อารยธรรมของโลกยุคโบราณ
ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมอียิปต์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมกรีก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันตก: อารยธรรมโรมัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมอินเดีย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อารยธรรมโลกตะวันออก: อารยธรรมจีน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของมนุษยชาติในสมัยกลางสู่ยุคแห่งการปฏิวัติ การปฏิรูป และยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา
ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามครูเสด (Crusade War)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา (Age of Enlightenment)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
พัฒนาการของโลกในสมัยจักรวรรดินิยมถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของรัฐชาติในยุโรป
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยุคจักรวรรดินิยม
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามโลกครั้งที่ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สงครามเย็น
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาตะวันออกกลาง
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความขัดแย้งของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความร่วมมือของมนุษยชาติ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ถึงปัจจุบัน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) (ชุดที่ 1)

HARD

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(Industrial Revolution)

          ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Age of Industrial Revolution) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19 มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์ในการผลิต มาเป็นการใช้เครื่องจักรกล ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

        การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ต่อเนื่องมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น 2 ครั้ง ดังนี้
        ครั้งที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1760 - 1860 ในประเทศอังกฤษ
        ครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1860 เป็นต้นมา มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

        การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางการค้าซึ่งเกิดจากการสำรวจดินแดน และการล่าอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การยกเลิกการค้าแบบผูกขาดทำให้เกิดการพัฒนาทางการค้า การปฏิรูปเกษตรกรรมทำให้มีการค้นคว้าประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีแรงงานในชนบทเข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

          

   การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก เนื่องจากปัจจัยความพร้อมของอังกฤษ ดังนี้

   1) การปฏิวัติเกษตรกรรม (Agriculture Revolution) อังกฤษเป็นประเทศแรกที่เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรม ด้วยการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ มาปรับปรุงการเกษตรกรรมให้ได้ผลดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การออกพระราชบัญญัติล้อมเขตที่ดิน (Enclosure Act), การใช้เครื่องจักรในการหว่านเมล็ด, การกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ดังนั้น การปฏิวัติเกษตรกรรมจึงทำให้อังกฤษมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และมีอาหารอย่างสมบูรณ์เพียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรทั้งประเทศซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะประชากรในเขตเมืองที่จะเป็นแรงงานสำคัญต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมของประเทศ

   นอกจากนี้การที่อังกฤษจัดตั้งธนาคารกลางของประเทศ คือ "ธนาคารแห่งอังกฤษ" (Bank of England) ขึ้นในปี ค.ศ. 1694 ทำให้กรุงลอนดอนไม่เพียงเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรปเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาการ การส่งเสริมและจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

   2) คุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษ นอกจากความมั่งคั่งที่ของประเทศแล้ว ลักษณะนิสัยของชาวอังกฤษก็ยังส่งผลให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี กล่าวคือ ชาวอังกฤษมีลักษณะนิสัยชอบกล้าได้กล้าเสีย กระตือรือร้นต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของศาสนาคริสต์นิกายอังกฤษ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิกายโปรแตสแตนท์ โดยชาวอังกฤษเชื่อว่า "ความมั่งคั่งทางโภคทรัพย์เป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิตที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศของตนเองและครอบครัว" ด้วยเหตุนี้ ชาวอังกฤษจึงไม่เคร่งครัดในเรื่องการแบ่งชนชั้นมากเท่ากับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป บุคคลที่สามารถสร้างตัวได้ แม้มาจากตระกูลที่ต่ำต้อยจะได้รับการยอมรับ ขณะเดียวกันบรรดาขุนนางก็ไม่รังเกียจที่จะลดตัวลงมาทำการค้า อุปนิสัยและทัศนคติเหล่านี้ จึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศอังกฤษมีความมั่งคั่งนั่นเอง

   3) การขยายตัวของตลาดการค้า ผลของการที่อังกฤษเลือกใช้นโยบายการค้าแบบเสรี ทำให้การค้าของอังกฤษขยายตัวมากกว่าประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐสภาของอังกฤษเองก็ยังสนับสนุนการค้าแบบเสรี ประการหนึ่ง เห็นได้จากการออกพระราชบัญญัติหลายฉบับในการสร้างถนน ขุดคูคลอง ท่าจอดเรือ เพื่อเอื้อต่อการค้าขายก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม 

   ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงเวลาแห่งการขยายอำนาจทางทะเลของอังกฤษ และอังกฤษสามารถยึดครองดินแดนโพ้นทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งวัตถุดิบทั้งในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา การครอบครองอาณานิคมเหล่านี้ทำให้อังกฤษสามารถขยายปริมาณสินค้าส่งออกและเพิ่มจำนวนตลาดการค้าในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จนการค้ากลายเป็นนโยบายหลักของรัฐที่ต้องให้การส่งเสริมและคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ ราชนาวีอังกฤษ จึงมิได้มีหน้าที่เพียงแค่ป้องกันประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องรักษาเส้นทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายยังที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย 

   ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้การวางรากฐานการอุตสาหกรรมในอังกฤษมีความมั่นคงมากกว่าที่อื่น ๆ และก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ชาวอังกฤษในการค้นคิดหาวิธีผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดได้มีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในที่สุด

       การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมเป็นอย่างมากจนนำไปสู่การปฏิวัติทางความคิด เกิดยุคสมัยแห่งการใช้เหตุผลและยุคแห่งการสว่างไสวทางปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมดังกล่าว ซึ่งมีผลต่อแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองของโลกในปัจจุบัน

     การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1


        การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เริ่มต้นจากการทอผ้าในอังกฤษ การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้เกิดนักประดิษฐ์จำนวนมาก และได้คิดค้นเครื่องจักรกลช่วยในการทอผ้า ดังนี้

จอห์น เคย์ (John Kay) ประดิษฐ์ที่กระตุกช่วยให้การทอผ้าเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า
เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายให้ชื่อว่า
“สปินนิงเจนนี” (Spinning Jenny) เป็นเครื่องปั่นด้ายมีแกน 8 อัน


ภาพที่ 1  เครื่องปั่นด้ายสปินนิ่ง เจนนี่
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Spinning_jenny#/media/File:Spinning_jenny.jpg
ริชาร์ด อาร์กไรต์ (Richard Arkwright) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายโดยใช้พลังน้ำมีชื่อว่า “วอเตอร์เฟรม” (Water Frame)


ภาพที่ 2  เครื่องปั่นด้ายวอเตอร์เฟรม
ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Water_frame#/media/File:Waterframe.jpg
จอร์จ สตีเฟนสัน (Gearge Stephenson) ประดิษฐ์หัวรถจักรไอน้ำ “ร็อกเก็ต” (Rocket) ทำให้มีการเปิดเส้นทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองริเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ
รอเบิร์ต ฟุลตัน (Robert Fulton) สามารถนำพลังงานไอน้ำมาใช้กับเรือได้สำเร็จ
แซมมวล คูนาร์ด (Semuel Cunard) สามารถเดินเรือกลไฟข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้
จมส์ วัตต์ (James Watt) สามารถนำพลังงานไอน้ำ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักมาใช้กับเครื่องกล และได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมาเขาได้ปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถใช้ในอุตสาหกรรมทอฟ้าได้สำเร็จ จากนั้นวิทยาการเกี่ยวกับการทอผ้าก็ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
       เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ใช้พลังงานไอน้ำเป็นหลักจึงเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า สมัยแห่งพลังงานไอน้ำ (Age of Steam)

     การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2


        เริ่มในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สหรัฐอเมริกา สืบเนื่องมาจากการนำวิธีการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับวงการอุตสาหกรรม เช่น กรรมวิธีการทำเหล็กให้กลายเป็นเหล็กกล้า และยังมีการนำพลังงานใหม่ ๆ มาใช้ เช่น ก๊าซธรรมชาติ, น้ำมัน, พลังงานไฟฟ้า 
        นับตั้งแต่ เซอร์เฮนรี เบสซิเมอร์ (Sir Henry Bessemer) ค้นพบวิธีแยกแร่อื่น ๆ ออกจากเหล็กโดยทำให้เหล็กมีคุณสมบัติดีขึ้นเป็นเหล็กกล้า
         หลังจากนั้นมาเหล็กกล้าได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมและการคมนาคมทุกประเภท
ทำให้มีการเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า ยุคเหล็กกล้า (Age of Steel) เช่น อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล (Alexander Gustave Eiffel) สร้างหอคอยไอเฟลด้วยเหล็กล้วน จนกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
       นอกจากนั้นยังมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการจัดระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมแบบใหม่เป็นการจัดแบ่งงานกัน แต่ละคนรับผิดชอบงานของตน ทำให้ผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก เรียกว่า การผลิตจำนวนมาก (Mass production)

ภาพที่ 3  สายงานการผลิตรถยนต์ฟอร์ด โมเดลที (Ford Model T) ซึ่งถือเป็นการผลิตในคราวละเป็นจำนวนมาก
ที่มา: 
https://en.wikipedia.org/wiki/Ford_Model_T#/media/File:Ford_assembly_line_-_1913.jpg


ผลกระทบของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่สำคัญ

        ด้านเศรษฐกิจ

  • ทำให้ทั้งผลผลิตและแรงงานภาคการเกษตรถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เศรษฐกิจในระบบเงินตราขยายตัว
  • ทำให้เกิดกลไกทางการตลาดตามแนวคิดของอดัม สมิท (Adam Smith) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบภาครัฐไม่เข้าไปก้าวก่ายกับระบบตลาด ยกเว้นเรื่องการเก็บภาษีเท่านั้น

        ด้านสังคม

  • เกิดชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ
  • การเพิ่มจำนวนประชากร
  • การอพยพของชาวชนบทเข้าสู่เมือง
  • เกิดการใช้แรงงานผู้หญิงและเด็ก ในอังกฤษมีวรรณกรรมหลายเรื่องที่สะท้อนสภาพชีวิตของแรงงานที่ถูกกดขี่ และเอารัดเอาโดยเปรียบนายจ้าง
          ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษทำให้ประเทศอื่นในยุโรปให้ความสนใจที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างจริงจังด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมไปถึงเบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และขยายตัวไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน
            ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการอพยพจากชนบทมาสู่เมือง เมืองอุตสาหกรรมต่างๆ กลายเป็นเมืองแออัดที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข เกิดปัญหาสังคมตามมามากมายพร้อมๆ กับความเจริญด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ที่สำคัญการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและการปกครอง ความคิดด้านเสรีนิยมขยายตัวมากขึ้น และเกิดการแตกแยกด้านความคิดเป็นกลุ่มลัทธิทุนนิยมกับลัทธิสังคมนิยมอย่างชัดเจน

        ด้านการเมือง

  • ชนชั้นกลางมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
  • ส่วนชนชั้นกรรมกรก็มีโอกาสเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพราะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
  • ชนชั้นกรรมกรได้รวมพลังกันเพื่อเรียกร้องความยุติกรรมและสิทธิที่พึงจะได้
        มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน (The Union) โดยเริ่มที่อังกฤษเป็นแห่งแรก ในระยะแรกสหภาพแรงงานเหล่านี้ได้รับการต่อต้านและขัดขวางจากรัฐบาล โดยระบุว่าเป็นเหมือนอาชญากร 
        แต่ในระยะต่อมาได้รับการรับรองจากรัฐบาล สหภาพแรงงานใช้วิธีการนัดหยุดเป็นอาวุธสำหรับการต่อรองกับนายจ้าง การเกิดสหภาพแรงงานทำให้ฐานะของกรรมกรได้รับการปรับปรุงดีขึ้น มีการขยายสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทำให้กรรมกรค่อย ๆ เข้ามามีบทบาททางการเมือง