อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ปัญหาตะวันออกกลาง

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ปัญหาตะวันออกกลาง (ชุดที่ 1)

HARD

ปัญหาตะวันออกกลาง (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

ตะวันออกกลาง (Middle East) คือภูมิภาคที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรปในปัจจุบัน ประกอบด้วยประเทศเอกราช 13 ประเทศ และมีประชากร 170 ล้านคน เกือบทุกประเทศในภูมิภาคนี้เป็นชนชาติอาหรับและนับถือศาสนาอิสลาม (ชนชาติอาหรับนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนหนี่เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น อิหร่าน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเปอร์เซีย และนับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์)

        ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ภูมิภาคนี้มีปัญหาทั้งระดับภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศจนถึงปัจจุบัน หลายปัญหาได้ขยายกลายเป็นวิกฤตการณ์และก่อให้เกิดสงคราม เช่น ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ โดยเฉพาะระหว่างอิสราเอลกับชนชาติปาเลสไตน์ สงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สงครามระหว่างอิรักกับคูเวต เป็นต้น

ปัญหาตะวันออกกลาง

สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มรัฐอาหรับ

        หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชนชาติยิวได้ประกาศสถาปนาประเทศอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ด้วยความสนับสนุนของประเทศสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, และสหประชาชาติ โดยมีนายเดวิด เบน กูเรียน (David Ben Gurion) เป็นประธานาธิบดีคนแรก ทำให้ชนชาติอาหรับไม่พอใจ และได้รวมกำลังกันโจมตีเพื่อทำลายความเป็นรัฐอิสราเอลหลายครั้ง โดยการนำของ “รัฐแนวหน้า” (Front-Lined States) คือ อียิปต์, ซีเรีย, ทรานส์จอร์แดน, เลบานอน, และอิรัก แต่ในการรบทุกครั้งอิสราเอลมักเป็นฝ่ายมีชัยชนะเสมอ และได้มีการขับไล่หรืออพยพลี้ภัยชาวอาหรับออกมาจากปาเลสไตน์ไปเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศอาหรับต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น สงครามครั้งสำคัญ ได้แก่

ภาพที่ 1  นายเดวิด เบน กูเรียน ประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/David_Ben-Gurion#/media/File:Ben_Gurion_1959.jpg

        วิกฤตการณ์สุเอช (Suez Crisis) เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1956 อียิปต์ซึ่งเป็นมิตรกับสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ได้ประกาศให้คลองสุเอชซึ่งเป็นเส้นทางนานาชาติเป็นของอียิปต์และไม่ยินยอมให้เรือของอิสราเอลผ่านคลองสุเอช บริเวณช่องแคบติราน (Straits of Tiran) ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลได้ร่วมกันโจมตีอียิปต์ วิกฤตการณ์คลองสุเอชครั้งนี้มิได้ขยายใหญ่โต เพราะสหประชาชาติขอความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและประเทศที่สำคัญอื่น ๆ ต่อต้านการโจมตีของอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิสราเอล ผลของความขัดแย้ง จบลงที่ชัยชนะทางทหารของพันธมิตรอิสราเอล - ตะวันตก และชัยชนะทางการเมืองของอียิปต์ และที่สำคัญช่องแคบติรานได้เปิดให้เรือสัญชาติอิสราเอลผ่านอีกครั้ง

ภาพที่ 2  ยุทโธปกรณ์ของฝ่ายอียิปต์ที่ได้รับความเสียหายในระหว่างเหตุความขัดแย้ง
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Suez_Crisis#/media/File:Tanks_Destroyed_Sinai.jpg

        สงครามหกวัน (Six-Day War) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5-10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับรัฐอาหรับ 3 ประเทศ คือ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน แม้ว่าอิสราเอลจะมีกำลังน้อยกว่าแต่ก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยสามารถทำลายกองทัพและอาวุธของฝ่ายตรงกันข้ามได้เกือบทั้งหมด ผลของสงคราม 6 วัน คือ อิสราเอลสามารถยึดครองเวสต์แบงก์ (West Bank) ดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนจากจอร์แดนมาได้  ยึดที่ราบสูงโกลัน (Golan Height) จากซีเรียและยึดฉนวนกาซา (Gaza Strip) และแหลมไซนายจากอียิปต์ คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติได้มีมติให้อิสราเอลถอนกำลังจากทุกแห่งที่ยึดไว้ แต่อิสราเอลไม่สนใจ โดยถือว่าดินแดนเหล่านั้นเป็นดินแดนกันชน (Buffer State) ระหว่างประเทศตนกับประเทศศัตรู

ภาพที่ 3  แผนผังแสดงการเคลื่อนกำลังเข้ายึดครองแหลมไซนายของกองทัพอิสราเอล
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Six-Day_War#/media/File:1967_Six_Day_War_-_conquest_of_Sinai_7-8_June.jpg

        สงครามยมกิปปูร์ (Yom Kippur War) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนายิวและเป็นวันหยุดราชการ กองทัพอียิปต์และซีเรียได้เข้าโจมตีอิสราเอลและยึดดินแดนอิสราเอลในบริเวณคลองสุเอชและที่ราบสูงโกลัน อย่างไรก็ตาม ภายในไม่กี่วันหลังจากการสู้รบอย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่าย อิสราเอลสามารถยึดดินแดนทั้งหมดคืนมาได้ มีการทำข้อตกลงหยุดยิง และให้สหประชาชาติตั้งกองกำลังฉุกเฉินเพื่อรักษาเสถียรภาพในเขตทหารที่ได้กำหนดขึ้น


ภาพที่ 4  กองกำลังรักษาสันติภาพของ UN ในระหว่างสงคราม
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Yom_Kippur_War#/media/File:UN_Kilometer_101.jpg


การสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง

        ก่อนทศวรรษที่ 1990s มีการแสวงหาสันติภาพระหว่างรัฐอาหรับกับปาเลสไตน์ครั้งสำคัญที่สุด
คือ เมื่อประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) แห่งประเทศอียิปต์ และนายเมนาเฮม เบกิน (Menachem Begin) นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ได้พบปะเจรจากันที่แคมป์เดวิด รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยความเกื้อหนุนของประธานาธิบดีเจมส์ อี. คาร์เตอร์ (James "Jimmy" E. Carter) และได้ลงนามในสัญญาสันติภาพที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อปี ค.ศ. 1979   


ภาพที่ 5  นายอันวา ซาดัต ประธานาธิบดีอียิปต์ (คนผายมือทางซ้าย) และนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล (คนผายมือทางขวา) ภายหลังจากการเจรจาสันติภาพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Yom_Kippur_War#/media/File:Sadat_and_Begin_clean3.jpg 

         ผลของสัญญาครั้งนี้คือ อิสราเอลจะคืนดินแดนที่ยึดไปจากอียิปต์ คือ แหลมไซนาย และจากจอร์แดนคือเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นดินแดนฝั่นตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ให้แก่เจ้าของเดิมทีละน้อย จากการเจรจาในครั้งนั้นส่งผลให้อียิปต์และอิสราเอลให้การรับทางการทูตต่อกัน เป็นเหตุให้อียิปต์ถูกแยกออกจากกลุ่มอาหรับ

       องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

        องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization: PLO)

        ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1964 โดยกลุ่มชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในอธิปไตยของประเทศจอร์แดนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวปาเลสไตน์กลุ่มต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งต้องการกู้เอกราชให้ดินแดนปาเลสไตน์

        ภายในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มอัลฟาตะห์ (Al-Fatah) มียัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) เป็นผู้นำ อาราฟัตเป็นชาวปาเลสไตน์ที่ใช้ชีวิตวัยเด็กและวัยเรียนอยู่ในประเทศอียิปต์ และกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine: PFLP) ทั้งสองกลุ่มนี้ ได้รับการขนานนามจากฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ว่าเป็น “กลุ่มผู้ก่อการร้าย” เพราะมีการลอบโจมตีอิสราเอลมาโดยตลอด แต่กลุ่มอัลฟาตะห์ของอาราฟัตมีภาพลักษณ์ว่ารักสงบ มีเหตุผล และประนีประนอมกว่ากลุ่ม PFLP ของจอร์จ ฮาบาช (George Habash) ซึ่งนิยมแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ และมุ่งใช้ความรุนแรงโดยไม่สนใจการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพ


ภาพที่ 6  นายยัตเซอร์ อาราฟัต แกนนำคนสำคัญและหัวหน้าของขบวนการ PLO

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Yasser_Arafat#/media/File:Flickr_-_Government_Press_Office_(GPO)_-_THE_NOBEL_PEACE_PRIZE_LAUREATES_FOR_1994_IN_OSLO._(cropped).jpg

        จากการประชุมใหญ่ของชาวปาเลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1974 ที่กรุงราบัด ประเทศโมร็อกโก ที่ประชุมอนุมัติให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ทั้งมวล ซึ่งประชาคมนานาชาติได้ยอมรับสถานะเช่นนี้ด้วยในปี ค.ศ. 1976 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมประจำปีของสหประชาชาติ และมีหลายประเทศนอกเหนือจากกลุ่มประเทศอาหรับที่ให้การรับรองทางการทูตแก่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และพิจารณาว่ายัสเซอร์ อาราฟัดมีสถานะเป็นประมุขระดับรัฐบาลคนหนึ่ง

        ขณะที่ตั้งมั่นอยู่ในประเทศเลบานอน องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ยังคงมีปฏิบัติการลอบโจมตีภาคเหนือของอิสราเอลอยู่ จนในปี ค.ศ. 1982 กองทัพอิสราเอลบุกโจมตีภาคใต้ของประเทศเลบานอนอย่างรุนแรงเพื่อถอนรากถอนโคนองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ออกไปจากเลบานอน

        ปลายปี ค.ศ. 1983 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ย้ายฐานออกจากเลบานอนไปอยู่ที่กรุงตูนิสประเทศตูนิเชียและในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1988 ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์พลัดถิ่นขึ้นหลังจากที่ชาวปาเลสไตน์ที่ยังอยู่ในดินแดนอิสราเอล เช่น เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ได้ลุกฮือจับอาวุธต่อต้านอิสราเอล เมื่อปลายปี ค.ศ. 1987 และต้นปี ค.ศ. 1988 เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า "อินติฟาดา" (Intifada)

        ความขัดแย้งยืดเยื้อระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ได้กลายเป็นการเผชิญหน้าด้วยความรุนแรงไม่เว้นแต่ละวัน ในระยะเวลานี้ก็ปรากฏฝ่ายก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ที่อยู่นอกอำนาจการควบคุมขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เช่น กลุ่มฮามาส (Hamas) และเฮซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ได้ลอบโจมตีอิสราเอลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ระเบิดพลีชีพสังหาร หรือการลอบวางระเบิดอาคารและยานพาหนะสาธารณะ

        รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาในสมัยของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (Ronald Regan) ต้องการให้เกิดสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยเปิดเจรจาลับกับฝ่ายองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผลให้ยัสเซอร์  อาราฟัต ได้ประกาศประณามระบบก่อการร้ายเพราะไม่สามารถควบคุมขบวนการก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์รุ่นใหม่หลายกลุ่มได้ อาราฟัตจึงคิดหันมาหาความช่วยเหลือจากฝ่ายตะวันตก

        ในปี ค.ศ. 1990 อิรักได้โจมตีประเทศคูเวต เป็นผลให้สหรัฐอเมริกากับพันธมิตรต้องทำสงครามโดยตรงกับอิรักระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ค.ศ. 1991 ซึ่งการสู้รบครั้งนั้นเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาได้ประเทศสำคัญในกลุ่มอาหรับมาเป็นพันธมิตร เช่น อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย และซีเรีย  ส่วนองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ประกาศตนสนับสนุนอิรัก ความเปลี่ยนแปลงในท่าทีของประเทศอาหรับที่เข้าเป็นฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผลมาจากการล่มสลายของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ อดีตสหภาพโซเวียตไม่สามารถสนับสนุนและเป็นแหล่งอาวุธให้กับอาหรับได้อีกต่อไป อีกทั้งอดีตสหภาพโซเวียตเองก็ต้องการความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปอย่างมาก

        ในที่สุดได้มีการประชุมระหว่างผู้นำอิสราเอล คือ นายยิตช์ ฮัคราบิน (Yitzhak Rabin) กับผู้นำปาเลสไตน์ คือนายยัสเซอร์ อาราฟัต ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1993 ทำให้มีการลงนามในเอกสาร “คำประกาศหลักการจัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเองชั่วคราว” รู้จักกันในนาม “ข้อตกลงออสโล” (Oslo Accords) ทำให้นายยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ถูกเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลด้าoสันติภาพร่วม อย่างไรก็ตามปัญหาตะวันออกกลางก็ยังคงมีอยู่จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการกระทบกระทั่งระหว่างชาวยิวหรืออิสราเอลกับชาวอาหรับหรือปาเลสไตน์ นำไปสู่การทำสงครามระหว่างกัน สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก และสร้างความไม่พอใจให้กับชาวมุสลิมทั่วประเทศ ซึ่งเรียกร้องให้อิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี