
นอกจากนี้ยังพบว่าแหล่งกำเนิดที่สำคัญที่สุดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน คือ ปิโตรเลียม สามารถนำในใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบได้มากมาย
แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ แอลเคน แอลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน พบว่า การละลายน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับโบรมีน และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่ละชนิดนั้นจะต่างกัน ดังนี้
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มี สูตรโมเลกุล CnH2n+2 และเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
ปฏิกิริยาเผาไหม้ เกิดจากสาร ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนสำหรับการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น CO2 และ H2O
เขียนสมการได้ดังนี้
ปฏิกิริยากับโบรมีนในที่แสงสว่างได้ โดยจะเกิดการแทนที่อะตอมไฮโดรเจน H ด้วยอะตอมของธาตุอื่น เช่น โบรมีน (Br), คลอรีน (Cl) เป็นต้น
เขียนสมการได้ดังนี้
ปฏิกิริยากับ KMnO4 จะไม่ทำปฏิกิริยา
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มี สูตรโมเลกุล CnH2n และมีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 พันธะ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
ปฏิกิริยาเผาไหม้ แอลคีนติดไฟง่าย เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน จะเกิดเขม่าและมีควัน แต่ถ้าเผาในบริเวณที่มีออกซิเจนเพียงพอ จะเกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ (ไม่มีเขม่า) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น CO2 และ H2O
เขียนสมการได้ดังนี้
ปฏิกิริยากับโบรมีนได้ทั้งในที่มืดและสว่างได้ ทำให้สีของโบรมีนจางหายไปโดยจะเกิดปฏิกิริยา การสลายพันธะคู่และมีการเพิ่มหรือเติมอะตอมอื่นลงไป เช่น โบรมีน Br, คลอรีน Cl เป็นต้น
เขียนสมการได้ดังนี้
ทำปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) พบว่า สีของโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต จะหายไปและมีตะกอนสีน้ำตาลดำของแมงกานีสออกไซด์ (VI) เกิดขึ้น
เขียนสมการได้ดังนี้
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่มี สูตรโมเลกุล CnH2n-2 และมีพันธะสามอยู่ในโมเลกุล อย่างน้อย 1 พันธะ
ปฏิกิริยาเผาไหม้ในบรรยากาศปกติ หรือที่มีออกซิเจนน้อยจะเกิดเขม่าและมีควันมากกว่าแอลคีน แต่ถ้าเผาในบริเวณที่มีออกซิเจนเพียงพอ จะเกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ (ไม่มีเขม่า) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น CO2 และ H2O
ปฏิกิริยากับโบรมีนได้ทั้งในที่มืดและสว่างได้ เนื่องจากอัลไคน์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่ไม่อิ่มตัวเช่นเดียวกับแอลคีน ดังนั้นแอลไคน์จึงฟอกสีได้เช่นเดียวกัน
เขียนสมการได้ดังนี้
ทำปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) พบว่าสีของโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต จะหายไปและมีตะกอนสีน้ำตาลดำของแมงกานีสออกไซด์ (VI) เกิดขึ้นเช่นเดียวกับแอลคีน แต่พบว่า แอลไคน์ที่พันธะสามอยู่ตำแหน่งต่างกันจะเกิดผลิตภัณฑ์ต่างกันด้วย
เป็นสารประกอบที่เป็นวงพันธะเดี่ยวสลับกับพันธะคู่ของคาร์บอน 6 อะตอม มีสูตรโมเลกุล CnH2n-6 เป็นสารที่มีเสถียรภาพสูงเนื่องจากสามารถเกิดเรโซแนนซ์ได้ และการทำปฏิกิริยาต่างจากสารประกอบแอลคีน พบว่า สารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ที่พบในตอนแรกจะมีกลิ่นหอม