อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ยุคจักรวรรดินิยม

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ยุคจักรวรรดินิยม (ชุดที่ 1)

HARD

ยุคจักรวรรดินิยม (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

        จักรวรรดินิยมมีพัฒนาการมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เริ่มมีการสำรวจทางทะเล เพื่อรู้จักดินแดนใหม่ ๆ และหวังผลทางการค้า ประเทศแรกที่มีบทบาทในการสำรวจทางทะเล คือ โปรตุเกส โดยใน ค.ศ. 1418 เจ้าชายเฮนรีราชนาวิกราช แห่งโปรตุเกส ได้ตั้งโรงรียนราชนาวีที่แหลมซาเกรส (Sagres) ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทะเล เช่น ความรู้ด้านดาราศาสตร์ การใช้เข็มทิศ เทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ เป็นต้น ทำให้โปรตุเกสสามารถเดินทางอ้อมไปจนถึงแหลมกู๊ดโฮป (Good Hope) เพื่อไปยังทวีปเอเชีย
        หลังจากนั้นนักเดินเรือชาวยุโรปอื่น ๆ พากันบุกเบิกเส้นทางทวีปแอฟริกา เอเชียและอเมริกา เข้าสู่ยุคของการค้นพบและการสำรวจทางทะเล ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-18

       สเปน

        ได้ประสบความสำเร็จในการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก พบทวีปอเมริกา ต่อมาเฟอร์ดินาน มาเจลลัน ชาวโปรตุเกสได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน ได้ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ อ้อมช่องแคบแมกเจลลันสู่มหาสมุทรแปซิฟิกถึงหมู่เกาะฟิลิปฟินส์ ซึ่งเขาเสียชีวิตที่นั่น แต่ลูกเรือสเปนชื่อ เซบาสเตียน เดล คาโน ได้นำเรือกลับมาทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จนับเป็นการเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นผลให้สเปนสามารถยึดครองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ รวมทั้งหมู่เกาะต่าง ๆ และยึดครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นผลทำให้สเปนกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และมั่งคั่งที่สุด

        ฮอลันดา

         ชาวดัตช์หรือเนเธอร์แลนด์ หลังจากที่สามารถแยกตัวจากการปกครองของสเปน ทำให้ไม่สามารถค้าเครื่องเทศที่ท่าเรือลิสบอนของสเปนได้ ฮอลันดาจึงหาเส้นทางทางทะเล โดยตั้งบริษัทดัตช์อินเดียตะวันออกหรือวีโอซี กองทัพเรือของฮอลันดาสามารถเข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย และสามารถคุมการค้าเครื่องเทศในชวา สุมาตรา มะละกาและลังกา

        ฝรั่งเศส

          ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตรงกับสมัยพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 ได้ส่งเสริมให้มีการออกสำรวจดินแดน และจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาได้มีการจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้แข่งขันกันแสวงหาดินแดนในทวีปแอฟริกาและเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศ  มหาอำนาจอื่น ๆ

        ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปแสวงหาดินแดนอาณานิคมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นตลาดการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตได้ และใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เกิดการแข่งขันแสวงหาอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลทั้งทางด้านขยายอิทธิพลทางการเมืองและอำนาจทางเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น

 ลัทธิจักรวรรดินิยม
(Imperialism)

        ลัทธจักรวรรดินิยม หมายถึง นโยบายการขยายอำนาจและการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจในดินแดน หรือประเทศที่อ่อนแอกว่า โดยพยายามเข้าไปมีอำนาจในการปกครองโดยตรงหรือมีอำนาจควบคุม ครอบงำ เหนือประเทศเจ้าของดินแดนนั้น ๆ
        ลัทธิจักรวรรดินิยม เป็นลัทธิทางการปกครอง และการดำเนินนโยบายของชาติมหาอำนาจในยุโรป ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหารของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมเป็นไปอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่สงครามโลกในที่สุด

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม

        1.    ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นทำให้ประเทศยุโรปขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้าไปในทวีปเอเชีย และแอฟริกา ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย                

                1.1    การแสวงหาผลประโยขน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุน พ่อค้า และนักธุรกิจ สนับสนุนให้รัฐบาลของประเทศในยุโรปเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองการปกครอง เพื่อคุ้มครอง และรักษาผลประโยชน์ของนักลงทุน พ่อค้า และนักธุรกิจ ทำให้เกิดการยึดครองอาณานิคมต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา

                1.2    ความต้องการวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้าขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศในยุโรปแสวงหาดินแดนที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ อย่างเช่น เหล็ก ทองคำ ทองแดง ดีบุก น้ำมัน ยางพารา รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ

                1.3    ความต้องการครอบครองแหล่งผลิตสินค้าที่ชาวตะวันตกต้องการ เช่น ชา กาแฟ เครื่องเทศ ทำให้เกิดการขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกในดินแดนอาณานิคมเพื่อเพาะปลูกพืชดังกล่าว

                1.4    ความต้องการตลาดสินค้า สำหรับกระจายสินค้าที่ยุโรปผลิตได้มากเกินการบริโภคในประเทศตน

      ความต้องการขยายการลงทุนในดินแดนอาณานิคม เช่น การทำเหมืองแร่ การทำไร่ขนาดใหญ่ การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศตะวันตกยังให้เงินกู้แก่ผู้นำในท้องถิ่นในการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การสร้างทางรถไฟ เขื่อน และชลประทาน โดยให้นักธุรกิจในประเทศของตนเป็นผู้ดำเนินการ

        
         2.    ปัจจัยทางการเมือง เนื่องจากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเกิดกระแสชาตินิยมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี
ต่างมีความภาคภูมิใจในชาติและเกียรติภูมิของชาติตน ทำให้ประชาชนสนับสนุนให้ประเทศของตนสร้างความเข้มแข็งทางการเมือง เช่น การสงครามเพื่อขยายดินแดน และเห็นว่าการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเพื่อสร้างอาณานิคม จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการเมืองให้ประเทศ จึงส่งเสริมให้มีการขยายอิทธิพลเหนือดินแดนในอาณานิคมต่าง ๆ มีการขยายอำนาจทางทหาร มีการจัดตั้งฐานทัพเรือและฐานที่มั่นทางทหาร และมีความพยายามควบคุมจุดยุทธศาสตร์ทั้งทางบกและทางน้ำเพื่อรักษาอาณานิคมของตนไว้

        3.    ปัจจัยทางสังคม

                3.1    ชาวยุโรปมีความคิดว่าชาติตนมีความเจริญสูงกว่า และนับถือคริสต์ศาสนา โดยคิดว่าชนชาติอื่นโดยเฉพาะชาติในเอเชียและแอฟริกาเป็นชาติที่ล้าหลัง จึงเห็นว่าเป็นภาระของคนผิวขาว (White Man’s Burden)  ที่จะเผยแพร่ความเจริญและคริสต์ศาสนาให้กับชาวพื้นเมือง  ทั้งยังเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ในการเผยแผ่ศาสนาด้วย

                3.2    ความต้องการหาแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานให้ประชาชน เนื่องจากประชากรในยุโรปเพิ่มขึ้นมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ขณะที่พื้นที่ทางการเกษตรมีเท่าเดิม ดังนั้นประเทศมหาอำนาจจึงหวังจะระบายพลเมืองของตนให้ไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนอาณานิคม เช่น อังกฤษอพยพผู้คนตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่น ๆ เช่น ต้องการถิ่นฐานในดินแดนที่มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น

                3.3    ปัจจัยอื่น ๆ ทางสังคม เช่น การผจญภัย ความต้องการรับและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ปัจจัย ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประเทศในยุโรปโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจต่างเข้าไปขยายอำนาจที่เอเชียและแอฟริกาในหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรม การขยายอำนาจต่าง ๆ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ และนำไปสู่สงครามโลกในที่สุด

        ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างกว้างขวาง และเข้าควบคุมดินแดนอาณานิคมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น แต่งตั้งชาวตะวันตกเป็นผู้ปกครองดินแดนอาณานิคม ให้ผู้ปกครองชาวพื้นเมืองปกครองกันเองแต่อยู่ภายใต้อำนาจของชาวตะวันตก มีการนำภาษาตะวันตก คริสต์ศาสนาและระบบการศึกษาไปใช้ในดินแดนอาณานิคม บังคับให้ชาวอาณานิคมปลูกพืชเศรษฐกิจตามที่ตนต้องการ เช่น
ไร่ฝ้ายในทวีปอเมริกา ไร่ใบชาในอินเดีย ไร่ยาสูบในมาเลเซียและลังกา และกาแฟในหมู่เกาะอินโดนีเซียทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างรวดเร็ว


      จักรวรรดินิยมของอังกฤษ

       อังกฤษเป็นผู้นำจักรวรรดินิยม หลังจากประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม อังกฤษได้ขยายอิทธิพลครอบคลุมดินแดนเกือบหนึ่งในสี่ของโลก โดยได้รับการยกย่องว่า “เป็นดินแดนที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของอังกฤษ คือ การดำเนินงานของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ โดยอังกฤษได้ควบคุมอินเดียอย่างเป็นทางการ อินเดียเป็นแหล่งวัตถุดิบราคาถูก และเป็นตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตจากอังกฤษ รวมทั้งศรีลังกา พม่า มลายู ฮ่องกง สิงคโปร์ อังกฤษได้ทำสงครามกับจีน ซึ่งจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้ต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มขึ้น และสูญเสียผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงอังกฤษยังได้สิทธิลงทุนทำเหมืองแร่ในจีนได้
        ในทวีปแอฟริกา อังกฤษได้ครอบครองดินแดนจำนวนมาก ทั้งแอฟริกาใต้ แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก ยึดครองอเมริกาเหนือ และอ้างสิทธิเหนือทวีปออสเตรเลียทั้งหมด


      จักรวรรดินิยมของฝรั่งเศส

        ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสมีอาณานิคมจำนวนมากในทวีปแอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตกและบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนในทวีปเอเชีย ฝรั่งเศสยึดครองอาณานิคมในอินโดจีน ประกอบด้วยเวียดนาม กัมพูชา และลาว
        ในทวีปอเมริกา ฝรั่งเศสยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือ สามารถตั้งอาณานิคมของฝรั่งเศสได้หลายแห่ง เช่น ควิเบก ลุยเซียนา นิวออลีนส์ เป็นต้น


       จักรวรรดินิยมของอิตาลี

        อิตาลีขยายลัทธิจักรวรรดินิยมไปในทวีปแอฟริกาได้บางส่วน เช่น เอริเทรีย โซมาลีแลนด์ ยึดครองตรีโปลี หรือลิเบีย และผนวกอบิสซิเนียหรือเอธิโอเปีย


       จักรวรรดินิยมของสเปน

        สเปนได้ครอบครองดินแดนบางส่วนของทวีปแอฟริกา และดินแดนส่วนใหญ่บริเวณตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และบางส่วนของอเมริกาเหนือ ส่วนอาณานิคมในทวีปเอเชีย หลังจากที่สเปนพ่ายแพ้แก่สหรัฐอเมริกา สเปนต้องยกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเกาะกวมให้แก่อเมริกา


       จักรวรรดินิยมของโปรตุเกส

        โปรตุเกสครอบครองดินแดนมาเก๊าของจีน และได้ยึดครองดินแดนในทวีปอเมริกาใต้ ที่ปัจจุบันคือบราซิล


       จักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก

        ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรป สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี เริ่มมองดินแดนโอเชียเนียในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเป้าหมายใหม่ของการล่าอาณานิคม นอกเหนือไปจากออสเตรเลีย หรือเกาะใหญ่ ๆ อย่างอินโดนีเซีย และนิวซีแลนด์แล้ว ยังมีเกาะขนาดเล็กในมหาสมุทรแปซิฟิกอีกมากมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานีการค้าได้แล้ว ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์และจุดแวะพักเติมเชื้อเพลิงสำหรับเรือที่ใช้พลังงานจากถ่านหินได้อีกด้วย
        ชาวดัตช์ที่ทำการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ผลประโยชน์เหล่านี้แผ่ไปไกลถึงเกาะนิวกินีและในอินโดนีเซีย ซึ่งดินแดนส่วนตะวันตกของเกาะนี้ได้เป็นของดัตช์ ขณะที่ชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะเยอรมนีซึ่งเป็นชาติทรงอำนาจในยุโรป และพยายามแผ่อิทธิพลไปในแถบแปซิฟิกก็สนใจเกาะนิวกินีเช่นกัน ต่อมาบรรดาอาณานิคมออสเตรเลียพากันเรียกร้องให้อังกฤษอ้างสิทธิเหนือดินแดนอีกครึ่งเกาะที่ยังไม่ตกเป็นของดัตช์ อย่างไรก็ดี เยอรมนีก็อ้างสิทธิเหนือส่วนตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มเกาะที่อยู่ใกล้เคียง สุดท้ายอังกฤษจึงได้ครอบครองเพียงส่วนตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งก็คือประเทศปาปัวนิวกินีในปัจจุบัน
        ขณะเดียวกัน เกาะขนาดเล็กอื่น ๆ ก็ถูกมหาอำนาจเข้ายึดครอง ฝรั่งเศสก็เข้ายึดครองหมู่เกาะมาร์เคซัส ผนวกหมู่เกาะลอยัลตี และยึดตาฮีลีเป็นอาณานิคม ส่วนอังกฤษผนวกหมู่เกาะฟิจิทางเหนือของนิวซีแลนด์ พร้อมกับยึดเอาหมู่เกาะคุก กิลเบิร์ต และเอลลิล์เป็นรัฐอารักขา
        นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชาติมหาอำนาจทำข้อตกลงกันว่าไม่ให้ชาติใดชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือดินแดนต่าง ๆ มากเกินไป เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสยอมรับการมีอธิปไตยร่วมกันเหนือหมู่เกาะเฮบริดิส หรือในกรณีหมู่เกาะซามัวซึ่งมีท่าเรืออันเป็นชัยภูมิเหมาะสม ก็ตกเป็นเป้าหมายของหลายชาติ ทั้งสหรัฐอเมริกา เยอรมนีและอังกฤษ ทั้งสามชาติต่างทำสนธิสัญญากับชาวซามัวว่าให้ตนมีสิทธิในฐานทัพเรือของหมู่เกาะ จนนำไปสู่ความขัดแย้งใน 3 ชาติมหาอำนาจ ในที่สุดมหาอำนาจทั้ง 3 ก็บรรลุข้อตกลงสันติภาพ โดยต่างฝ่ายต่างมีฐานะเป็นผู้อารักขาหมู่เกาะซามัวร่วมกัน

     หมู่เกาะฮาวาย (Island of Hawaii) เป็นหมู่เกาะที่อยู่ห่างไกล โดยมีชาวตาฮีจีได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักของชาวยุโรปจนกระทั่งทศวรรษที่ 1770s เมื่อนักสำรวจเจมส์ คุก (๋James Cook) ได้เดินทางไปสำรวจ ในการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกครั้งที่ 3 ของเขา และที่นั่นเองเขาได้ถูกชาวพื้นเมืองทำร้ายจนเสียชีวิต

     นับตั้งแต่ ค.ศ. 1820 เป็นต้นมา หมู่เกาะฮาวายได้มีความสำคัญต่อสหรัฐอเมริกามากขึ้น เริ่มจากการเข้าไปเผยแผ่ศาสนาของกลุ่มมิชชานารี จนต่อในปี ค.ศ. 1875 สหรัฐอเมริกาและฮาวายได้ลงนามในสนธิสัญญาพาณิชย์ ซึ่งเนื้อหาสำคัญของสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว คือเปิดโอกาสให้ชาวอเมริกันเข้าไปตั้งถิ่นฐานในฮาวายได้ รวมถึงใช้อ่าวเพิร์ล ซึ่งเป็นท่าเรือล่าวาฬเป็นฐานทัพเรือได้ 

     จนในปี ค.ศ. 1887 พระราชินีแห่งเกาะฮาวายทรงเกรงว่า อิทธิพลของชาวอเมริกันจะนำมาสู่ความยุ่งยากในการปกครอง จึงได้ทำการปกครองแบบเผด็จการ ด้านเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำฮาวาย ได้ร่วมมือกับชาวอเมริกันในฮาวาย ล้มล้างการปกครอง และจัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากแผ่นดินใหญ่ จนท้ายที่สุดฮาวายถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1898


ผลกระทบของการขยายอิทธิพลในยุคจักรวรรดิ

    1.  ประเทศในยุโรปที่มีอาณานิคมในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา จนได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจ ทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะความเข้มแข็งทางการทหาร

    2.  อารยธรรมของชาวตะวันตกได้แพร่ขยายไปทั่วโลก รวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะทางด้านสิ่งก่อสร้าง การรับการศึกษาแบบตะวันตก การใช้ภาษาตะวันตก ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส อาณานิคมหลายแห่งได้รับการปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย หลังจากได้รับเอกราชจึงมีความพร้อมที่จะปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เช่น อินเดียและมลายู ที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นต้น

    3.  การขยายอิทธิพลของชาวยุโรปโดยใช้กำลัง และความรุนแรง ทำให้อารยธรรมโบราณของชาวพื้นเมืองถูกทำลาย เช่น อาณาจักรมายา อัชเต็ก และอินคาของทวีปอเมริกา ส่วนในทวีปแอฟริกา ระบอบการปกครองดั้งเดิมที่เคยอยู่ใต้การปกครองของหัวหน้าเผ่าถูกทำลายไปบางแห่ง ประเทศตะวันตกใช้นโยบายแบ่งแยกและปกครอง (Divide and Rule) เช่น อังกฤษปกครองพม่าและอินเดีย เป็นต้น โดยกำหนดแบ่งเขตพื้นที่การปกครองใหม่ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมทำให้ชนพื้นเมืองมีความขัดแย้งยิ่งขึ้น เมื่อดินแดนเหล่านี้ได้รับเอกราชเป็นประเทศจึงประสบปัญหาทางการเมือง เช่น ปัญหาชนกลุ่มน้อย ที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและการนับถือศาสนา ทำให้เกิดปัญหาแตกแยกมาจนถึงปัจจุบัน

    4.  ประเทศอาณานิคมตกอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศจักรวรรดินิยมทั้งด้านการปกครอง การต่างประเทศ และเศรษฐกิจ ต้องสูญเสียทรัพยากรให้จักรวรรดินิยม ชนพื้นเมืองถูกปกครองอย่างกดขี่ ซึ่งเป็นผลทำให้ชาวพื้นเมืองเกิดความไม่พอใจ เกิดความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ชาวพื้นเมือง  และเรียกร้องเอกกราชจากเมืองแม่

    5.  การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในดินแดนอาณานิคม ทำให้เกิดรัฐใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวพื้นเมืองกับชาวยุโรปที่เข้าไปตั้งถิ่นฐาน

    6.  อาณานิคมส่วนใหญ่จะได้รับการพัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อความสะดวกสบายของชาวตะวันตก และประโยชน์ทางการค้า เช่น ถนน ทางรถไฟ ประปา ไฟฟ้า ความเจริญต่าง ๆ เช่น ผังเมืองที่เป็นระบบยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

    7.  สมัยจักรวรรดินิยมทำให้ดินแดนต่าง ๆ เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน มีการติดต่อระหว่างกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

    8.  การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในยุคจักรวรรดินิยม ทำให้เกิดความขัดแย้ง นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต่างก็ขยายอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากดินแดนต่าง ๆ ด้วยความขัดแย้งระหว่างประเทศของมหาอำนาจนำไปสู่สงครามโลกในที่สุด