เมโสโปเตเมีย มีความหมายว่า “แผ่นดินอันตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย” โดยมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทิส ทำให้พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากจึงเรียกดินแดนนี้ว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดสมบูรณ์
ภาพที่ 1 แผนที่ดินแดนเมโสโปเตเมีย
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Mesopotamia#/media/File:N-Mesopotamia_and_Syria_english.svg
อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีอายุตรงกับในยุคเหล็ก หรือมีอายุราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีหลายชนชาติผลัดเปลี่ยนกันครอบครองและสร้างสมอารยธรรม ได้แก่
ชาวสุเมเรียน (Sumerians)
เป็นพวกชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนชนชาติหนึ่ง ที่อพยพจากทะเลดำและทะเลแคสเปียนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นชนชาติแรก โดยเข้าไปตั้งอาณาจักรซูเมอร์ ที่สำคัญคือ ชาวสุเมเรียนสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกที่เรียกว่า “อักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์ม” ได้เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จึงมีคำกล่าวว่า “ประวัติศาสตร์เริ่มต้นที่อาณาจักรซูเมอร์” มีเมืองสำคัญคือเมืองอูร์ (Ur)
ภาพที่ 2 ตัวอย่างอักษรลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์มที่สลักลงบนแผ่นดินเหนียวตากแห้ง
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Cuneiform#/media/File:Cuneiform_tablet-_administrative_account_of_barley_distribution_with_cylinder_seal_impression_of_a_male_figure,_hunting_dogs,_and_boars_MET_DT847.jpg
ชาวอักคัด (Akkadians)
เป็นพวกเผ่าเซมิติกจากอารเบีย ประมาณ 2,350 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าซาร์กอนที่ 1 และชาวอักคัดได้เข้ามายึดครองนครรัฐของสุเมเรียน
ชาวบาบิโลเนีย (Babylonians)
แต่เดิมนั้นคือชาวแอมอไรต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าเซมิติกที่ได้อพยพจากทะเลทรายอารเบียเข้ามายึดครองดินแดนสุเมเรียน รวมนครรัฐต่างๆ และสถาปนาอาณาจักรบาบิโลเนีย ในช่วงประมาณ 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีนครบาบิโลนเป็นเมืองหลวง และมีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของนครบาบิโลนคือ พระเจ้าฮัมมูราบี
1. สถาปัตยกรรมและประติมากรรม
ชาวสุเมเรียนคิดค้นการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่อย่างที่นครอูร์ พบพระราชวังและป้อมปราการ อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะพิเศษคือ ศาสนสถานมีรูปร่างคล้ายพีระมิดขั้นบันได ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ทำจากดินเหนียวตากแห้ง ใช้เป็นศาสนสถานสำหรับบูชาเทพเจ้าเรียกว่า ซิกกูแรต ส่วนแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ นครคอร์ซาแบด พบสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระราชวังซาร์กอน (Sargon Palace) มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ 1 ชั้น ตั้งอยู่บนฐานสูง ลักษณะเด่นคือ การทำประตูโค้ง (Arch) และการประดับด้วยประติมากรรมทั้งแบบนูนต่ำและแบบลอยตัว ประติมากรรมที่สำคัญ เช่น ประติมากรรมรูปสิงโตมีปีกเหมือนนกและมีหัวเป็นมนุษย์ที่รักษาประตูวังและประติมากรรมเป็นภาพสิงโตตัวเมียที่ถูกล่า กำลังร้องครวญครางที่มีชื่อว่า “สิงโตตัวเมียใกล้ตาย”
ภาพที่ 4 ภาพจำลองพระราชวังซาร์กอน
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Reconstructed_Model_of_Palace_of_Sargon_at_Khosrabad_1905.jpg
ภาพที่ 5 ซากซิกกูแรตแห่งเมืองอูร์
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Ziggurat#/media/File:Ancient_ziggurat_at_Ali_Air_Base_Iraq_2005.jpg
2. การประดิษฐ์อักษร
ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เริ่มต้นเป็นตัวอักษรภาพ ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นเครื่องหมายต่าง ๆ โดยใช้ “ก้านของต้นอ้อ” เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวขณะที่ยังอ่อนตัวแล้วนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง ลักษณะตัวอักษรคล้ายกับลิ่มจึงเรียกว่า “อักษรลิ่ม” หรือ “คูนิฟอร์ม” (Cuneiform)
3. วรรณกรรม
ชาวสุเมเรียนมีวรรณกรรมที่ท่องจำสืบต่อกันมาเป็นกาพย์ กลอน ส่วนเรื่องสั้นมีบันทึกไว้บนแผ่นดินเผา โดยงานเขียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงและถือว่าเป็นวรรณกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกคือ มหากาพย์กิลล์กาเมช (Gilgamesh) กล่าวถึงการผจญภัยของวีรบุรุษแห่งนครอูรุก ซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าในสมัยนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อพระคัมภีร์ของพวกฮีบรูด้วย
4. ประมวลกฎหมาย
นับได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายเก่าแก่ที่สุดในโลก เรียกว่า ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) จารึกด้วยตัวอักษรลิ่มอยู่บนแผ่นไดโอไรต์สีดำ สูงประมาณ 8 ฟุต ข้อความในแผ่นหินได้สะท้อนสภาพสังคมของชาวสุเมเรียนเอาไว้ กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากเป็นการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน (Eye for an eye, tooth for and tooth) ซึ่งหมายถึง การชดใช้ความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียว
ภาพที่ 6 ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
ที่มา: https://thehutchreport.com/is-hammurabis-code-the-key-to-fixing-the-banks/
ภาพที่ 7 ภาพสลักหินพระเจ้าฮัมมูราบีกำลังสวดอ้อนวอนต่อเทพเจ้าชามาส (Shamash)
ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Hammurabi#/media/File:F0182_Louvre_Code_Hammourabi_Bas-relief_Sb8_rwk.jpg
5. ปฏิทินและระบบการคำนวณ
ชาวสุเมเรียนศึกษาการโคจรของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆ ปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นแบบจันทรคติ คือ ใน 1 เดือนมี 29 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของชาวสุเมเรียนจึงมี 354 วัน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง 1 วันมี 12 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการคำนวณพื้นที่ของวงกลม พื้นที่สามเหลี่ยมและมาตราชั่งตวงวัด
6. เทคโนโลยี
ชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรก ๆ ที่รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ โดยนำทองแดงหลอมรวมกับดีบุก แล้วมาประดิษฐ์เป็นคันไถสำริด ใช้ในการทำไร่ไถนา ทำให้สามารถผลิตอาหารได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังประดิษฐ์แป้นหมุนสำหรับทำภาชนะดินเผา
ชาวฮิตไทต์สามารถประดิษฐ์อาวุธทำด้วยเหล็กที่แข็งแกร่งกว่าสำริด ทำให้มีชัยชนะครอบครองอาณาจักรบาบิโลเนียและยังมีการประดิษฐ์วงล้อเพื่อใช้กับเกวียนและรถม้าศึก ส่วนชาวอัสซีเรียมีความสามารถด้านการก่อสร้างและศิลปกรรมที่ยังปรากฏจนถึงปัจจุบัน