ได้จาก การกลั่นสลายไม้ หรือสังเคราะห์จากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) ที่อุณหภูมิและความดันสูง (350-400OC, 300 lb/in2) และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็น ZnO หรือ Cr2O3
ได้จากการหมักแป้งหรือน้ำตาลโดยใช้ยีสต์
เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกบางชนิด ใช้ทำยา สีย้อม ยาฆ่าเชื้อโรค
รวมทั้งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารหลายชนิด เช่น สารกันหืน butylated hydroxyl toluene (BHT) และ butylated hydroxyl anisole (BHA)
เป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น ยูจีนอลในกานพลู
นิยมใช้เป็นตัวทำละลายเพื่อละลายสารอินทรีย์ ในปฏิกิริยาเคมีสังเคราะห์ โดยเฉพาะไดเอทิลอีเทอร์ (diethyl ether)
นอกจากนั้น ไดเอทิลอีเทอร์ ยังใช้เป็น ยาสลบในการผ่าตัด
สามารถเตรียมได้จากเมทานอล (methanol) เมื่อละลายเมทานาลในน้ำได้สารละลายฟอร์มาลิน (formalin) ที่ความเข้มข้น 40%
เตรียมจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิลของอีไทน์ (ethyne) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็น H2SO4/HgSO4 และปฏิกิริยาระหว่างเอทานอลและออกซิเจน โดยใช้โลหะเงิน (Ag) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เอทานาลใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารอื่น เช่น กรดแอซิติก (acetic acid) แอซีติกแอนไฮไดรด์ (acetic anhydride)
เตรียมจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของแอลกอฮอล์ 2-propanol กับตัวออกซิไดซ์ เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) อะซิโตนใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำมันเงา (vanish) แลกเกอร์ ไฟเบอร์ และพลาสติก ช่วยทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วเนื่องจากจุดเดือดต่ำ ใช้ทำพลาสติกลูไซต์ ฯลฯ
พบได้ในมด แมลง และผึ้ง ใช้ในการแยกยางออกจากน้ำยาง ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารอื่น ๆ
กรดฟอร์มิกเตรียมจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่อุณหภูมิและความดันสูง (200 OC, 100 lb/in2)
ใช้สารละลายกรดอะซีติกเข้มข้นร้อยละ 4-5 เป็นน้ำส้มสายชูสำหรับปรุงอาหาร ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารอื่น เช่น cellulose acetate ใช้ทำไหมเทียมและฟิล์มถ่ายรูป
นอกจากนั้นยังใช้ผลิตสีทาบ้าน สีย้อมผ้า ทำพลาสติก ยาแอสไพริน ฯลฯ เกลือของตะกั่ว lead acetate ใช้เป็นยาสมานฝาด
เอสเทอร์ พบมากในธรรมชาติในรูปของผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ เช่น น้ำหอม ดอกไม้ เป็นต้น โดยกลิ่นหอมของพืชและสัตว์ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นของเอสเทอร์ จึงนิยมใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอาหารและใช้ทำน้ำหอม เอสเทอร์ใช้เป็นตัวทำละลายในการทำแลกเกอร์ น้ำมันขัดเงา เป็นต้น
ตัวอย่างของเอสเทอร์ที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ เอทิลอะซีเตด (ethyl acetate) ใช้ทำน้ำยาล้างเล็บ แอสไพริน (อะซีติลซาลิซิลิก, acetyl salicylic acid)
มีหมู่ฟังก์ชันหนึ่งเป็นเอสเทอร์ในโครงสร้าง ใช้เป็นยาแก้ไข้แก้ปวด น้ำมันระกำ (เมทิลซาลิไซเลต, methyl salicylate) ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชันหนึ่งเป็นเอสเทอร์ในโครงสร้าง ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นเอสเทอร์ยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสังเคราะห์
เอสเทอร์สามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาต่าง ๆ เช่น จากปฏิกิริยาระหว่างกรดคาร์บอกซิลิกและแอลกอฮอล์
เป็นสารเสพติด ที่พบในยาสูบ ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เป็นแอลคาลอยด์ (alkaloid) ในพืช
เป็นเอมีนสังเคราะห์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นส่วนผสมในยาอี ยาบ้า ยาไอซ์
ใช้ทำเส้นใยสังเคราะห์
ยูเรีย (urea) เป็นเอไมด์ที่พบในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการย่อยโปรตีน ใช้ทำปุ๋ย ทำเรซินประเภทพอลิยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ และทำยา
ยูเรียสังเคราะห์ ได้จาก แอมโมเนียมไซยาเนต (ammonium cyanate) และในอุตสาหกรรมสังเคราะห์จากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และแก๊สแอมโมเนีย (NH3) ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง (180-200OC, 2800-3000 lb/in2)
สกัดจากดอกฝิ่น ใช้เป็นยาระงับความเจ็บปวด [แอลคาลอยด์ (alkaloid) ในพืช]
สกัดจากเปลือกต้นซินโคนา ใช้รักษาโรคมาเลเรีย [แอลคาลอยด์ (alkaloid) ในพืช]
พบในใบโคลา ใช้เป็นยาชาที่ผิวหนัง ใช้เป็นยาสลบ [แอลคาลอยด์ (alkaloid) ในพืช]
ในกาแฟ ใช้เป็นยากระตุ้นการเต้นของหัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง [แอลคาลอยด์ (alkaloid) ในพืช]
สกัดจากดอกฝิ่น ใช้เป็นส่วนประกอบในยาแก้ไอ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
เป็นฮอร์โมนที่พบในร่างกาย เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่ม ซึ่งร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาเพื่อตอบสนองปฏิกิริยาของร่างกายเมื่ออยู่ในเหตุการณ์อันตรายสำหรับการดำเนินกิจกรรมที่รวดเร็วและใช้กำลังมาก
นอกจากนั้นยังมี อะดรีนาลีนสังเคราะห์ หรือที่เรียกว่า เอพิเนฟริน (Epinephrine) ซึ่งนำมาใช้รักษาภาวะ Anaphylaxis ซึ่งเป็นอาการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน หรือใช้ในระหว่างการผ่าตัดตาและรักษาผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น
และรู้จักกันในชื่อทางการค้าคือ ไทลินนอล (Tylenol), พารามอล (Paramol), ซีมอล (Cemol), พานาดอล (Panadol), พาราแคพ (Paracap), ซาร่า (Sara), เทมปร้า (Tempra) และอื่นๆ ใช้ผสมในยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้
ในเมล็ดวานิลา ซินนามาลดีไฮด์ (cinnamaldehyde) ในอบเชย ใช้เป็นสารปรุงแต่งรสและกลิ่นอาหาร