จากความรู้เรื่องไฟฟ้าเคมีทั้งที่เป็นเซลล์กัลวานิกและเซลล์อิเล็กโทรไลด์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมได้
ยกตัวอย่างเช่น
เช่น
พอลิเมอร์ เรียกว่า พอลิเมอร์อิเล็กโทรไลด์ มีสมบัติยอมให้ไอออนผ่านได้ดี
ตัวอย่างแบตเตอรี่ ได้แก่
แบตเตอรี่ที่ใช้โลหะลิเทียม (Li) เป็นขั้วแอโนด (Anode) และไทเทเนียมไดซัลไฟต์ (TiS2) เป็นขั้วแคโทด (Cathode) โดยมีพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลด์เป็นอิเล็กโทรไลด์แข็ง
ดังรูป
โลหะลิเทียมให้อิเล็กตรอนแล้วกลายไปเป็น Li+ ผ่านอิเล็กโทรไลต์แข็งไปยังแคโทด (Cathode) ซึ่งมี TiS2 ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนเกิดเป็น TiS2- และมีอิเล็กโทรไลต์แข็งเป็นฉนวนต่ออิเล็กตรอน จึงทำให้เซลล์ไฟฟ้านี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เกิดการลัดวงจร
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
แอโนด (Anode) :
Li(s) Li+(ในอิเล็กโทรไลด์แข็ง) + e-
แคโทด (Cathode) :
TiS2(s) + e- TiS2-(s)
ปฏิกิริยารวม :
Li(s) + TiS2(s) Li+(ในอิเล็กโทรไลด์แข็ง) + TiS2-(s)
เซลล์ชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 3 โวลต์ และเป็นเซลล์ทุติยภูมิ ปัจจุบันมีการนำแบตเตอรี่ชนิดนี้ไปใช้กับรถยนต์ ซึ่งมี
ข้อดี คือ ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แต่ราคายังแพง เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว
เช่น
สังกะสี หรืออะลูมิเนียมเป็นตัวรีดิวซ์ (Reduce) และอาจใช้สารละลาย NaOH เข้มข้นเป็นอิเล็กโทรไลต์
สำหรับแบตเตอรี่อะลูมิเนียมอากาศ จะใช้โลหะอะลูมิเนียมเป็นแอโนด จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ได้ Al3+ แต่ในสารละลายมีความเข้มข้นของ OH- มาก จึงเกิดไอออนเชิงซ้อน [Al(OH)4]- ส่วนที่แคโทดซึ่งใช้แทนคาร์บอนเป็นขั้วไฟฟ้า แก๊สออกซิเจนและน้ำเกิดปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction) ได้ OH-
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เป็นดังนี้
แอโนด (Anode) :
4 {Al(s) + 4OH- [Al(OH)4]-(aq) + 3e-}
แคโทด (Cathode) :
3 {O2(g) +2H2O(l) + 4e- 4OH-(aq)}
ปฏิกิริยารวม :
4Al(s) + 3O2(g) + 6H2O(l) + 4OH-(aq) 4[Al(OH)4]-(aq)
ในขณะใช้งาน [Al(OH)4]- ที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนเป็น Al(OH)3 เคลือบโลหะอะลูมิเนียม
ดังนั้น หลังจากใช้งานในรถยนต๋ได้ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร จึงต้องมีการกำจัด Al(OH)3 เพราะ Al(OH)3 เป็นฉนวนไฟฟ้า
ดังรูป
เมื่อน้ำทะเลเข้าไปทางช่อง A B และ C ไอออนบวกในน้ำทะเล เช่น Na+ Mg2+ ที่ผ่านเข้าทางช่อง B จะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนบวกไปยังขั้วลบที่อยู่ทางช่อง A ส่วนไอออนลบ เช่น Cl- SO42- จะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนลบไปยังขั้วบวกที่อยู่ทางช่อง C ดังนั้นน้ำที่ไหลออกทางช่อง B จึงมีไอออนน้อยลง และถ้าไม่มี Na+ น้ำที่ผ่านออกทางช่อง B จึงเป็นน้ำจืด
จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า หลักการทางไฟฟ้าเคมี จะช่วยให้เราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในชีวิตประชีวิตวันได้ และยังช่วยอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น