การแบ่งเซลล์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การแบ่งเซลล์ (ชุดที่ 1)

HARD

การแบ่งเซลล์ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

การแบ่งเซลล์ (cell division)

วัฏจักรเซลล์: วงนอก: I = Interphase, M = Mitosis; วงใน: M = Mitosis, G1 = Gap 1, G2 = Gap 2, S = Synthesis; นอกวง: G0 = Gap 0/Resting


วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle)

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเป็นกระบวนการที่เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่จำเพาะ และมีการเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น โดยเซลล์บางชนิดมีหน้าที่เพิ่มจำนวนเพื่อผลิตเซลล์อื่นๆ เช่นสเตมเซลล์ เซลล์เยื่อบุต่างๆ และเซลล์ในไขกระดูก เซลล์เหล่านี้จะเข้าสู่วัฏจักรของเซลล์ซึ่งได้แก่ระยะ G1 S G2 และ M ส่วนเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่จำเพาะจะไม่เข้าสู่วัฏจักรของเซลล์ แต่จะเข้าสู่ระยะ G0 และไม่มีการแบ่งเซลล์



ขั้นตอนการแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์ = Interphase + Mitotic phase

1. ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) ระยะที่ไม่มีการแบ่งเซลล์ อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมแบ่งเซลล์โดยเป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด มีเมตาบอลิซึมสูง สารพันธุกรรมยังอยู่ในรูปโครมาทิน แบ่งเป็นระยะย่อยได้แก่

  • G1 ระยะที่เซลล์มีการขยายขนาดเพิ่มขึ้น และ เป็นระยะที่มีการสร้างออแกเนลล์เพิ่มขึ้น
  • สังเคราะห์ DNA เพิ่มเป็น 2 ชุด และ สังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ DNA 
  • G2 ระยะที่มีการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ mitosis

2. ระยะ Mitosis (M-phase) แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ การแบ่งนิวเคลียส (nuclear division หรือ karyokinesis) สลับกับ การแบ่ง cytoplasm (cytoplasmic division หรือ cytokinesis) ในกระบวนการแบ่งนิวเคลียสมี 2 แบบ คือ ไมโทซิส (mitosis) และไมโอซิส (meiosis) i

  • ไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์โดยที่เซลล์ลูกมีจำนวนชุดโครโมโซมเท่าเดิม (2n-->2n หรือ n-->n) พบในการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

 

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของปลายรากหอม

อ้างอิง https://sites.google.com/site/hcubiology/celldivision

  • ระยะ

    การเปลี่ยนแปลง

    จำนวนโครโมโซม
    และโครมาทิดในคน

    โพรเฟส
    (prophase)
    - โครโมโซมจะค่อยๆหดตัวสั้นลงแต่ละแท่งมี 2 โครมาทิด
    - เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสค่อยๆหายไป 
    - เซนทริโอลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในเซลล์สัตว์และสร้างเส้นใยไมโตทิกสปินเดิล (mitotic spindle)
    - โครโมโซม 46 แท่ง  
    (1 โครโมโซม มี 2 โครมาทิด)

    เมทาเฟส
    (metaphase)

    - โครโมโซมเรียงตัวกลางเซลล์ โครโมโซมหดตัวสั้นที่สุดและมีเส้นใยสปินเดิลมาจับที่โปรตีนไคนีโทคอร์ (kinetochore) ที่ต่อกับเซนโทรเมียร์ของโครโมโซม              -ผนังหุ้มนิวเคลียสสลายอย่างสมบูรณ์
    - ระยะนี้เหมาะสำหรับศึกษาโครโมโซมมากที่สุด
    หรือการทำคารีโอไทป์ (karyotype)

    แอนาเฟส
    (anaphase)
    - ซิสเตอร์โครมาทิดของแต่ละโครโมโซมถูกแยกออกจากกัน จนได้จำนวนโครโมโซม 2 เท่าของปกติ                                    -เป็นระยะที่สั้นที่สุดของการแบ่งเซลล์- โครโมโซม 92 แท่ง
    (1 โครโมโซม
    มี 1 โครมาทิด)
    - แต่ละนิวเคลียสมี
    โครโมโซม 46 แท่ง 
    เทโลเฟส
    (telophase)
    - ระยะสุดท้าย โครโมโซมที่แยกออกจากกันเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ขั้วตรงข้ามของเซลล์
    - เริ่มมีการสร้างนิวเคลียสและผนังหุ้มนิวเคลียสใหม่


  • ไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์จาก 1 เป็น 4 เซลล์โดยที่เซลล์ลูกมีจำนวนชุดโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง (2n-->n) คู่โฮโมโลกัสโครโมโซมถูกแยกออกจากกัน พบในการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยระยะย่อยต่างๆคล้ายกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

celldivision - hcubiology

ภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของดอกกุ่ยช่ายใต้กล้องจุลทรรศน์



ระยะ

การเปลี่ยนแปลง

จำนวนโครโมโซม
และโครมาทิดในคน

โพรเฟส I
(prophase I)
- โฮโมโลกัสโครโมโซมมาเข้าคู่กัน (synapsis)
เพื่อแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม (crossing over) เรียกโครงสร้างนี้ว่า "bivalent"
- โครโมโซม 46 แท่ง  
(1 โครโมโซม
มี 2 โครมาทิด)

เมทาเฟส I
(metaphase I)
- คู่ของโฮโมโลกัสโครโมโซมไบวาเลนท์มาเรียงตัวตรงกลางเซลล์ 
แอนาเฟส I
(anaphase I)
- คู่ของโฮโมโลกัสโครโมโซมไบวาเลนท์แยกออกจากกันไปคนละข้างของเซลล์- โครโมโซม 46 แท่ง
(1 โครโมโซม
มี 2 โครมาทิด)
- 2n --> n
- แต่ละนิวเคลียสมี
โครโมโซม 23 แท่ง
เทโลเฟส I 
(telophase I)
- โครโมโซมเคลื่อนที่ไปอยู่ที่
ขั้วตรงข้ามของเซลล์ ผนังนิวเคลียสเริ่มมาหุ้มโครโมโซม

เกิด meiosis II โดยมีระยะต่างๆเริ่มจากโปรเฟสจนถึงเทโลเฟส โดยกระบวนการแบ่งเซลล์คล้าย
ไมโทซิส (n -->n) จุดเน้นคือ ในระยะ anaphase II ซิสเตอร์โครมาทิดถูกแยกออกจากกัน

  • การแบ่งไซโทพลาซึม (cytokinesis) เกิดหลังจากการแบ่งนิวเคลียสโดยในเซลล์สัตว์จะเกิดการคอดกิ่วของเยื่อหุ้มเซลล์ระหว่างสองนิวเคลียสเรียกว่า cleavage furrow ส่วนในเซลล์พืชจะมีการสร้าง cell plate ซึ่งมี pectin มาสะสมตรงกลาง เรียกบริเวณนี้ว่า middle lamella

ทีมผู้จัดทำ