โครงสร้างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

MEDIUM

โครงสร้างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

เนื้อหา

โครงสร้างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นในการขยายภาพสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (แบบธรรมดา และแบบเชิงประกอบ)
2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Transmission Electron Microscope, Scanning Electron Microscope)

ส่วนประกอบกล้องจุลทรรศน์ มีดังนี้

  • ฐาน วางติดกับโต๊ะ

  • แขน ยึดลำกล้องกับส่วนฐาน

  • ลำกล้อง มีเลนส์ใกล้ตาติด

  • แผ่นหมุน มีเลนส์ใกล้วัตถุติด

  • เลนส์ใกล้วัตถุ x4, x10, x40 หรือ x100 เป็นต้น

  • เลนส์ใกล้ตา x5, x10 หรือ x15 เป็นต้น

  • วงล้อปรับภาพ ปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้วัตถุ

  • แท่นวางวัตถุ

  • คอนเดนเซอร์ รวมแสงให้มีความเข้มมากที่สุด

  • ไอริสไดอะแฟรม ม่านปรับรูเปิดเพื่อให้แสงผ่าน

  • แหล่งกำเนิดแสง


เซลล์

เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างและลักษณะของเซลล์แตกต่างกันตามชนิดและหน้าที่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. โปรคาริโอติดเซลล์ (ไม่มีนิวเคลียส) ตัวอย่างเช่น แบคทีเรีย เป็นต้น 

รูปที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์โปรคาริโอต
https://biochemix.wordpress.com/page/2/

2. ยูคาริโอติกเซลล์ (มีนิวเคลียส มีออร์แกแนลล์หลายอย่าง) เช่น เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

รูปที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์พืช
https://biochemix.wordpress.com/page/2/

รูปที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์
https://sites.google.com/a/asu.edu/the-almighty-cell/


โครงสร้างเซลล์ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 

ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)

     1.1 เยื่อหุ้มเซลล์ มีโครงสร้างประกอบด้วยชั้นไขมันเรียงตัวกัน 2 ชั้น ประกอบด้วยด้านที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์และป้องกันอันตราย มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน เป็นต้น

     1.2 ผนังเซลล์ เป็นโครงสร้างประกอบด้วยสายพอลิแซ็กคาไรด์ ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ พบในเซลล์ของพืช โดยผนังเซลล์จะอยู่ด้านนอกสุด

2. นิวเคลียส (Nucleus)

     2.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส เยื่อหุ้ม 2 ชั้นที่ห่อหุ้มนิวเคลียส มีช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารระหว่างนิวเคลียสและไซโทพลาซึม

     2.4 นิวคลีโอลัส เป็นกลุ่มของเส้นใยที่ขดเป็นก้อนกลมฝังตัวในเนื้อนิวเคลียส ไม่มีเยื่อหุ้ม

     2.3 โครมาทิน คือ สาย DNA ที่พันรอบโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)

     3.1 เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มี 2 แบบ คือ

  • เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ มีไรโบโซมเกาะที่ผิวด้านนอก พบได้ในเซลล์ทุกชนิด หน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและส่งโปรตีน

  • เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ มีเยื่อหุ้มชั้นเดียวไม่มีไรโบโซมมาเกาะ สังเคราะห์สารพวกลิพิด ทำลายสารพิษที่เข้าสู่เซลล์

     3.2 ไรโบโซม ไม่มีเยื่อหุ้มและมีขนาดเล็กที่สุดกระจายอยู่ทั่วไปในไซโตพลาสซึมเกาะอยู่บนผิวของเอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดขรุขระ ประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย หน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน

     3.3 กอลจิคอมเพล็กซ์ มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว เป็นถุงแบน ๆ วางซ้อน ๆ กัน ทำหน้าที่รวบรวมสาร ทำให้เข้มข้น และเติมคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนหรือลิพิดที่ส่งมาจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

     3.4 ไลโซโซม มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุเอนไซม์หลายชนิด ทำหน้าที่ย่อยอาหารและส่วนประกอบของเซลล์ที่เซลล์ไม่ต้องการ

     3.5 แวคิลโอล เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามรูปร่างและหน้าที่ได้ ดังนี้

  • คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ

  • ฟูดแวคิวโอล ทำหน้าที่บรรจุอาหารเพื่อย่อยสลาย

  • แซบแวคิวโอล ทำหน้าที่สะสมหยดไขมัน

     3.6 ไมโคคอนเดรีย มีขนาดใหญ่ มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น พบได้ในเซลล์ทุกชนิดที่ใช้ออกซิเจน เป็นแหล่งพลังงาน

     3.7 พลาสทิด ประกอบด้วย คลอโรพลาสต์ มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น พบเฉพาะในพืชและแบคทีเรียบางชนิด เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบริเวณนี้

     3.8 เพอร็อคซิโซม เป็นถุงที่บรรจุ เอนไซม์ออกซิไดซ์ หน้าที่ทำลาย H2O2 ที่เกิดขึ้นในเพอโรซิโซม โดยเปลี่ยนเป็น H2O ด้วยเอนไซม์แคตาเลส

     3.9 เซนทริโอล ไม่มีเยื่อหุ้ม ประกอบด้วยไมโครทิวบูลเรียงกัน 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 หลอด เป็นแกนของเซนโทรโซมซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเส้นใยสปินเดิล

     3.10 ไซโทสเกเลตอน เป็นร่างแหตาข่ายของเส้นใยโปรตีนที่แผ่ขยายปกคลุมอยู่ทั่วไซโทพลาซึม ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ประกอบด้วย

  • ไมโครฟิลาเมนต์ เป็นเส้นใยขนาดบาง ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม (แอคทิน) ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์ในการหดตัว มีบทบาทในการเคลื่อนที่แบบอะมีบา

  • ไมโครทิวบูล เป็นแท่งกลวง เกิดจากก้อนโปรตีนทิวบูลินเรียงต่อกัน ช่วยยึดและลำเลียง ออร์แกเนลล์ เป็นเส้นใยสปินเดิล

  • อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์ เส้นใยโปรตีนที่มีขนาดใหญ่กว่าไมโครฟิลาเมนต์ แต่เล็กกว่าไมโครทูบูลประกอบด้วยโปรตีนอยู่ในกลุ่มเคอราติน ช่วยยึดออร์แกเนลล์ ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์

ทีมผู้จัดทำ