- ปฏิกิริยาเคมี ที่ดำเนินไปทิศทางเดียว คือ เมื่อดำเนินไปข้างหน้า จากสารตั้งต้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ และไม่สามารถเกิดย้อนกลับไปเป็นสารตั้งต้นดังเดิมได้ เรียกว่า ปฏิกิริยาผันกลับไม่ได้
ตัวอย่างเช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง การเกิดสนิมเหล็ก การแช่ลวดโลหะลงในกรด - ปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้า คือ ปฏิกิริยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสารตั้งต้นไปเป็นผลิตภัณฑ์
- ปฏิกิริยาย้อนกลับ คือ ปฏิกิริยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากผลิตภัณฑ์ไปเป็นสารตั้งต้น
- ปฏิกิริยาผันกลับได้ คือ ปฏิกิริยาที่สามารถดำเนินไปข้างหน้าและย้อนกลับได้
- ระบบปิด คือ ระบบที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนมวลของสารกับสิ่งแวดล้อม มีเพียงแลกเปลี่ยนพลังงานกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การระเหิดของไอโอดีนในหลอดทดลองปิดฝา จะเห็นว่าไม่มีการแพร่ของแก๊สไอโอดีนไปยังสิ่งแวดล้อมได้ มีเพียงการถ่ายเทพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม
- ระบบเปิด คือ ระบบที่มีการแลกเปลี่ยนมวลของสารและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การต้มน้ำเดือดแบบไม่ปิดฝา ทำให้มวลของน้ำในสถานะแก๊สถ่ายโอนไปยังสิ่งแวดล้อมได้นั้นเอง
- ภาวะสมดุล คือ อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและย้อนกลับเท่ากัน ทำให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์คงที่ หากสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์มีสถานะเป็นแก๊ส จะต้องทำในระบบปิด
- สมดุลเคมีแบบสมดุลไดนามิก (Dymamic Equilibrium) เป็นขบวนการที่ระบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าและย้อนกลับเกิดขึ้นในอัตราเร็วที่เท่ากัน แต่ระบบสมดุลไดนามิกนี้สามารถถูกรบกวนได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของสาร อุณหภูมิ และความดัน
- สมดุลเคมี มี 3 ประเภทหลักๆ คือ
- สมดุลของการละลาย เช่น การละลายของน้ำตาล (C12H22O11) ในน้ำจนอิ่มตัว และเกิดน้ำตาลตกผลึกลงมาบางส่วน สมดุลแบบนี้เกิดขึ้นได้ในระบบเปิด

- สมดุลระหว่างสถานะ เช่น ปรอทสถานะของเหลวและไอปรอทสถานะของแก๊สในเทอร์มอมิเตอร์ ณ อุณหภูมิคงที่ สมดุลที่มีสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สเกิดขึ้นได้ในระบบปิดเท่านั้น

- สมดุลของปฏิกิริยาเคมี เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบส เรียกว่า สมดุลกรดเบส ปฏิกิริยาการตกตะกอน เรียกว่า สมดุลตกตะกอน

เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แสดงตัวอย่าง ปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล รวมทั้งการทดสอบทางเคมี ดังนี้

หากปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้า Fe2+ และ I2 ในสารละลายจะเพิ่มขึ้น
หากปฏิกิริยาดำเนินแบบย้อนกลับ ปริมาณ Fe3+ และ I- ในสารละลายจะเพิ่มขึ้น
จึงสามารถทดสอบได้ว่าปฏิกิริยาข้างต้นย้อนกลับได้หรือไม่ โดยทำการผสม Fe3+ และ I- ในสัดส่วนที่มี I- มากเกินพอ นั้นหมายความว่า จะใช้ Fe3+ จนหมดจากปฏิกิริยาไปข้างหน้า จึงทำการทดสอบ ว่ามี Fe3+ ในสารละลายหลังทำปฏิกิริยาหรือไม่ Fe3+ ในสารละลาย สามารถทดสอบด้วย SCN- จะให้สารละลายสีแดงเลือดนกหากมี Fe3+ ในสารละลาย
ผลการทดลองพบว่า มีสารละลายสีแดงเลือดนกเกิดขึ้น
สรุปผลได้ว่า ปฏิกิริยานี้ย้อนกลับได้ ทำให้เกิด Fe3+ ในสารละลาย
แต่ต้องทำการทดสอบต่อไปว่า มีปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้าตลอดเวลาด้วยหรือไม่ เพื่อศึกษาว่าเกิดภาวะสมดุลหรือไม่ จึงทำการทดสอบ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น จากปฏิกิริยาไปข้างหน้านั้นก็ คือ ทดสอบหา Fe2+ และ I2
Fe2+ ในสารละลาย สามารถทดสอบด้วย [Fe(CN)6]3- ให้ตะกอนสีน้ำเงิน
I2 ในสารละลาย สามารถทดสอบด้วยน้ำแป้ง จะให้สารละลายสีน้ำเงิน
ผลการทดลองพบว่า มีตะกอนสีน้ำเงินเมื่อทดสอบด้วย [Fe(CN)6]3- และสารละลายสีน้ำเงิน เมื่อทดสอบด้วยน้ำแป้ง
สรุปผลได้ว่า ปฏิกิริยานี้ดำเนินไปข้างหน้าตลอดเวลาเช่นเดียวกับปฏิกิริยาย้อนกลับ
จึงสามารถเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะสมดุล
และเมื่อปฏิกิริยานี้เข้าสู่ภาวะสมดุลแล้ว ทำการเติมสารใดลงไปเพิ่ม ถือเป็นการบกวรสมดุลไดนามิด ในปัจจัยเรื่องความเข้มข้น แต่สมดุลจะปรับเพื่อให้เข้าสมดุลอีกครั้ง
ตัวอย่างเช่น
เติม I- ลงไปเพิ่ม ปฏิกิริยาจะดำเนินไปข้างหน้า ได้ Fe2+ และ I2 ในสารละลายเพิ่มขึ้น
เติม Fe2+ ลงไปเพิ่ม ปฏิกิริยาจะย้อนกลับ ได้ Fe3+ และ I- ในสารละลายจะเพิ่มขึ้น
หลังจากนั้นสมดุลจะปรับอีกครั้งเพื่อให้อัตราเร็วปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับย้อนกลับ จนเกิดภาวะสมดุลอีกครั้ง