อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

สงครามโลกครั้งที่ 1

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

สงครามโลกครั้งที่ 1 (ชุดที่ 1)

HARD

สงครามโลกครั้งที่ 1 (ชุดที่ 2)

สงครามโลกครั้งที่ 1

เนื้อหา

สงครามโลกครั้งที่ 1

      เป็นสงครามที่เกิดจากประเทศมหาอำนาจของยุโรป 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และอิตาลี กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ในระหว่างสงครามแต่ละฝ่ายต่างมีประเทศร่วมเป็นพันธมิตรด้วย

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

    1.  ลัทธิชาตินิยม

              ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แนวคิดชาตินิยมหรือความเป็นชาติ หมายถึง ความรักชาติ เกิดขึ้นจากสาเหตุหลักข้อหนึ่งคือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ชนชั้นกลางเข้ามามีบทบาททางการเมือง การปกครอง ต้องการพัฒนาชาติของตนให้เจริญก้าวหน้า รวมทั้งการปฏิวัติของชาวอเมริกันที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษ และการปฏิวัติฝรั่งเศสได้ส่งเสริมให้ความเป็นชาติเกิดขึ้น และต้องการพัฒนาชาติของตนให้เจริญก้าวหน้า
               ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักวรรดิฝรั่งเศสภายใต้จักรพรรดินโปเลียนได้ล่มสลายลง ทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนในยุโรป บางจักรวรรดิมีคนหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน เช่น จักรวรรดิออสเตรีย มีทั้งชนชาติเยอรมัน โปแลนด์ อิตาเลียน เช็ก สโลวัก สลาฟ แมกยาร์ และยิว ส่วนบางชนชาติถูกแยกไปอยู่ต่างอาณาจักรกัน ทำให้เกิดความต้องการแยกเป็นเอกราชตามกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ซึ่งได้นำไปสู่การทำสงครามระหว่างกัน เช่น สงครามอิสรภาพกรีก การรวมชาติอิตาลี การรวมชาติเยอรมัน ดังนั้นหลายเชื้อชาติที่ยังอยู่รวมกับเชื้อชาติอื่นหรือตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างเชื้อชาติ จึงมีความพยายามที่จะแยกดินแดนเป็นเอกราช ในดินแดนอาณานิคม ชาวอาณานิคมที่ได้รับการศึกษา เห็นว่าประเทศจักรวรรดินิยมได้กอบโกยความมั่งคั่งจากประเทศของตน ขณะที่ชาวอาณานิคมอยู่อย่างแร้นแค้น จึงต่อต้านประเทศเจ้าอาณานิคม และปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ประชาชน

    2.  การแข่งขันในยุคจักรวรรดินิยม

               ในยุคจักรวรรดินิยม มหาอำนาจตะวันตกต่างแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างประเทศหลายครั้งเพื่อแย่งชิงดินแดน และผลประโยชน์ในทวีปแอฟริกา และเอเชีย ทั้งประเทศตะวันตกกับประเทศอาณานิคม และระหว่างประเทศตะวันตกด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันสะสมอาวุธ และเสริมสร้างแสนยานุภาพทางบก และทางทะเล มีการสร้างฐานที่มั่นทางการทหารตามจุดยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นฐานทัพคอยปกป้องอาณานิคมของตนซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างหวาดระแวง และเตรียมพร้อมที่จะทำสงคราม

    3.  ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ

               ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจในยุโรป ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีสาเหตุมาจากการแข่งขันกันทางการเมืองที่จะเป็นผู้นำเหนือชาติอื่น และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น เช่น
                -  สงครามฝรั่งเศส - ปรัสเซีย (Fransco - Prussian War, 1871 A.D.) เกิดจากการที่ฝรั่งเศสขัดขวางไม่ให้เยอรมนีรวมชาติ เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อฝรั่งเศส ขณะเดียวกันฝ่ายบรรดารัฐเยอรมัน นำโดยปรัสเซีย มีความพยายามที่จะรวมชาติ และต้องการจัดการกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นศัตรูอันดับหนึ่งเสียก่อน ผลของสงครามคือ ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ และต้องลงนามในสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต (Treaty of Frankfurt) ต้องสูญเสียแคว้นอัลซาซ-ลอเรน (Alsace-Lorraine) ที่อุดมด้วยแร่เหล็ก และจ่ายเงินค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมาก จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ล่มสลาย ฝรั่งเศสกลายเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง อีกทั้งปรัสเซียได้ประกาศรวมชาติเยอรมัน และสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) ณ ห้องโถงกระจก พระราชวังแวร์ซายอีกด้วย

                -  ปัญหาตะวันออก (Eastern Question) หมายถึง ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างประเทศมหาอำนาจยุโรป โดยเฉพาะจักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมาน ซึ่งฝ่ายรัสเซียมีความพยายามในการเข้ายึดครองและควบคุมดินแดนทั้งทางบกและทางทะเลที่เป็นจุดยุทธศาสตร์บนคาบสมุทรบอลข่านและดินแดนตะวันออกไกล ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับความขัดแย้งดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเสื่อมอำนาจและความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมาน และการแข่งขันอำนาจกันระหว่างออสเตรีย - ฮังการี และรัสเซีย ที่พยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปมีอำนาจเหนือดินแดนของออตโตมาน ตลอดจนการเรียกร้องเอกราชของชนกลุ่มน้อยบนคาบสมุทรบอลข่าน ที่เปิดโอกาสให้ทั้งออสเตรีย - ฮังการี และรัสเซีย ใช้เป็นข้ออ้างในการแทรกแซงออตโตมาน
                เพราะสืบเนื่องจากการประชุมใหญ่แห่งกรุงเวียนนา (The Congress of Vienna) ในปี ค.ศ. 1814 - 1815 ที่บรรดาชาติมหาอำนาจต่าง ๆ ยกเว้นอังกฤษ พยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น โดยเฉพาะรัสเซียที่พยายาม แผ่อิทธิพลเข้าไปมีอำนาจเหนือดินแดนของออตโตมาน ซึ่งดินแดนดังกล่าวมีชาวสลาฟอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยอ้างสิทธิในการคุ้มครองคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ และมีนโยบายรวมกลุ่มสลาฟ เรียกว่า “อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ” (Pan-Slavism) จากพวกออตโตมานที่เป็นมุสลิม รวมถึงจุดยุทธศาสตร์สำคัญอื่น ๆ ด้วย ด้านออสเตรีย - ฮังการี ก็พยายามแผ่อิทธพลเข้าไปเช่นกัน ด้วยความสนับสนุนจากเยอรมนีที่เป็นพันธมิตร และกังวลว่าการแผ่ขยายอิทธิพลของรัสเซียอาจเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อประเทศตนด้วย 
เนื่องจากออสเตรียได้ครอบครองฮังการี ทรานซิลเวเนีย โครเอเชียและสลาโวเนีย ซึ่งเป็นดินแดนที่มีประชากรเชื้อชาติสลาฟอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้ทางการออสเตรียจะทำให้ชาวสลาฟในดินแดนเหล่านั้นสามารถเข้ามาสวามิภักดิ์และรับราชการในกองทัพได้ แต่การเข้ามามีอิทธิพลของรัสเซีย อาจทำให้ชาวสลาฟเกิดความรู้สึกชาตินิยมและก่อกบฏได้ ดั้งนั้น ด้วยปัจจัยทั้งหมดทั้งมวลเเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของปัญหาตะวันออก

                -  ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับเยอรมนี เกิดขึ้นเนื่องจากเยอรมนีเสริมสร้างความเข้มแข็งทางทหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเสริมสร้างกองทัพเรือ เนื่องมาจากนโยบายต่างประเทศอันก้าวร้าวของเยอรมนีในสมัยไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 อันจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางทะเลของอังกฤษอย่างร้ายแรง

    4.  มหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย

               ความขัดแย้งทางการเมือง และทางเศรษฐกิจทำให้ชาติมหาอำนาจทางตะวันตกต่างแสวงหาพันธมิตร เริ่มด้วยเยอรมนีกับออสเตรีย-ฮังการี ได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีทวิภาคี (Dual Alliance) โดยทั้งคู่สัญญาว่าจะช่วยเหลือกันและกัน หากถูกประเทศอื่น (ที่เป็นศัตรู) โจมตี สัญญาฉบับนี้ขยับเป็นสนธิสัญญาพันธมิตรไตรภาคี (Triple Alliance) โดยรวมอิตาลีเข้ามาด้วย กลุ่มพันธมิตรนี้ต่อมาเรียกว่า มหาอำนาจกลาง (The Central Powers) เพราะประเทศสมาชิกตั้งอยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป ส่วนรัสเซียกับฝรั่งเศสได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร เพราะต่างเกรงว่าเยอรมนีจะเข้าข้างออสเตรีย-ฮังการี อีกทั้งฝรั่งเศสได้โกรธแค้นเยอรมนีมาตั้งแต่แพ้ในสงครามฝรั่งเศส - ปรัสเซีย ต่อมาอนุสัญญานี้ได้ขยายเป็นสนธิสัญญาพันธไมตรีกับฝรั่งเศส-รัสเซีย (Franco - Russian Alliance) อังกฤษทำสัญญาความตกลงไตรภาคีระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย กลุ่มพันธมิตรนี้ถูกเรียกว่าฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร (ฝ่ายสัมพันธมิตร) ในสงครามโลกครั้งที่ 1

ชนวนเหตุของสงคราม

        เกิดจากความขัดแย้งของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่มีมูลเหตุมาจากลัทธิชาตินิยมของชนชาติต่าง ๆ การแข่งขันแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจยุโรป และการที่มหาอำนาจแตกออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน
        โดยชนวนสงครามเกิดเมื่อรัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี คือ อาร์ชดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand of Austria) ถูกลอบปลงพระชนม์ที่กรุงซาราเยโวในบอสเนีย ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ส่งผลให้รัสเซียเข้าช่วยเซอร์เบีย ต่อมาเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษก็ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัมพันธมิตรของตนคือเข้าร่วมกับรัสเซีย เยอรมนียกทัพบุกเบลเยียมเพื่อโจมตีฝรั่งเศสตามแผนการชลีฟเฟน (Schlieffen's Plan) นอกจากนี้ลัทธิการทหารทำให้ประเทศต่าง ๆ พยายามสะสมอาวุธ รวมทั้งประชาชาติต่าง ๆ พยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเองมากที่สุด และใช้สงครามในการแก้ปัญหาต่าง ๆ แทนการพูดคุยเจรจา


ภาพที่ 1  ภาพวาดจำลองเหตุการณ์การลอบสังหารอาร์ชดยุค และพระชายา 
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Assassination_of_Archduke_Franz_Ferdinand#/media/File:DC-1914-27-d-Sarajevo-cropped.jpg


ภาพที่ 2  กัฟรีโล ปรินซีป (Gavrilo Printsip) มือปืนผู้ลั่นไกสังหาร และเป็นผู้ก่อชนวนเหตุของสงคราม

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Gavrilo_Princip#/media/File:Gavrilo_Princip,_prison,_infobox_crop.jpg

       การรวมกลุ่มพันธมิตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

        1.  กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี (ในระหว่างสงครามนั้น อิตาลีได้ประกาศตัวเป็นกลาง) เรียกว่า กลุ่มมหาอำนาจกลาง 

        2.  กลุ่มไตรภาคี (Triple Entente) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษ เรียกว่า กลุ่มมหาอำนาจตะวันตก หรือ ฝ่ายสัมพันธมิตร

ภาพที่ 3  สภาพในสนามเพลาะของฝ่ายอังกฤษ ในสมรภูมิแม่น้ำซอมม์ โดยลักษณะเฉพาะของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเป็น "สงครามสนามเพลาะ" (Trenches Warfare)
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_I

 

ภาพที่ 4  สงครามสนามเพลาะ (Trenches Warfare)




ภาพที่ 5  สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์ได้นำเอาเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการรบเป็นครั้งแรก อย่างเช่น รถถัง ปืนพ่นไฟ แก๊สพิษ เป็นต้น โดยในภาพเป็นรถถังของอังกฤษและทหารแคนาดากำลังรุกไปข้างหน้า

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_I#/media/File:Canadian_tank_and_soldiers_Vimy_1917.jpg

        สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ขยายออกไปทั่วโลก ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับเยอมนีเพื่อหวังจะได้ครอบครองอาณานิคมของเยอรมนีในมหาสมุทรแปซิฟิก ตุรกีได้เข้าร่วมกับมหาอำนาจกลาง อีก 1 ปีต่อมา บัลแกเรียก็เข้าข้างเยอรมนี กลุ่มประเทศบอลข่านเข้ากับประเทศฝ่ายตะวันตก ด้านสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามวาทะมอนโร (Monroe Doctrine) โดยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในยุโรป แต่ภายหลังได้เข้าร่วมสงครามร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร หลังจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ กรณีการจมเรือลูซิทาเนีย (Sinking of the RMS Lusitania) และกรณีโทรเลขของซิมเมอร์มานน์ (Zimmermann Telegram)


ภาพที่ 6  เรือลูซิตาเนียกำลังจมลง หลังจากถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำเยอรมัน
ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Sinking_of_the_RMS_Lusitania#/media/File:Bundesarchiv_DVM_10_Bild-23-61-17,_Untergang_der_%22Lusitania%22.jpg


ภาพที่ 7  นายอาทูร์ ซิมเมอร์มานน์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนีในขณะนั้น
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Zimmermann_Telegram#/media/File:Arthur_Zimmermann.png


ภาพที่ 8  โทรเลขของซิมเมอร์มานน์ ที่ถูกดักรับได้ และแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษ

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Zimmermann_Telegram#/media/File:Zimmermann-telegramm-offen.jpg


ภาพที่ 9 การ์ตูนล้อเลียนกรณีดังกล่าวโดยหนังสือพิมพ์อเมริกัน แสดงให้เห็นว่าเยอรมนีพยายามยื่นข้อเสนอให้เม็กซิโกเป็นพันธมิตร แลกกับดินแดนที่เคยสูญเสียไปในอดีต

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Zimmermann_Telegram#/media/File:Cartoon_for_a_Telegram.jpg

        จุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามในครั้งนี้อีกอย่างหนึ่ง คือ ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลีได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มไตรพันธมิตรหรือมหาอำนาจกลางมาก่อน แต่เมื่อสงครามเกิดขึ้นอิตาลีได้ประกาศนโยบายความเป็นกลาง แต่ต่อมาภายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้สัญญากับอิตาลีว่าจะยกพื้นที่บางส่วนของออสเตรีย-ฮังการีให้ (ดินแดนไทรอลใต้ จูเลีย - สมาร์ช และดินแดนบนชายฝั่งของดัลมาเทีย) หากอิตาลีเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายตน ทำให้อิตาลีกลับตัดสินใจประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2458 ความตกลงระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับอิตาลีครั้งนี้ทำให้เกิดการลงนามใน “สนธิสัญญาลอนดอน” (London Treaty, 1915) ขึ้น และในที่สุดอิตาลีก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมกับฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

ภาพที่ 10  การลงนามหยุดยิงระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Armistices) บนตู้รถไฟ ณ ป่าใกล้เมืองกมเปียญ ซึ่งถือเป็นสัญญาณของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_I#/media/File:Armisticetrain.jpg

การสร้างสันติภาพภายหลังสงครามครั้งที่ 1

        ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝ่ายสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ที่ประกอบด้วย เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องทำสนธิสัญญาสงบศึก โดยสนธิสัญญาที่มีชื่อเสียงที่สุด เรียกว่า “สนธิสัญญาแวร์ซายส์” (Treaty of Versialles) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เยอรมนีทำกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีเงื่อนไขหลายประการ สรุปได้ดังนี้

        1.  ดินแดน ฝ่ายพ่ายแพ้ต้องสูญเสียดินแดนและอาณานิคม
        2.  การทหาร ฝ่ายพ่ายแพ้สงครามถูกลดกำลังทหารและจำกัดอาวุธยุทโธปกรณ์
        3.  เศรษฐกิจ ฝ่ายพ่ายแพ้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก

        ผลจากการทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ทำให้เกิดประเทศใหม่ เช่น โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย และยูโกสลาเวีย อิตาลีได้รับดินแดนเพิ่ม ออสเตรียและฮังการีถูกลดอาวุธ และชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม รวมถึงสูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมาก บัลแกเรียต้องเสียดินแดน ถูกปลดอาวุธ และต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม นอกจากนี้การปกครองแบบประชาธิปไตยแพร่หลายมากขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น การเคลื่อนไหวแบบสันติได้ดำเนินไปโดยการก่อตั้งสันนิบาตชาติ (League of Nations) และศาลโลก แต่องค์การเหล่านี้ต้องล้มเหลว ไม่สามารถที่จะธำรงสันติภาพไว้ได้ เพราะสหรัฐอเมริกาได้ประกาศไม่เข้าร่วมกับสันนิบาตชาติ ทำให้สันนิบาตชาติไม่มีกองทัพและอิทธิพลมากพอที่จะหยุดยั้งหรือป้องปรามกรณีสุ่มเสี่ยงที่จะนำโลกเข้าสู่สงคราม

ภาพที่ 11  เอกสารสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำกับเยอรมนี
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Versailles#/media/File:Treaty_of_Versailles,_English_version.jpg

        สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจต่อยุโรปหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสูญเสียกำลังคน และสถานที่ต่าง ๆ ถูกทำลาย ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปต้องเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อบูรณะประเทศหลังสงครามเสร็จสิ้น การตั้งรัฐใหม่ในยุโรป ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วยุโรป ส่วนทางด้านสังคม มีการเสียชีวิต การบาดเจ็บ การถูกจับ การสูญหาย รวมทั้งเกิดปัญหาความยากจน ความหิวโหย และโรคระบาดไปทั่งทั้งยุโรป