มีวิธีการดังนี้
บางโจทย์ไม่ให้สมการเคมีมาอาจจะต้องเริ่มต้นจากการเขียนสมการเคมีและดุลสมการเคมีให้ถูกต้อง
ตัวอย่างเช่น
แสดงว่าในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงโมล หากสาร A 1 โมล ทำปฏิกิริยากับสาร B 1 โมล จะได้สาร C จำนวน 2 โมล หากสมการดุลผิด จะทำให้แก้ปัญหาโจทย์ผิดตั้งแต่ต้น
ตัวอย่างเช่น
ที่ภาวะสมดุล ในภาชนะขนาด 2 ลิตร มี A 2 โมล B 2 โมล และ C 8 โมล จงคำนวณค่าคงที่สมดุล
โจทย์ลักษณะนี้ ต้องเปลี่ยนหน่วย เป็น โมลต่อลิตรก่อน โดยนำโมลหารด้วยปริมาตรในหน่วยลิตร
จะได้
ความเข้มข้น A เท่ากับ 2/2 = 1 โมลาร์
ความเข้มข้น B เท่ากับ 2/2 = 1 โมลาร์
ความเข้มข้น C เท่ากับ 8/2 = 4 โมลาร์
ตัวอย่างเช่น
เริ่มต้นเติมสาร A และ B ในภาชนะขนาด 2 ลิตร ที่ A 4 โมล และ B 4 โมล จงหาความเข้มข้นของสาร A ณ ภาวะสมดุล
จากตัวอย่างนี้ สังเกตได้ว่า ให้คำนวณหาความเข้มข้น ณ ภาวะสมดุล ต้องตั้ง 3 บรรทัด ดังตาราง แล้วใส่จำนวนความเข้มข้นไว้ในบรรทัด ภาวะเริ่มต้น เนื่องจากโจทย์กำหนดความเข้มข้นที่ภาวะเริ่มต้นมาให้
ภาวะ | [A] | [B] | 2[C] |
ภาวะเริ่มต้น | 4/2 = 2 | 4/2 = 2 | 0 |
เปลี่ยนแปลง | -X | -X | +2X |
สมดุล | 2-X | 2-X | 0+2X |
บรรทัดต่อมา คือ เปลี่ยนแปลง การใส่ตัวเลขในบรรทัดนี้จะตามสัมประสิทธิ์หน้าสารแต่ละชนิดในสมการเคมี
เช่น
A B 2C หมายความว่าหากใช้สาร A ไป 1 โมลาร์ ทำปฏิกิริยากับสาร B ไป 1 โมลาร์ จะเกิดสาร C 2 โมลาร์
ดังนั้น หากสมมุติว่าใช้สาร A ไป X โมลาร์ ก็จะทำปฏิกิยาพอดีกับ B จำนวน X โมลาร์ และเกิด C จำนวน 2X โมลาร์ ในบรรทัดภาวะที่เปลี่ยนแปลง
บรรทัดเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใส่เครื่องหมายด้วย หากดำเนินไปข้างหน้า สารตั้งต้นจะลดลง ให้ใส่เครื่องหมายลบ สารผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นให้ใส่เครื่องหมายบวก หากดำเนินแบบย้อยกลับก็เครื่องหมายตรงกันข้าม จากนี้
ตัวอย่างเช่น
ถอดรากที่ 2 ทั้งสองฝั่ง จะได้ 2X / 2-X = 4
ดังนั้น X = 1.33
จะได้ความเข้มข้นของสาร A ที่ภาวะสมดุล เท่ากับ 2-X = 2-1.33 = 0.67 โมลาร์
และทำให้ทราบความเข้มข้นของสาร B ที่ภาวะสมดุล เท่ากับ 2-X = 2-1.33 = 0.67 โมลาร์
ความเข้มข้นของสาร C ที่ภาวะสมดุล เท่ากับ 2X = 2*1.33 = 2.66 โมลาร์