รีดอกซ์-เซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของปฏิกิริยารีดอกซ์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์หรือตัวออกซิไดส์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การดุลสมการรีดอกซ์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
เซลล์เคมีไฟฟ้า
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่าศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของเซลล์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
เซลล์ปฐมภูมิและเซลล์ทุติยภูมิ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เคมีไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การดุลสมการรีดอกซ์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การดุลสมการรีดอกซ์

MEDIUM

การดุลสมการรีดอกซ์

HARD

การดุลสมการรีดอกซ์

เนื้อหา

วิธีการดุลสมการรีดอกซ์

มี 2 วิธี คือ

  1. วิธีไอออน – อิเล็กตรอน
  2. วิธีเลขออกซิเดชัน

โดยจะแยกย่อยออกเป็นใน สารละลายกรด สารละลายเบส และสารละลายที่เป็นกลาง โดยเมื่อเป็นสารละลายกรดให้ดุลสมการ โดยการเติม H+ และเมื่อเป็นสารละลายเบสให้ดุลสมการ โดยการเติม OH-

ในปฏิกิริยา ดังนี้

1. วิธีไอออน – อิเล็กตรอน (จะแสดงเฉพาะในสารละลายกรด)

เริ่มจากการวิเคราะห์ปฏิกิริยา เพื่อระบุว่าองค์ประกอบใดเป็นตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดซ์ โดยพิจารณาค่าเลขออกซิเดชันที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์ประกอบนั้นๆในปฏิกิริยา

BiO3- + Mn2+ + H+ rightwards arrow MnO4+ Bi3+ + HO

จากปฏิกิริยา พบว่า Bi มีเลขออกซิเดชันเปลี่ยนไปจาก +5 ลดลงเหลือ +3

ดังนั้น เกิดปฏิกิริยารีดักชัน โดย BiO3- เป็นตัวถูกรีดิวซ์ หรือตัวออกซิไดซ์ของปฏิกิริยา

เมื่อพิจารณา Mn พบว่า มีเลขออกซิเดชันเปลี่ยนไปจาก +2 เพิ่มขึ้นเป็น +7

ดังนั้น เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดย Mn2+ เป็นตัวถูกออกซิไดซ์ หรือตัวรีดิวซ์ของปฏิกิริยา

แยกปฏิกิริยารีดอกซ์ออกเป็นครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันและครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน และดุลจำนวนประจุโดยการเติมอิเล็คตรอน (e-)

ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : Mn2+ à MnO4- + 5e- 

(Mn ใน MnO4- มีเลขออกซิเดชัน +7 จึงต้องเติม 5e- เพื่อให้มีเลขออกซิเดชันเป็น +2 เท่ากับประจุของ Mn2+)

ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน : BiO3- + 2e- rightwards arrow Bi3+

(Bi ใน BiO3- มีเลขออกซิเดชัน +5 จึงต้องเติม 2e- เพื่อให้มีเลขออกซิเดชันเป็น +3 เท่ากับประจุของ Bi3+)

ดุลอะตอมของ O โดยเติม H2O และดุล H โดยการเติม H+ (ถ้ากรณีเบส จะดุลโดยการเติม H2O และOH-)

ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : Mn2+ + 4H2rightwards arrow MnO4- + 5e- + 8H+

ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน : BiO3- + 2e- + 6H rightwards arrow Bi3+ + 3H2O

ทำจำนวนอิเล็กตรอนของทั้งสองครึ่งปฏิกิริยาให้เท่ากัน โดยการ x2 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน และ x5 ปฏิกิริยารีดักชัน จะได้ปฏิกิริยา

ดังแสดง

ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : 2Mn2+ + 8H2rightwards arrow 2MnO4- + 10e- + 16H+

ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน : 5BiO3- + 10e- + 30H rightwards arrow 5Bi3+ + 15H2O

รวมสองครึ่งปฏิกิริยา จะได้ปฏิกิริยาที่ผ่านการดุลสมการแล้ว

ดังนี้

5BiO3- + 2Mn2+ + 14H+ rightwards arrow 2MnO4- + 5Bi3+ + 7H2O

2. วิธีเลขออกซิเดชัน (จะแสดงเฉพาะในสารละลายเบส)

วิเคราะห์ปฏิกิริยา และคำนวณหาเลขออกซิเดชันที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าองค์ประกอบหรือธาตุใดมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นจะทำหน้าเป็นตัวรีดิวซ์ และถ้าเลขออกซิเดชันลดลงจะทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์

Zn + MnO4- rightwards arrow Zn2+ + MnO2

จากปฏิกิริยาข้างต้น พบว่า Zn มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น จาก 0 เป็น +2 และ Mn ใน MnO4- มีเลขออกซิเดชันลดลงจาก +7 เป็น +4 ใน MnO2

ดังนั้น Zn ทำหน้าที่เป็นตัวรีดิวซ์ และ Mn ใน MnO4- ทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์ของปฏิกิริยา

ทำเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้น และลดลงให้เท่ากัน โดยเขียนเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นไว้ข้างหน้าตัวออกซิไดซ์ และเลขออกซิเดชันที่ลดลงไว้หน้าตัวรีดิวซ์

ดังนี้

3Zn + 2MnO4-  rightwards arrow  Zn2+ + MnO2

จากนั้น ทำการดุลสมการ โดยดุลเฉพาะตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน ซึ่งในกรณีนี้ คือ Zn และ Mn เพื่อให้ Zn มี 3 อะตอม และ Zn2+ มี 3 อะตอม

เช่นเดียวกัน

3Zn + 2MnO4-  rightwards arrow  3Zn2+ + 2MnO2

จากนั้น พิจารณาประจุขององค์ประกอบหรือธาตุทั้งหมด และดุลประจุรวมทางซ้ายและทางขวาของปฏิกิริยาให้เท่ากัน โดยเติม H2O และ OH- จะได้ปฏิกิริยาที่ดุลแล้ว (ถ้ากรณีกรด จะดุลโดยการเติม H2O และ H+)

3Zn + 2MnO4- + 4H2O   rightwards arrow  3Zn2+ + 2MnO2 + 8OH-

3. สำหรับกรณีที่สารละลายเป็นกลาง

ซึ่งจะไม่มี H+ และ OH- อยู่ในปฏิกิริยา ให้ทำการดุลปฏิกิริยา

ดังนี้

  • หาครึ่งปฏิกิริยาทั้ง 2 ก่อน
  • ในแต่ละครึ่งปฏิกิริยาทำอะตอมของธาตุด้านซ้ายให้เท่ากันด้านขวา
  • ดุลประจุของแต่ละครึ่งปฏิกิริยาให้เท่ากันด้วยการเติมอิเล็คตรอน
  • ทำอิเล็คตรอนทั้ง 2 ครึ่งปฏิกิริยาให้เท่ากัน แล้วนำสมการทั้งสองมาบวกกัน จะได้สมการรีดอกซ์