สมดุลเคมี
ปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลและค่าคงที่สมดุลของระบบโดยใช้หลักของเลอชาเตอลิเอ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

MEDIUM

สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

HARD

สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

เนื้อหา

สมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม

สมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

การดำรงชีวิตของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะของสมดุลไดนามิก

ตัวอย่างเช่น

กระบวนการหายใจและแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนในระบบหมุนเวียนเลือด ในภาวะปกติขณะที่พักผ่อน ผู้ชายจะใช้ออกซิเจนประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อนาที และมีความต้องการมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมที่ออกแรงหรือออกกำลังกายที่ต้องใช้พลังงาน ในระบบหมุนเวียนเลือด แก๊สออกซิเจน (O subscript bold 2) จะรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Hb) ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นสารประกอบ ออกซีฮีโมโกลบิน (HbO subscript bold 2)

Hb   +  O subscript 2 (g) rightwards harpoon over leftwards harpoon HbO subscript 2
สมการที่ 1

ขณะที่หายใจเข้า straight O subscript 2 จะผ่านหลอดลมและเข้าสู่ถุงลมปอด ความดันของ O subscript 2 ในถุงลมปอดจะมากกว่าความดันในเส้นเลือดฝอย ส่งผลให้ O subscript 2 จากถุงลมปอดแพร่จากปอดสู่เส้นเลือดฝอย และรวมตัวกับ Hb

เมื่อร่างกายต้องการพลังงานจะทำการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส (C subscript 6 H subscript 12 O subscript 6) ดังสมการ

C subscript 6 H subscript 12 O subscript 6 + 6O subscript 2 (g) rightwards arrow 6CO subscript 2 (g) + 6straight H subscript 2O + พลังงาน
สมการที่ 2

การเผาผลาญกลูโคสนี้ต้องการ  straight O subscript 2 ในปฏิกิริยา ดังนั้นจึงเกิดสมดุลย้อนกลับของสมการที่ 1 เพื่อปล่อย  straight O subscript 2 มาใช้เป็นสารตั้งต้นในสมการที่ 2 กระบวนการในสมการที่ 1 นี้ จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับเท่ากัน

หลังจากนั้นร่างกายจำกัด C O subscript 2 ออกจากเลือด ตามสมดุลนี้ 

C O subscript 2(g) ในปอด rightwards harpoon over leftwards harpoon C O subscript 2 (aq) ในเลือด


สมดุลเคมีที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

ปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกัสมดุลเคมี

ตัวอย่างเช่น

วัฏจักรคาร์บอน อะตอมของคาร์บอนมีบทบาทสำคัญในธรรมชาติ ทั้งในสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สารประกอบคาร์บอนจะมีการหมุนเวียนกลับสู่บรรยากาศและแหล่งน้ำได้โดยกระบวนการหายใจ (ดังแสดงในสมการที่ 1 และ 2) การเผาไหม้และการเน่าเปื่อย เมื่อ CO subscript 2 ถูกปล่อยออกมาในบรรยากาศ บางส่วนจะคงอยู่ในบรรยากาศ บางส่วนจะคงอยู่ในแหล่งน้ำ มหาสมุทรหรือละลายในน้ำฝนแล้วซึมลงดิน ปริมาณแก๊ส C O subscript 2 ในบรรยากาศกับในแหล่งน้ำบนพื้นโลกจะอยู่ในภาวะสมดุลกัน

ดังนั้น การเพิ่มปริมาณ C O subscript 2 ในบรรยากาศจะมีผลให้เกิดการละลายของ C O subscript bold 2 ลงในแหล่งน้ำมากขึ้น เพื่อลดผลของการรบกวนสมดุลตามหลักเลอชาเตอลิเอ ซึ่งในที่สุดระบบจะปรับเข้าสู่สมดุลใหม่ การละลายน้ำของแก๊ส C O subscript bold 2 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำในธรรมชาติมีสภาพเป็นกรด

ซึ่งปัจจุบัน C O subscript bold 2 ในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะว่า มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนมากในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม การขับเคลื่อนยานพาหนะที่ใช้สัญจร รวมทั้งการทำลายป่ามีผลทำให้ฝนตกลงมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น


สมดุลเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในอุตสาหกรรม

ในอุตสาหกรรม ผู้ผลิตจะเลือกกรรมวิธีการผลิตที่สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์มากที่สุด โดยเสียเวลาน้อยและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด จึงนำหลักเลอชาเตอลิเอ มาใช้กันอย่างแพร่หลาย

ยกตัวอย่างเช่น

อุตสาหกรรมการผลิตแก๊สฟอสจีน (COCl subscript 2) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนต ซึ่งมีสมบัติแข็งและใส่ ทนความร้อนได้ดี นิยมนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวดนมเด็ก ฝาครอบโคมไฟ นอกจากนี้ยังใช้แก๊สฟอสจีนในการผลิตสารกำจัดแมลง สีย้อม และยา

การเตรียมแก๊สฟอสจีนเริ่มต้นจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊สคลอรีนกับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซค์

CO (g) + Cl subscript 2 (g) + พลังงาน  rightwards harpoon over leftwards harpoon  COCl subscript 2 (g)

ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน โดยทั่วไปจะให้แก๊สทั้งสองชนิดนี้ทำปฏิกิริยากันที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส และที่ความดันสูง เพื่อให้สมดุลดำเนินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องจะได้ปริมาณผลิตภัณฑ์ COCl subscript 2 มากกว่าทำที่อุณหภูมิและความดันต่ำ โดยมีผงถ่านเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่ออัตราการปฏิกิริยาเร็วขึ้น ทำให้การผลิตเสร็จอย่างรวดเร็ว เสียเวลาน้อย