายด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างสุสานขนาดใหญ่ไว้เป็นที่เก็บรักษา รวมทั้งนำข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตายไว้ภายในด้วย สุสานของฟาโรห์ คือ พีระมิด
      นอกจากนี้ ยังมีการบันทึกการกระทำความดีของผู้ตายไว้ใม้วนกระดาษปาปิรุส หรือที่ต่าง ๆ ในสุสาน ถ้าเป็นหนังสือเรียกว่า “บันทึกผู้วายชนม์” (Book of the Dead) ถ้าอยู่ที่กำแพงหรือฝาผนังของพีระมิด เรียกว่า พีระมิดเท็กชต์ (Pyramid Texts)

2.  ตัวอักษร
      ชาวอียิปต์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษรภาพได้เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่า ตัวอักษรเฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphic) อักษรภาพเหล่านี้ได้วิวัฒนาการจนเป็นตัวพยัญชนะ เรียกว่า ตัวอักษรเฮียราติก (Hieratic)
      ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้กลายเป็นตัวอักษรที่เรียกว่า เดโมติก (Demotic) ในราว 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงสมัยคริสตกาล มีการใช้ตัวอักษรเฮียโรกลิฟฟิก ผสมกับตัวอักษรกรีก เรียกว่า อักษรคอปติก ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวใช้ในภาษาอียิปต์เรื่อยมา การอ่านและเข้าใจความหมายของตัวอักษรโบราณของอียิปต์ เริ่มต้นเมื่อนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฌ็อง ฟร็องชัว ช็องปอเลียง (Jean-Freancois Champoliion) ได้พยายามอ่านและศึกษาจากแผ่นศิลาโรเชตตา (Rosetta) ซึ่งเป็นผลทำให้โลกได้เรียนรู้วิทยาการของอียิปต์โบราณที่ชาวอียิปต์ได้บันทึกไว้ในม้วนกระดาษปาปิรุส (Papyrus rolls)

ภาพที่ 4  ศิลาจารึกโรเซตตา
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Rosetta_Stone#/media/File:Rosetta_Stone.JPG  

       นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณ ยังรู้จักทำกระดาษจากต้นอ้อที่ขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์ เรียกว่า กระดาษปาปิรุส ส่วนหมึกทำมาจากส่วนผสมของยางไม้ พืชและสีย้อมผ้า

3.  วิทยาการทางด้านคณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมและประติมากรรม
      ชาวอียิปต์โบราณมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต โดยได้ใช้ความรู้ดังกล่าวในการสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ ซึ่งจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณที่คงอยู่จนถึงปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าการสร้างพีระมิด เริ่มจากการสร้างมัสดาบัส (Mastabas) หรือที่ฝังศพเหนือพื้นทรายต่อมาจึงดัดแปลงให้มีความสูงเพิ่มขึ้น
โดยเรียงหินซ้อนสูงขึ้นไป
      พีระมิดในสมัยต่อมา เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีทางเดิน ระเบียง บันได วิหาร เสมือนเป็นที่ประทับของฟาโรห์ชั่วนิรันดร์ พีระมิดของอียิปต์ยังถือเป็นสิ่งก่อสร้างด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการก่อสร้างมา คือ พีระมิดบางแห่งมีขนาดใหญ่มาก สูงถึง 147 เมตร และใช้หินในการก่อสร้างมากกว่า 2 ล้านก้อน
      ในปัจจุบันพบพีระมิดมากกว่า 30 แห่งในอียิปต์ พีระมิดที่มีชื่อเสียงอยู่ที่เมืองกีซา หรือเรียกกันทั่วไปว่า “มหาพีระมิดแห่งกีซา” เป็นสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์และมเหสี ในระยะต่อมา พระศพของฟาโรห์ถูกฝังในสุสานที่เจาะลึกเข้าไปในหินที่อยู่ในหุบเขาเร้นลับ
เรียกว่า หุบเขาแห่งกษัตริย์
      นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างวัดที่มีชื่อเสียงคือ วิหารที่คาร์นัก (The Great Temple of Karnak) เมืองลักซอร์ (Luxor) และอาบู ซิมเบล (Abu Simbel) ซึ่งแต่ละแห่งจะมีวิหารของเทพเจ้าที่มีเสาขนาดใหญ่จำนวนมาก
รวมทั้งแท่งหินโอเบลิสก์
      ทางด้านการแกะสลัก ชาวอียิปต์มีความสามารถในการแกะสลักประติมากรรมขนาดใหญ่ เช่น สฟิงกซ์ (Sphinx) ข้างพระศพของฟาโรห์ ลักษณะตัวเป็นรูปสิงโตที่มีใบหน้าเป็นหญิงสาวกำลังหมอบอยู่ นอกจากนี้มีการแกะสลักรูปพระเศียรพระนางเนเฟอร์ติติ และการแกะสลักภาพนูนต่ำ บนแผ่นหินตามที่ฝังศพและตามกำแพงวิหารต่าง ๆ


ภาพที่ 5  รูปปั้นสฟิงซ์แห่งเมืองกิซา ตั้งอยู่หน้ามหาพีระมิด
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Sphinx_of_Giza#/media/File:Great_Sphinx_of_Giza_May_2015.JPG

4.  วิทยาการด้านต่าง ๆ

  1.  ด้านการแพทย์ ชาวอียิปต์โบราณมีความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์มาก โดยเฉพาะทางด้านสรีรวิทยา และการเก็บรักษาศพมิให้เน่าเปื่อย โดยในม้วนกระดาษปาปิรุสมีการบันทึกเกี่ยวกับการแพทย์ไว้มากมาย เช่น ทางด้านศัลยกรรม การรักษาบาดแผล ด้านจักษุแพทย์ ความรู้ด้านการแพทย์ดังกล่าวชาวกรีกได้รับสืบทอดต่อมา
  2.  ด้านปฏิทิน อียิปต์โบราณรู้จักประดิษฐ์ปฏิทินขึ้นใช้ โดยเริ่มต้นจากปฏิทินตามระบบจันทรคติ ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นปฏิทินแบบสุริยคติ ปีหนึ่งมี 365 วัน
  3.  ด้านชลประทาน ชาวอียิปต์ได้คิดค้นวิธีกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งและป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ทำให้เกิดระบบชลประทานขึ้น ด้วยการขุดคูส่งน้ำให้มีระดับต่ำเพื่อให้น้ำไหลลงสู่แผ่นดินที่อยู่ลึกเข้าไป ต่อมาได้มีการสร้างเขื่อน ขุดคูหรือคลองส่งน้ำอย่างกว้างขวาง