กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ
นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
การพัฒนาเศรษฐกิจ
สหกรณ์
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน

ยอดวิว 65.3k

แบบฝึกหัด

EASY

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน

HARD

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน

เนื้อหา

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย
ในปัจจุบัน 

ระบบเศรษฐกิจคืออะไร ? 

      ระบบเศรษฐกิจคือระบบที่สังคมหรือประเทศต่างๆ ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งในเรื่องการผลิต การกระจาย และการบริโภคสินค้าและบริการในสังคมนั้นๆ เราจะทราบว่าระบบเศรษฐกิจที่สังคมนั้นใช้อยู่คือระบบอะไร เราพิจารณาได้จากปัจจัย 4 อย่าง ได้แก่

  1. ความสามารถของประชาชนและเอกชนในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต
  2. เสรีภาพของประชาชนและเอกชนในเลือกการผลิต กระจาย และบริโภคสินค้าและบริการ   
  3. การใช้กลไกราคามากำหนด ประเภท จำนวน และราคาสินค้าและบริการ ลไกการตลาด คือภาวะที่ราคาสินค้าในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามกำลังความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน)           
  4. บทบาทของรัฐบาลในการจัดการการผลิต การกระจาย และการบริโภคสินค้าและบริการ    

     เราสามารถแบ่งระบบเศรษฐกิจได้เป็น 3 ระบบหลัก ๆ ได้แก่ ระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยม และระบบแบบผสม     

   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม              

  1. ประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ได้ตามกฎหมาย                                       
  2. ประชาชนและเอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจ
    ด้านการผลิต กระจาย และบริโภคสินค้าและบริการ
               
  3. เนื่องจากประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ และมีเสรีภาพเต็มที่ ผู้ซื้อและผู้ขายใช้กลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการผลิตอะไร เท่าไหร่ และเพื่อใคร เช่น ถ้ามีความต้องการซื้อ (อุปสงค์) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้ผลิตก็จะผลิตสินค้านั้นขึ้นมาให้
    ผู้ที่ต้องการ ถ้าผลิตมากเกินไปสินค้าจะล้นตลาด ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลงจนถึงจุดดุลยภาพ
               
  4. รัฐจะไม่เข้ามาแทรกแซงหรือบังคับเอกชนในการตัดสินใจด้านการผลิต กระจาย และบริโภค สินค้าและบริการ        
      ข้อดีของระบบทุนนิยม คือ เป็นระบบที่ผลลัพธ์ว่าผลิตอะไร เท่าไหร่ และเพื่อใคร เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และประชาชนและเอกชนก็ได้รับผลประโยชน์ ตอบแทนจากกำลัง ความคิด ความสามารถ และความถนัดของตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขัน นวัตกรรม การพัฒนาสินค้า    
      ข้อเสียของระบบทุนนิยม คือ จะมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูง ผู้มีปัจจัยการผลิตหรือมีความสามารถมากกว่าจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมาก และยังมีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลื่อง เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการประชาชนอย่างเต็มที่โดยไม่มีผู้ควบคุมอนุรักษ์ เช่น ถ้ามีความต้องการนำเที่ยวดำน้ำ ก็จะมีการทำทัวร์ดำน้ำมากมายโดยไม่มีการใส่ใจว่าบางฤดูเป็นฤดูวางไข่ของปลา ควรมีการพักทะเลส่วนนั้นบ้าง เป็นต้น    

   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

  1. รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตในประเทศ ประชาชนและเอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต         
  2. รัฐบาลไม่ใช้กลไกการตลาดเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าจะผลิตอะไร เท่าไหร่ อย่างไร และเพื่อใคร โดยเน้น
    มุ่งหมายความเสมอภาคในสังคมเป็นหลัก โดยประชาชนและเอกชนไม่มีเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตัวเอง
             
  3. ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมจะมีความเข้มข้นในการเข้าควบคุมของรัฐที่ต่างกัน ในบางประเทศ เช่น เกาหลีเหนือ รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทั้งการผลิต การกระจาย และการบริโภคสินค้าและบริการทั้งหมด
    แต่ในบางประเทศ เช่น เวียดนาม รัฐอาจครอบครองปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น ที่ดิน แต่ให้อิสระกับประชาชนได้เลือกประกอบอาชีพและทำธุรกิจ ตราบใดที่การกระทำนั้นไม่มีผลต่อสวัสดิการของคนส่วนมากในสังคม
            
      ข้อดีของระบบสังคมนิยม คือ ประชาชนมีสวัสดิการและการกระจายรายได้ที่ค่อนข้างทัดเทียมกัน         
      ข้อเสียของระบบสังคมนิยม คือ ประชาชนขาดเสรีภาพในการเลือกบริโภคและประกอบการ ทั้งยังไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์สินทรัพย์ได้เต็มที่ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานและประกอบการ นอกจากนี้การที่รัฐบาลเป็นผู้วางแผนควบคุมการผลิตหลายด้าน ทำให้เสี่ยงต่อการวางแผนและคาดคะเนผิดพลาดได้

   ระบบเศรษฐกิจแบบผสม       

      ประเทศส่วนใหญ่ในโลกขณะนี้รวมถึงประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม นั่นคือมีลักษณะผสมระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม โดยเป็นระบบที่               

  1. ประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้ตามกฎหมาย โดยรัฐจะเข้ามาควบคุมเฉพาะส่วนที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ที่ดินของป่าสงวนรัฐจะปกป้องไม่ให้เอกชนไปใช้ผลประโยชน์                                     
  2. ประชาชนและเอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจด้านการผลิต กระจาย และบริโภคสินค้าและบริการ โดยรัฐจะออกกฎหมายควบคุมในส่วนที่กระทบสังคม เช่น
    ด้านสิ่งแวดล้อม และรัฐอาจเข้ามาผลิตสาธารณูปโภคที่มีต้นทุนสูง เช่น การไฟฟ้า และการประปาเอง เป็นต้น
               
  3. กลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่า จะมีการผลิตอะไร เท่าไหร่ และเพื่อใคร รัฐจะช่วยดูแลไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบ เช่น การป้องกันการผูกขาดของเอกชน หรือการตั้งค่าแรงขั้นต่ำเพื่อปกป้องคุณภาพชีวิตของประชาชน           

      จะเห็นได้ว่ารัฐเข้ามามีส่วนในการควบคุมและตัดสินใจทางเศรษฐกิจร่วมกับภาคเอกชน         

      ข้อดีของระบบผสม คือ ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอิสระ จึงมีแรงจูงใจให้ขยายการผลิตซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และในเวลาเดียวกันรัฐก็สามารถเข้าไปดูแลเรื่องความเหลื่อมล้ำและคุณภาพชีวิตในสังคมได้ในระดับหนึ่ง         
      ข้อเสียของระบบผสม คือ ถ้ารัฐเข้าไปควบคุมมากเกินไปก็อาจเกิดปัญหาการวางแผนทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด เหมือนข้อเสียของระบบสังคมนิยม และการที่ภาครัฐสามารถออกกฎที่มีผลต่อภาคเอกชนมากๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดการช่อโกงเพื่อผลประโยชน์ได้ 

ทีมผู้จัดทำ