บรรพบุรุษของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2 ล้านปีมาแล้ว ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายตามธรรมชาติด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า มีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง โดยอพยพตามฝูงสัตว์ และแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์ อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผา ต่อมาจึงได้มีการสร้างเพิงพักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
จนเมื่อโลกมีสภาพอากาศที่เหมาะสม ภูมิอากาศเริ่มมีความชุ่มชื้นและอบอุ่นมากขึ้น มนุษย์จึง เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกจากธรรมชาติ เก็บเมล็ดพืชที่หล่นลงบนพื้นดินมาปลูกพืช พืชชนิดแรกที่ปลูกคือ ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ป่า ขณะเดียวกันก็จับสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ใช้ขนสัตว์และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักการใช้แรงงานสัตว์ในการเพาะปลูก และเป็นพาหนะตามลำดับ หลังจากที่มนุษย์ได้รู้จักการทำการเกษตร และเริ่มทำเกษตรกรรมอย่างจริงจัง รูปแบบการดำรงชีวิตก็เปลี่ยนจากการเร่ร่อนตามฝูงสัตว์ เป็นการลงหลักปักฐานบนแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ รูปแบบที่อยู่อาศัยเปลี่ยนจากเพิงพักชั่วคราวมาเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรง มีการรวมตัวกันเป็นชุมชน มีการสร้างขอบเขตของหมู่บ้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมแบบหมู่บ้านเกษตรกรรมและได้พัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมือง มีระบบการปกครอง และการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่จะพัฒนาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา
ชุมชนในลักษณะหมู่บ้านแห่งแรก ๆ ของโลกเริ่มในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ในตะวันออกกลาง ปัจจุบันคือ บริเวณประเทศอิรัก, ตุรกี, และปาเลสไตน์ เมื่อราว 1 หมื่นปีก่อนคริสต์ศักราช สังคมแบบหมู่บ้านได้เริ่มพัฒนาเป็นสังคมเมืองที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น
ภาพที่ 1 ภาพวาดจำลองเมืองโบราณเจอริโค
ที่มา: https://larshaukeland.com/bits-pieces/archeology/joshua/jericho-and-the-date-of-the-conquest-joshua-7/
ภาพที่ 3 ซากเมืองโบราณเมร์การ์
ที่มา: https://www.pinterest.at/pin/322429654545108457/?autologin=true
นอกจากนี้ ในบริเวณตอนเหนือของจีนยังพบหลักฐานหมู่บ้านเกษตรกรรม มีการปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสุกร และสุนัข ทอผ้า ลักษณะบ้านมีหลังคา ผนังและเตาไฟ เช่น แหล่งโบราณคดีที่บ้านโพ เมืองซีอาน (Xian) และบริเวณอ่าวหางโจว (Hangzhou Bay) มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang) มีการทำภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งสวยงาม รมดำและเขียนสีให้เป็นลวดลายต่างๆ มีการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และข้าวเจ้า เลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ แกะ อีกทั้งยังมีปรากฎการสร้างบ้านด้วยดินเผา
การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เป็นผลทำให้จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีการค้าขายระหว่างกันซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมและความเจริญทางเทคโนโลยีเกิดเป็นอารยธรรมโลกยุคโบราณขึ้น
อารยธรรมทั้งหมดดังกล่างข้างต้น มีรูปแบบการสร้างที่อยู่อาศัย การก่อสร้างศาสนสถาน การประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษร การทำภาชนะดินเผา การประดิษฐ์อาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะหลากหลายชนิด การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก และมีรูปแบบของสังคมที่มีโครงสร้างชัดเจนขึ้น พัฒนาเป็นระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งได้เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออกสืบต่อมา