ยกตัวอย่างที่ 1
จากสมการเคมี
หมายความว่า H2 1 โมล ทำปฏิกิริยากับ I2 1 โมล ได้ HI 2 โมล
จะได้ค่าคงที่สมดุล (K) เท่ากับ [HI]2 / [H2][I2]
ยกตัวอย่างที่ 2
จากสมการเคมี
หมายความว่า NO 2 โมล ทำปฏิกิริยากับ O2 1 โมล ได้ NO2 2 โมล
จะได้ค่าคงที่สมดุล (K) เท่ากับ [NO2]2 / [NO]2 [O2]
ยกตัวอย่างที่ 3
จากสมการเคมี
สามารถเขียนค่าคงที่สมดุลได้ ดังนี้ [Fe3+] / [Ag+] [Fe2+] เนื่องจากมี Ag เป็นของแข็งบริสุทธิ์
ยกตัวอย่างที่ 4
จากสมการเคมี
สามารถเขียนค่าคงที่สมดุลได้ ดังนี้ [ [Cu(H2O)4]2+ ] [ Cl- ]4 / [ [CuCl4]2- ] เนื่องจากมีน้ำสถานะของเหลว
นอกจากนี้ถ้าปฏิกิริยาเคมีมีความสัมพันธ์กัน ค่าคงที่สมดุลก็มีความสัมพันธ์ ดังนี้
ยกตัวอย่างที่ 5
จากสมการเคมี
จากสมการเคมี
จากสมการเคมี
จะเห็นว่า K2 = 1/K1 เนื่องจากสมการที่ 2 คือส่วนกลับของสมการที่ 1
และ K3 = K21/2 เนื่องจากสมการที่ 3 เกิดจากการคูณสัมประสิทธิ์ ½ เข้าไปในสมการที่ 2
ค่าคงที่สมดุล บอกให้ทราบได้ว่า ณ ภาวะสมดุลมีผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้นอยู่ในระบบมากน้อยเพียงใด แต่ไม่ได้บอกว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้า และการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในปฏิกิริยาเคมีใดๆ ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล แต่การเปลี่ยนอุณหภูมิมีผลต่อค่าคงที่สมดุล ดังนั้น ค่าคงที่สมดุลใดๆ ต้องรายงานว่า ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ
และค่าคงที่ใดๆ ที่ยังไม่ถึงภาวะสมดุล (Q) สามารถทำนายทิศทางของการดำเนินไปของปฏิกิริยาได้ดังนี้
ปฏิกิริยาใดๆ มีค่าคงที่สมดุล (K) มากกว่า 1 แสดงว่า ณ ภาวะสมดุลเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ามากกว่าปฏิกิริยาย้อนกลับ จึงมีผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมาก ทางตรงกันข้าม ปฏิกิริยาใดๆ มีค่าคงที่สมดุล (K) น้อยกว่า 1 แสดงว่า ณ ภาวะสมดุลเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมากกว่าปฏิกิริยาไปข้างหน้า จึงมีสารตั้งต้นเกิดขึ้นมาก และผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นน้อย