สมดุลเคมี
ปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลและค่าคงที่สมดุลของระบบโดยใช้หลักของเลอชาเตอลิเอ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมดุลเคมีในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล

MEDIUM

คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล

HARD

คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาและคำนวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล

เนื้อหา

ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาใดๆ สามารถเขียนได้จาก อัตราส่วนของความเข้มข้นผลิตภัณฑ์ยกกำลังด้วยจำนวนโมลในสมการเคมีกับความเข้มข้นสารตั้งต้นยกกำลังด้วยจำนวนโมลในสมการเคมี

ยกตัวอย่างที่ 1      

จากสมการเคมี 

H2 (g) + I2 (g)  rightwards harpoon over leftwards harpoon   2HI

หมายความว่า H2 1 โมล ทำปฏิกิริยากับ I2 1 โมล ได้ HI 2 โมล

จะได้ค่าคงที่สมดุล (K) เท่ากับ  [HI]2 / [H2][I2]

ยกตัวอย่างที่ 2            

จากสมการเคมี  

2NO (g) + O2 (g) rightwards harpoon over leftwards harpoon 2NO2 (g)

หมายความว่า NO 2 โมล ทำปฏิกิริยากับ O2 1 โมล ได้ NO2 2 โมล

จะได้ค่าคงที่สมดุล (K) เท่ากับ  [NO2]2 / [NO]2 [O2]

***แต่มีข้อสังเกต คือ สมการเคมีที่มีน้ำสถานะของเหลว ของแข็งบริสุทธิ์ ของเหลวบริสุทธิ์ เกี่ยวข้องในสมการ จะไม่นำไปรวมในค่าคงที่สมดุลเนื่องจาก ถือว่ามีความเข้มข้นสูงจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารเหล่านี้เมื่อทำปฏิกิริยาตั้งแต่ต้นจนถึงภาวะสมดุล***

ยกตัวอย่างที่ 3

จากสมการเคมี   

Ag+ (aq)  +  Fe2+ (aq)   rightwards harpoon over leftwards harpoon    Fe3+ (aq)  +  Ag (s)

สามารถเขียนค่าคงที่สมดุลได้ ดังนี้  [Fe3+] / [Ag+] [Fe2+]   เนื่องจากมี Ag เป็นของแข็งบริสุทธิ์

ยกตัวอย่างที่ 4

จากสมการเคมี   

[CuCl4]2- (aq)  +  4H2O (l)   rightwards harpoon over leftwards harpoon    [Cu(H2O)4]2+  (aq)  +  4Cl-  (aq)

สามารถเขียนค่าคงที่สมดุลได้ ดังนี้   [ [Cu(H2O)4]2+ ] [ Cl- ]/  [ [CuCl4]2- ] เนื่องจากมีน้ำสถานะของเหลว

นอกจากนี้ถ้าปฏิกิริยาเคมีมีความสัมพันธ์กัน ค่าคงที่สมดุลก็มีความสัมพันธ์ ดังนี้

  • หากสมการเคมีใดๆ มีค่าคงที่สมดุล คือ K แต่มีการกลับสมการเคมี ค่าคงที่สมดุลจะคือ 1/K
  • หากสมการเคมีใดๆ ตั้งแต่ 2 สมการนำมารวมกัน ค่าคงที่สมดุลจะนำมาคูณกัน
  • กสมการเคมีใดๆ ตั้งแต่ 2 สมการนำตัวเลขเข้าไปคูณที่สัมประสิทธิ์โมลด้านหน้า ค่าคงที่สมดุลจะยกำลังด้วยตัวเลขสัมประสิทธิ์นั้นๆ

ยกตัวอย่างที่ 5

จากสมการเคมี  

H2 (g) + I2 (g)  rightwards harpoon over leftwards harpoon   2HI 
ค่าคงที่สมดุล K1 = [HI]2 / [H2][I2]      สมการที่ 1

จากสมการเคมี

2HI   rightwards harpoon over leftwards harpoon  H2 (g) + I2 (g)  
ค่าคงที่สมดุล K2 = [H2][I2] / [HI]2        สมการที่ 2

จากสมการเคมี

HI rightwards harpoon over leftwards harpoon ½ H2 (g) + ½ I2 (g)
ค่าคงที่สมดุล K3 = [H2]1/2 [I2]1/2 / [HI]   สมการที่ 3

จะเห็นว่า K2 = 1/K1 เนื่องจากสมการที่ 2 คือส่วนกลับของสมการที่ 1

และ K3 = K21/2 เนื่องจากสมการที่ 3 เกิดจากการคูณสัมประสิทธิ์ ½ เข้าไปในสมการที่ 2

ค่าคงที่สมดุล บอกให้ทราบได้ว่า ณ ภาวะสมดุลมีผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้นอยู่ในระบบมากน้อยเพียงใด แต่ไม่ได้บอกว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้า และการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในปฏิกิริยาเคมีใดๆ ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล แต่การเปลี่ยนอุณหภูมิมีผลต่อค่าคงที่สมดุล ดังนั้น ค่าคงที่สมดุลใดๆ ต้องรายงานว่า ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ

และค่าคงที่ใดๆ ที่ยังไม่ถึงภาวะสมดุล (Q) สามารถทำนายทิศทางของการดำเนินไปของปฏิกิริยาได้ดังนี้

  1. ปฏิกิริยาใดๆ ที่มีค่าคงที่ ณ ภาวะใดๆ (Q) น้อยกว่า ค่าคงที่สมดุล (K) จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดแบบไปข้างหน้า เพื่อให้ปฏิกิริยานั้นดำเนินไปสู่ ภาวะสมดุล
  2. ปฏิกิริยาใดๆ ที่มีค่าคงที่ ณ ภาวะใดๆ (Q) มากกว่า ค่าคงที่สมดุล (K) จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดแบบย้อนกลับ เพื่อให้ปฏิกิริยานั้นดำเนินไปสู่ ภาวะสมดุล

ปฏิกิริยาใดๆ มีค่าคงที่สมดุล (K) มากกว่า 1 แสดงว่า ณ ภาวะสมดุลเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ามากกว่าปฏิกิริยาย้อนกลับ จึงมีผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมาก ทางตรงกันข้าม ปฏิกิริยาใดๆ มีค่าคงที่สมดุล (K) น้อยกว่า 1 แสดงว่า ณ ภาวะสมดุลเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมากกว่าปฏิกิริยาไปข้างหน้า จึงมีสารตั้งต้นเกิดขึ้นมาก และผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นน้อย