นักวิทยาศาสตร์ ได้กำหนดให้ ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐานมีศักย์ไฟฟ้าศูนย์โวลต์ และใช้เป็นครึ่งเซลล์มาตรฐานสากล ในการเปรียบเทียบและกำหนดค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์อื่น ๆ
ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน ประกอบด้วย แผ่นแพลทินัมที่ฉาบไว้ด้วยแพลทินัมจุ่มอยู่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1 mol/l และมีก๊าซไฮโดรเจน ณ อุณหภูมิ 25 °C ความดัน 1 บรรยากาศ ผ่านไปบนผิวของแพลทินัมตลอดเวลา รูพรุนของแพลทินัมฉาบบนขั้วแพลทินัม ทำให้สามารถดูดซับก๊าซไฮโดรเจนได้ ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน
เมื่อต้องการทราบศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์ใดๆ ทำได้ โดยนำครึ่งเซลล์นั้นมาต่อกับครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ที่วัดได้จะเป็นศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์นั้น ซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์ ใช้สัญลักษณ์เป็น E°
ภาวะมาตรฐานของครึ่งเซลล์ กำหนดจาก ครึ่งเซลล์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าจุ่มอยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้น 1 mol/dm3 ณ อุณหภูมิ 25 °C ถ้ามีก๊าซเป็นส่วนประกอบของครึ่งเซลล์ กำหนดให้มีความดัน 1 บรรยากาศ
เนื่องจาก อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่า ดังนั้น ครึ่งเซลล์ที่รับอิเล็กตรอนจึงมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าครึ่งเซลล์ที่ให้อิเล็กตรอน
2. ใช้คำนวณค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์และครึ่งเซลล์
การนำ 2 ครึ่งเซลล์มาต่อเป็นเซลล์กัลวานิกนั้น ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ตอนเริ่มต้นจะมีค่ามาก เมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของไอออนในสารละลายของครึ่งเซลล์รีดักชันลดลงและศักย์ไฟฟ้าก็ลดลง ในขณะที่ความเข้มข้นของไอออนในสารละลายของครึ่งเซลล์ออกซิเดชันเพิ่มขึ้นและมีศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแสดงว่าความเข้มข้นของไอออนในสารละลายมีผลต่อศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์จึงสามารถสร้างเซลล์กัลวานิกจากครึ่งเซลล์ชนิดเดียวกันแต่ความเข้มข้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์แตกต่างกันได้เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้ เรียกว่า เซลล์ความเข้มข้น
ในปี ค.ศ.1889 เนินสท์ (Walther Hermann Nernst) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักย์ไฟฟ้ากับ activity ของไอออนในภาวะสมดุลกับขั้วไฟฟ้า เรียกว่า สมการเนินสท์(Nernst equation) เนินสท์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีค.ศ.1920
ที่อุณหภูมิ25°C (298 K) สมการ (4.3) เขียนได้ดังนี้