การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
การย่อยอาหารของราและแบคทีเรีย
รามีผนังเซลล์ จึงไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยอาหารจึงเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular digestion) โดยส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่ การย่อยเช่นเดียวกันกับแบคทีเรียการย่อยอาหารของโพรโตซัว
อะมีบาและพารามีเซียมแตกต่างกันด้วยวิธีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์ โดยพารามีเซียมจะใช้ซีเลียที่บริเวณร่องปากโบกพัดอาหารเข้าสู่เซลล์ส่วนอะมีบาสามารถเคลื่อน protoplasm ได้อย่างยืดหยุ่นจึงนำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยวิธีโอบล้อมอาหาร แล้วฟาโกไซโทซิสและพิโนไซโทซิส แล้วมีการย่อยอาหารเหมือนกันใน food vacuoles โดยการหลั่งเอนไซม์จากไลโซโซม
การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร เช่น ฟองน้ำ โดยจะมีเซลล์เฉพาะ
a) collar cells (ปลอกคอ) หรือ chanocytes มี flagellum ยื่นออกมาโบกพัดและใช้ย่อยอาหารพวกแบคทีเรียและสารอินทรีย์ขนาดไม่เกิน 1 ไมโครเมตร
b) amoebcyte (เซลล์คล้ายอะมีบา)
ใช้ย่อยอาหาร ขนาด 5-50 ไมโครเมตรการย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์
หมายถึงสัตว์ที่มีช่องรับและขับถ่ายอาหารเพียงช่องเดียว ได้แก่
a) ไฮดรา มีช่องว่างในลำตัว (gastrovascular cavity) และ nutritive cells ในการช่วยย่อยอาหารโดยมีการย่อยทั้งภายนอกและภายในเซลล์
b) พลานาเรีย มีช่องปากให้อาหารเข้า
และขับถ่ายกากอาหารที่ย่อยไม่ได้เป็นช่องเดียวกัน และมีคอหอย (pharynx) คล้ายงวงขนาดเล็กยื่นออกมาดูดอาหาร อาหารจะถูกลำเลียงไปตามช่องที่แตกแขนงไปสองข้างลำตัวการย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์
หมายถึงสัตว์ที่มีช่องรับอาหาร และขับถ่ายกากอาหาร 2 รู จากปลายคนละด้าน คือมีปากและทวารหนัก รับส่วนต่างๆในทางเดินอาหารเริ่มมีการทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
ไส้เดือนดินและสัตว์ขาปล้อง มีปากหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดอาหารที่ทานและอาจมีอวัยวะช่วยย่อยอาหารที่เพิ่มขึ้น เช่นมีต่อมน้ำลายและต่อมสร้างเอนไซม์ เช่น จิ้งหรีด ส่วนไส้เดือนดินจะมี gizzard หรือ กึ๋น ช่วยในการบดอาหาร
การย่อยอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การย่อยอาหารในสัตว์มี 2 วิธีคือ
a) การย่อยเชิงกล คือการใช้แรงทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงโดยที่องค์ประกอบทางเคมีของอาหารไม่เปลี่ยนแปลงเช่น การบีบตัวของทางเดินอาหาร และการบดเคี้ยวของฟันb) การย่อยทางเคมี คือการใช้ปฏิกิริยาเคมีทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงโดยองค์ประกอบทางเคมีของอาหารเปลี่ยนแปลงไป
การย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่ทานพืชเป็นหลัก แต่สัตว์ไม่มีน้ำย่อยเซลลูโลสจึงมีระบบกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์จากพืช ตัวอย่างเช่น วัว ควาย เริ่มการย่อยเชิงกล ที่ปาก เคี้ยวเอื้อง กลืน และหมักบดอาหาร ในบางส่วนของกระเพาะอาหารกระเพาะอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องมี 4 ส่วน เรียกว่า
1) รูเมน เป็นพื้นที่เพื่อหมักอาหาร โดยมีจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ที่ช่วยย่อยเซลลูโลส รวมทั้งสังเคราะห์วิตามิน B12 กรดอะมิโน ยูเรีย รวมไปถึงแอมโมเนียที่เกิดจากการหมัก
2) เรติคิวลัม ทำหน้าที่บดและผสมอาหาร
3) โอมาซัม ทำหน้าที่บดแล้วผสมอาหาร
4) อะโบมาซัม ทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร
ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้มากที่สุด จากนั้นอาหาร จะเตรียมตัวไปที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
จุดสังเกต ข้อแตกต่างของสัตว์เคี้ยวเอื้องจากการย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ คือ มีการหมักอาหารและช่วยย่อยโดยแบคทีเรียที่รูเมน เรติคิวลัมและโอมาซัม
เป็นบริเวณที่มีการย่อยเชิงกล ส่วนอะโบมาซัม
เป็นบริเวณเดียวที่มีการหลั่งเอนไซม์