การย่อยอาหารของคน

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การย่อยอาหารของคน (ชุดที่ 1)

HARD

การย่อยอาหารของคน (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

การย่อยอาหารของคน

ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ประกอบไปด้วย

a) ปาก (mouth)

โดยใช้การบดเคี้ยวของฟันเพื่อย่อยเชิงกล
และการย่อยทางเคมี เป็นการย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักโดยมีเอนไซม์อะไมเลส

b) ลิ้น (tougue)

ทำหน้าที่รับรส โดย มีต่อมรับรสได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และอูมามิ

c) ต่อมน้ำลาย (salivary gland)

มีต่อมอยู่ 3 คู่ ที่ใต้ขากรรไกร ใต้ลิ้น และข้างกกหู
ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือก (mucus) เพื่อช่วยในการหล่อลื่นอาหาร ใช้กำจัดเชื้อโรค

d) คอหอย (pharynx)

ไม่มีการย่อยเชิงกลและเชิงเคมี เพียงเป็นทางส่งอาหารและเป็นทางผ่านของอากาศ

e) หลอดอาหาร (esophagus)

การย่อยเชิงกลเกิดขึ้นจากการบีบตัวเป็นช่วงช่วงติดต่อกัน เพื่อให้อาหารเคลื่อนไปสู่กระเพาะอาหาร

ตั้งแต่ปากถึงหลอดอาหารเกิดกระบวนการต่อไปนี้

  1. Ingestion คือการกิน ควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ voluntary
  2. Mastication (chewing) คือการเคี้ยวภายในปากแล้วขยับขากรรไกรกับลิ้น
  3. Digestion มีเอนไซม์อะไมเลสไว้สำหรับย่อยแป้ง
  4. Deglutition (swallowing) คือกระบวนการการกลืนจะมี 3 ระยะคือ 
    1. Buccal phase เป็นการดันอาหารที่ถูกปั้นเป็นก้อนเข้าไป oropharynx
    2. Pharyngeal phase อาหารแตะที่ผนังเพดานอ่อน เป็น reflux อยู่ในคอหอย
    3. Esophageal phase อาหารลงมาถึงหลอดอาหารโดยการบีบรูด (peristalsis)

f) กระเพาะอาหาร (stomach)

ทำหน้าที่หลักในการย่อยโปรตีน การย่อยในกระเพาะอาหารมีทั้งการย่อยเชิงกลและทางเคมี
เซลล์ในกระเพาะอาหารสร้างฮอร์โมนแกสตริน Gastrin กระตุ้นให้เซลล์ที่ผนังกระเพาะอาหารหลั่ง  HCl
น้ำย่อยในกระเพาะอาหารประกอบด้วย สารเมือก กรดไฮโดรคลอริก และเอนไซม์หลายชนิด เช่น gastric lipase (not functional), pepsinogen.
เอนไซม์ pepsinogen ถูกกระตุ้นโดยกรดไฮโดรคลอริก เปลี่ยนเป็น Active form เรียกว่า pepsin เซลล์ผนังด้านในของกระเพาะอาหาที่สำคัญ คือ Parietal cell เซลล์ที่สร้างกรดไฮโดรคลอริก, Mucous cells เซลล์สร้างเมือก, Cheif cell เซลล์สร้าง pepsinogen, Enteroendocrine cell สร้างฮอรโมนต่างๆ
การย่อยทางเคมีของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ตัดพอลิเพปไทด์ที่มีขนาดยาว ที่ตำแหน่ง pepsin ทำให้ได้พอลิเพปไทด์ ขนาดสั้นลง สภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร จะหยุดการทำงานของอะไมเลสในการย่อยแป้ง ดังนั้น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ที่ยังไม่ถูกย่อยจะถูกลำเลียงไปย่อยต่อในลำไส้เล็ก

g) ลำไส้เล็ก

มีการย่อยและดูดซึมมากที่สุด มีลักษณะเป็นท่อยาวมีความยาวประมาณ 6-7 เมตรแบ่งเป็น ลำไส้เล็กตอนต้น (duodenum) ยาว 20 ถึง 30 cm ถัดไป ลำไส้เล็กตอนกลาง (jejunum) มีความยาวประมาณ 2.5 เมตร
และส่วนสุดท้าย (ileum) มีความยาวประมาณ 3.6 เมตร
จุดเน้นสำคัญคือ การย่อยทางเคมีของลำไส้เล็ก จะมีองค์ประกอบช่วย คือเอนไซม์และน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีเพื่อย่อยไขมันจากตับ โดยมีการลำเลียงผ่านท่อเปิดเข้ามาที่ duodenum
ผนังชั้นในของลำไส้เล็ก มีลักษณะยื่นคล้ายนิ้วเป็นปุ่มปุ่ม เรียกว่า Villus วิลลัส ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร

            การย่อยโปรตีน มีเอนไซม์หรือน้ำย่อย หลากหลายชนิดเช่น  trypsinogen, chymotrypsin, procarboxypeptide ซึ่งผลิตโดยตับอ่อน
โดยหลั่งผ่านท่อเปิดที่ duodenum  

ส่วนเอนไซม์ที่สร้างโดยลำไส้เล็กได้แก่ enterokinase ทำหน้าที่เปลี่ยน trypsinogen ให้เป็น trypsin และเปลี่ยน chymotrypsinogen เป็น chymotrypsin สรุปคือ เอนไซม์จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูป Active form  เมื่ออยู่ในลำไส้เล็ก โดย trypsin และ chymotrypsin จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนเป็นเพปไทด์ ส่วน carboxypeptidase ทำหน้าที่ย่อยเปปไทด์เป็นกรดอะมิโน ข้อสังเกตคือ inactive forms ชื่อจะลงท้ายด้วย -nogen

การย่อยคาร์โบไฮเดรต

        เอนไซม์อะไมเลสถูกผลิตโดยเซลล์สร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยโพลีแซคคาไรด์ ให้เป็น  oligosaccharide และ ไดแซ็กคาไรด์ ชนิดต่างๆ เช่น maltose, sucrose, galactose ลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยน้ำตาลเชิงคู่ ได้แก่ maltase เพื่อย่อย maltose ได้ผลลัพธ์เป็นกลูโคส 2 โมเลกุล
ซูเครส เพื่อย่อยซูโครส ได้ผลลัพธ์เป็นกลูโคสและฟรุกโตส เอนไซม์ lactase เพื่อย่อย lactose ได้ผลลัพธ์เป็นกลูโคสและกาแลคโตส

การย่อยไขมัน

        เกิดขึ้นได้โดยกระบวนการ emulsification คือการเปลี่ยนไขมันให้แตกตัวเป็นหยดไขมันเล็กๆ (droplet) แล้วจึงถูกย่อยต่อด้วยเอนไซม์ไลเปส สร้างโดยลำไส้เล็กและตับอ่อน ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (ปฏิกิริยาเคมี ที่ได้น้ำ 1 โมเลกุล) ได้ผลลัพธ์เป็นกรดไขมัน และ กลีเซอรอล กระบวนการเปลี่ยนไขมันเป็น emulsion ต้องอาศัยเกลือน้ำดี (bile salt) ตับทำหน้าที่สร้างน้ำดี เก็บไว้ในถุงน้ำดี โดยหลั่งไปตามท่อเปิดที่ duodenum

        น้ำดี ประกอบด้วย

a)  bile salt ทำให้ไขมันแตกตัว

b)  billirubin เป็นสารสีเหลือง เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน ทำให้น้ำดีมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อนจนเป็นสีของอุจจาระในที่สุด

c)  คอเลสเตอรอล เนื่องจากเป็นโมเลกุลใหญ่ ถ้าหากมีปริมาณมากเกินไป จะกลายเป็นของแข็ง เป็นต้นเหตุทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี และอุดตันท่อน้ำดี เกิดเป็นโรคดีซ่าน (Jaundice) การขาดน้ำดีทำให้การย่อยไขมันผิดปกติ และสีอุจจาระจึงผิดปกติด้วย

ตับอ่อน ผลิตสารและเอนไซม์สำหรับการย่อยอาหาร ได้แก่

  • NaHCO3 เป็นเบส เพื่อปรับสภาวะของอาหารที่เคลื่อนมาจากกระเพาะจากกรดให้เป็นกลาง
  • Lipase
  • Amylase
  • Inactive forms of protein enzymes: trypsinogen, chymotrypsinogen, procarboxypeptidase
Absorption : การดูดซึมสารอาหารเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กมากที่สุด ได้แก่ 
ดูโอดีนัม และเจจูนัม ยกเว้นวิตามิน B12 และ bile salt จะถูกดูดซึมที่อีเลียม 
  • การดูดซึมน้ำตาลเชิงเดี่ยว จะถูกดูดซึมโดยกระบวนการที่แตกต่างกันเช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถูกดูดซึมโดย active transport และ facilitated diffusion
  • การดูดซึมไขมัน เนื่องด้วยกรดไขมัน สามารถผ่าน ฟอสโฟลิพิดของผนังเซลล์จึงถูกดูดซึมโดย simple diffusion เข้าไปในท่อน้ำเหลือง
  • การดูดซึม glycerol โดย facilitated diffusion
  • การดูดซึมโปรตีน กรดอะมิโนจะเคลื่อนย้ายผนังลำไส้เล็กโดยวิธี active transport โดยใช้ Na+ เป็นประจุแลกเปลี่ยน

h) ลำไส้ใหญ่ (large intestine)

ทำหน้าที่ในการดูดซึมวิตามินเกลือแร่และน้ำ มีแบคทีเรียอาศัยอยู่แบบพึ่งพา ทำหน้าที่สังเคราะห์ วิตามิน K และ B12 กรดโฟลิก มีความยาว 1.5 เมตรประกอบด้วย
  1. cecum เป็นส่วนเชื่อมกับลำไส้เล็กส่วน ileum โดยมีไส้ติ่ง (appendix) อยู่ที่รอยต่อ
  2. Colon เป็นส่วนที่ยาวที่สุด
  3. rectum ส่วนสุดท้ายยาวประมาณ 15 cm

i) ทวารหนัก (anus)

มีกล้ามเนื้อหูรูด 2 ชั้น ทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ

ทีมผู้จัดทำ