อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

สงครามเย็น

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

สงครามเย็น (ชุดที่ 1)

HARD

สงครามเย็น (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

สงครามเย็น

       เป็นภาวะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันโดยที่กลุ่มหนึ่ง คือ ประเทศเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต

       ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก โดยไม่ได้มีการปะทะทางทหารโดยตรง แต่ใช้จิตวิทยาการสร้างแสนยานุภาพทางทหารโดยเฉพาะการพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การแข่งขันกันเป็นผู้นำทางอวกาศ การโฆษณาชวนเชื่อ และการแพร่ขยายอุดมการณ์ทางการเมืองของตนไปยังประเทศต่าง ๆ ผ่านการใช้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การทหารรวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสัมพันธมิตรทำสงครามตัวแทน (Proxy War)

สาเหตุของสงครามเย็น

        1.  การเปลี่ยนดุลอำนาจของโลก

             หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ซึ่งเป็นสมรภูมิสงครามต้องประสบกับความเสียหายอย่างมหาศาลเผชิญกับปัญหาภายหลังสงครามนานัปการ ทำให้มหาอำนาจในยุโรปอ่อนแอลงและสูญเสียความเป็นมหาอำนาจของโลก สูญเสียดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นอาณานิคม ทำให้เกิดประเทศใหม่ ๆ มากมาย ประเทศมหาอำนาจที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทางทหารมั่นคงกว่าประเทศอื่น ๆ คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นมหาอำนาจของโลกแทน

        2.  อุดมการณ์ทางการเมือง

             การแข่งชันกันระหว่างลัทธิทางการเมืองแบบสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตกับลัทธิทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกา
             ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามแข่งขันทางการเมืองมีการแพร่ขยายแนวคิดทางการเมืองไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีพันธมิตรเข้าร่วมอุดมการณ์เป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดความ
ขัดแย้งและภาวะตึงเครียดทางการเมืองขึ้น กลายเป็นสงครามอุดมการณ์หรือสงครามเย็นขึ้น

       วิกฤตการณ์การปิดกั้นเบอร์ลิน

         ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมนีตะวันออกมีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและเยอรมนีตะวันตกปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีเดิม แม้จะตั้งอยู่ภายในเขตแดนของเยอรมนีตะวันออก แต่ก็ยังมีการแบ่งเขตแดนในลักษณะของฝั่งตะวันตก - ตะวันออก เช่นกัน โดยฝั่งตะวันตกอยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ฝั่งตะวันออกอยู่ในความดูแลของสหภาพโซเวียต ต่อมารัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินกั้นระหว่างกรุงเบอร์ลินตะวันออกกับเตะวันตก เพื่อสกัดมิให้ชาวเยอรมนีตะวันออกหลบหนีออกไปยังฝั่งตะวันตก


ภาพที่ 1  ประชาชนชาวเบอร์ลิน เฝ้ามองเครื่องบินอเมริกันที่กำลังนำเสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นมาส่งด้วยการหย่อนลง ในระหว่างการปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน (Berlin Blockade) โดยกองทัพแดง เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างสองมหาอำนาจครั้งแรกในสงครามเย็น
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Berlin_Blockade#/media/File:C-54landingattemplehof.jpg


ภาพที่ 2  กำแพงเบอร์ลิน ที่ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1961 เพื่อกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตก และเบอร์ลินตะวันออก ก่อนจะถูกทุบทำลายลงในปี ค.ศ. 1989 กำแพงแห่งนี้ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นอีกด้วย

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Berlin_Wall#/media/File:Berlinermauer.jpg

       การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศสองกลุ่ม
         - องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต
         - องค์การวอร์ซอ (Warsaw Pact) เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตและรักษาอิทธิพลของสหภาพโซเวียต

     สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

        หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม ต่างประกาศแยกตัวเป็นเอกราช และขอความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ ฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองประเทศมหาอำนาจได้พยายามเข้าไปแทรกแซงโดยสนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ

       สถานการณ์ในยุโรป

        กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ต่อมาสหภาพโซเวียตได้พยายามเข้าแทรกแซงอำนาจในยุโรปตะวันออก เช่น การเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองในกรีซ สหรัฐอเมริกาจึงเข้าไปขัดขวางโดยประธานาธิบดีแฮรรี เอส ทรูแมน (Henry S. Truman) ได้ประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งประกาศต่อต้านการแทรกแซงของสหภาพโซเวียต

        นอกจากนี้ หลักการทรูแมนยังประกาศที่จะปกป้อง และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของยุโรปให้ดำรงต่อไป และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่ยุโรปเพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแผนการมาร์แชลล์เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรป  และให้เงินช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ การประกาศหลักการทรูแมนดังกล่าวถือเป็นการประกาศความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตโดยตรง ส่วนสหภาพโซเวียตได้ตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมิคอน ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศยุโรปตะวันออกและตอบโต้สหรัฐอเมริกา

       สถานการณ์ในเอเชีย

        จีน

        จีนแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศ โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงได้มีชัยชนะเหนือพรรคกว๋อ มินตั๋ง จึงได้สถาปนาประเทศให้มีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสหภาพโซเวียต และประเทศในยุโรปตะวันออกให้การรับรอง ส่วนพรรคกว๋อมินตั๋งภายใต้การนำของเจียง ไคเช็ค ได้ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เกาะไต้หวันเรียกสาธารณรัฐจีนโดยสหรัฐอเมริกากับพันธมิตรให้การรับรอง 


ภาพที่ 3  เหมา เจ๋อตง ผู้นำจีนฝ่ายคอมมิวนิสต์ และผู้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Mao_Zedong#/media/File:Mao_Zedong_in_1959_(cropped).jpg

        เกาหลี

        ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพโซเวียตและจีน และเกาหลีใต้ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาทั้งสองประเทศจึงมีความขัดแย้งด้านอุมดมการณ์ทางการเมือง และในภายหลังความขัดแย้งระหว่างสองประเทศได้ลุกลามไปเป็"สงครามเกาหลี" (Korean War) ซึ่งนับว่าเป็นสงครามตัวแทนครั้งแรกของสงครามเย็น


ภาพที่ 4  ประชาชนชาวเกาหลีใต้ กำลังอพยพหนีการรุกรานของทหารเกาลีเหนือ

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Korean_War#/media/File:South_Korean_refugees_mid-1950.jpg

        เวียดนาม 

        ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์ ได้รับความสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต เวียดนามใต้ที่เป็นประชาธิปไตยได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ทั้งสองฝ่ายได้ขับเคี่ยวกันเป็นเวลาหลายปีในสงครามที่เรียกว่า "สงครามเวียดนาม" (Vietnam War) สงครามเวียดนามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา เป็นผลให้เวียดนามสามารถรวมเป็นประเทศเดียวกันจนถึงปัจจุบัน


ภาพที่ 5  กองกำลังสหรัฐฯที่ปฏิบัติในระหว่างสงครามเวียดนาม

ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam_War#/media/File:UH-1D_helicopters_in_Vietnam_1966.jpg

        การแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเพิ่มแสนยานุภาพทางทหาร
        ในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างแข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการวิจัยและพัฒนาทางด้านการสำรวจอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อาวุธนิวเคลียร์และโครงการทางทหาร เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อแสดงแสนยานุภาพของแต่ละฝ่าย
       ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตทดลองนิวเคลียร์สำเร็จทำให้มีศักยภาพทัดเทียมสหรัฐอเมริกาทั้งสองฝ่ายจึงเร่งแข่งขันกันพัฒนาศักยภาพทางทหารเพิ่มขึ้น
        ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตสามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 2 พร้อมสุนัขชื่อไลกา ไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกได้สำเร็จ
       ค.ศ. 1962 สหภาพโซเวียตสร้างฐานขีปนาวุธที่ประเทศคิวบา ซึ่งเป็นการคุกคามสหรัฐอเมริกาโดยตรง สหรัฐอเมริกาจึงประกาศปิดล้อมคิวบา และประกาศจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ตอบโต้ สหภาพโซเวียตจึงยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา

การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น

        การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็น เกิดขึ้นเนื่องจากความหวั่นวิตกของนานาชาติว่าความขัดแย้งต่าง ๆ จะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะนอกจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแล้ว หลายประเทศก็ได้มีการทดลองและสะสมอาวุธนิวเคลียร์กันด้วย ดังนั้นประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงได้ปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการร่วมกันเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันในช่วงท้ายของสงคราม

การสิ้นสุดสงครามเย็น

        เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ในสมัยนาย มิคาเอล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต โดยได้ประกาศนโยบายปรับปรุงเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตที่เรียกว่า นโยบายคู่ เปิด-ปรับ เพื่อปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังเปิดความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และได้ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน และประกาศไม่แทรกแซงการเมืองภายในยุโรปตะวันออก เป็นผลให้ประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลสหภาพโซเวียตเรียกร้องการปกครองตนเองและแยกประเทศออกจากสหภาพโซเวียต โดยสหภาพโซเวียตมิได้ส่งทหารเข้าปราบปราม กอปรปับปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม จึงเป็นผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายและถือเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น

ผลของสงครามเย็น

        1.  ประเทศต่าง ๆ ปรับระบบการปกครองและเศรษฐกิจใหม่
             ความส่มสลายของสหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่าการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของระบบทุนนิยม และเห็นว่าการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน

        2.  ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             ผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจทำให้โลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโลกที่ไร้พรมแดนที่ประเทศต่าง ๆ ได้หันมาร่วมมือกันมากขึ้น

        3.  ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก
             การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้ประเทศต่าง ๆ เข้าไปผูกพันกับสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศที่มีอำนาจมากทั้งด้านการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ ไม่มีประเทศใดทัดเทียม