อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment) (ชุดที่ 1)

HARD

ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment) (ชุดที่ 2)

news

ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)

เนื้อหา

ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญาหรือยุคแห่ง
ความรู้แจ้ง (Age of Enlightenment)

        เป็นช่วงเวลาที่นักปรัชญาใช้เหตุผลอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา และการเมืองการปกครอง โดยให้ความสำคัญกับเสรีภาพ สิทธิส่วนบุคคลและปัจเจกชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของแนวคิดระบอบประชาธิปไตยในยุคต่อมา ยุคนี้เริ่มต้นที่อังกฤษประมาณ ค.ศ. 1680 จากนั้นแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกา ในคริสต์ศตรรษที่ 18 ศูนย์กลางของยุคแห่งความรู้แจ้งอยู่ในฝรั่งเศส โดยมีความคิดที่สำคัญ ดังนี้

        1.    เหตุผลเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความฉลาดรอบรู้ สามารถนำมาใช้อธิบายโลกหรือธรรมชาติได้

        2.    จักรวาล เป็นระบบที่ถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และปรากฏการณ์ธรรมชาติไม่ได้ขึ้นอยู่กับพระเป็นเจ้า

        3.    โครงสร้างของสังคมที่ดีที่สุดต้องมีความเป็นธรรมดาและธรรมชาติอย่างมีเหตุผล และมีเสรีภาพตามธรรมชาติ

        4.    ความคิดเรื่องบาปดั้งเดิม (Original Sin) นักปราชญ์คนสำคัญในยุคแห่งการรู้แจ้งคือ วอลแตร์ (ค.ศ. 1694 -1778) อธิบายว่าโลกนี้ถูกควบคุมโดยความมีเหตุผล และประสบการณ์เป็นเครื่องชี้นำทางชีวิตมนุษย์ วอลแตร์ยังได้เผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคลว่าสามารถพูดและคิดได้อย่างเสรี วอลแตร์มีความไม่พอใจอย่างยิ่งในการลงโทษของสถาบันศาสนา ส่วนแนวคิดทางการเมือง วอลแตร์ยกย่องการปกครองระบบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้กฏหมายแบบอังกฤษและเสรีภาพของประชาชนอังกฤษ


นักปฏิวัติทางภูมิปัญญาที่สำคัญ ได้แก่

       จอห์น ล็อก (John Locke)

       นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ ได้เสนอความคิดเรื่องเสรีภาพของปัจเจกบุคคล สิทธิตามธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน และได้เขียนหนังสือ เรื่อง "Two Treatires of Government" เสนอแนวทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน


ภาพที่ 1  จอห์น ล๊อก 
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/John_Locke#/media/File:John_Locke.jpg

        แนวคิดทางการเมืองของล๊อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมือง และมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิตามธรรมชาติของประชาชน อันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ 

        บารอน เดอ มงเตสกิเออ (Baron de Montesquieu)

        มีผลงานเขียน 2 เล่ม คือ The Persian Letters ซึ่งมีเนื้อหาแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพความเหลวแหลกทางการปกครองของระบบเก่าในฝรั่งเศส ส่วนอีกเล่มคือ The Spirit of the Laws เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปกครอง มงเตสกิเออตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีระบอบการปกครองใดที่ดีที่สุด การปกครองที่ดีต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นมาของแต่ละสังคม เสนอแนวทางการปกครองแบบการแบ่งแยกอำนาจสูงสุด โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจบริหาร นิติบัญญติและตุลาการ สนับสนุนการปกครองแบบมีรัฐธรรมนูญหรือแบบมีผู้แทน และสนับสนุนอำนาจอธิปไตยของปวงชนอีกด้วย


ภาพที่ 2  บารอน เดอ มองเตสกิเออ
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Montesquieu#/media/File:Charles_Montesquieu.jpg

        ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)

         เป็นผู้ที่ทำให้แนวความคิดเรื่องสิทธิตามธรรมชาติของ จอห์น ล็อก นักปรัชญาชาวอังกฤษ แพร่หลายในฝรั่งเศส รูโซยังได้เสนอแนวความคิดตามบทความเรื่อง Discouse on the Origin of Inequalitity ว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นคนดี แต่สังคมทำให้มนุษย์ต้องชั่ว หากสภาพแวดล้อมดีทุกคนจะทำแต่ความดี ส่วนในหนังสือเรื่อง สัญญาประชาคม (The Social Contract) อธิบายถึงแนวความคิดทางการเมืองว่า มนุษย์ที่เกิดมีเสรี มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นสิทธิตามธรรมชาติและเสรีภาพของประชาชนต้องอยู่บนหลัก “สัญญาประชาคม” ภายใต้การควบคุมของ “เจตจำนงร่วม” (General Will) อันเป็นอำนาจสูงสุดของสังคม แนวความคิดนี้แพร่หลายและได้รับการยกย่องจากทุกชนชั้น และกลายมาเป็นคัมภีร์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789 อันเป็นที่มาของคำขวัญการปฏิวัติที่ว่“เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ”

ภาพที่ 3  ฌอง ฌาค รุสโซ
ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Jean-Jacques_Rousseau#/media/File:Jean-Jacques_Rousseau_(painted_portrait).jpg

        การปฏิวัติทางปัญญาและยุคแห่งการ รู้แจ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิตามธรรมชาติและความคิดเรื่องการปกครอง ได้ส่งผลกระทบต่อแนวความคิดของคนในยุคนั้นให้มีความแตกต่างไปจากยุคกลางโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ คนในยุคนี้เชื่อว่า ถ้าปล่อยให้มนุษย์มีเสรีภาพทางความคิดแล้ว มนุษย์จะแสวงหา และเพิ่มพูนความรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยมีสถาบันการปกครองเป็นสถาบันที่ยุติธรรมและคำนึงถึงมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แนวความคิดใหม่ ๆ เหล่านี้ ได้ถูกรวบรวมให้เป็นระบบระเบียบไว้ในหนังสือสารานุกรมซึ่งดิเดโรเป็นบรรณาธิการ

        จากการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและทัศนคติของชาวยุโรปอันเป็นอิทธิพลของการปฏิวัติทางปัญญาและยุคแห่งความรู้แจ้งนั้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในศตวรรษต่อมา ทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมือง แตกต่างกัน 2 แนวความคิด

        แนวความคิดแรก ความคิดเสรีนิยม (Liberalism) ผู้ก่อตั้งลัทธินี้คือ อดัม สมิธ (Adam Smith) ได้เน้นเรื่องการดำเนินธุรกิจการค้าแบบเสรี (Laissez Faire) โดยให้รัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่บรรดานายทุนหรือเจ้าของโรงงานยึดถือว่าเป็นทฤษฎีที่เหมาะสมที่สุด โดยตระหนักว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่ได้เสรีภาพทางการเมือง หรือเสรีภาพทางเศรษฐกิจจะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพทางการเมือง

ภาพที่ 4  อดัม สมิท บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ 
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Adam_Smith#/media/File:Adam_Smith_The_Muir_portrait.jpg


        ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลัทธิทางการเมืองซึ่งเป็นที่นิยมคือเสรีนิยมและการปกครองส่วนใหญ่เป็นการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีเสรีภาพในการพูด การเขียนและการแสดงออก

        แนวความคิดที่ 2 ความคิดแบบสังคมนิยม (Socialism) ผู้ก่อตั้งลัทธินี้คือ คาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ซึ่งเน้นการให้รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการสำคัญ เช่น เหมืองแร่ รถไฟ ส่วนกิจการเล็ก ๆ ให้เอกชนดำเนินการเอง นักสังคมนิยมที่สำคัญนอกจากคาร์ล มากซ์ ได้แก่ โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) และฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels)


ภาพที่ 5  คาร์ล มากซ์

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Karl_Marx#/media/File:Karl_Marx_001.jpg
        แนวความคิดนี้เชื่อว่า สังคมที่ใช้ระบบเสรีนิยมทำให้เกิดความอยุติธรรมในสังคม เพราะเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมกร อันนำมาซึ่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้นทั้งสองเพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของปัจจัยการผลิตและโครงสร้างทางสังคม ซึ่งเมื่อฝ่ายชนชั้นกรรมกรชนะจึงสามารถนำปัจจัยการผลิตมาเป็นของสังคมส่วนรวมได้ โดยการตั้งองค์กรดูแลเศรษฐกิจ มีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของสังคมและเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดทางการเมือง ซึ่งเป็นการปกครองชั่วคราวเท่านั้น เพราะสังคมในอุดมคติตามแนวคิดแบบสังคมนิยมเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น มีความเสมอภาค ไม่มีองค์กรทางการเมืองที่แท้จริงจะมีก็แต่ผู้ดูแลบริหารงานด้านเศรษฐกิจเท่านั้น