ยกเว้น
นอกจากจะแบ่งตามชนิดของหมู่ฟังก์ชันแล้ว อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
ดังนี้
สารประกอบแต่ละกลุ่มเหล่านี้จะมีสมบัติเฉพาะตัวเหมือนหรือแตกต่างกันมาศึกษากัน
จากตาราง เมื่อพิจารณาพบว่า จุดหลอมเหลวและจุดเดือดนั้น จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่ออะตอมของคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น มวลโมเลกุลก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเพิ่มขึ้นด้วย ในกรณีที่จำนวนของคาร์บอนเท่ากัน เช่น สารประกอบแอลเคนที่มีโซ่กิ่งจะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำกว่าโซ่ตรง เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่า
สมบัติทางกายภาพโดยทั่วไป หมายถึง สถานะ จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความสามารถในการละลาย เป็นต้น ซึ่งสมบัติต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นผลมาจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลทั้งสิ้น
ดังนั้น สารประกอบ-อินทรีย์จึงสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ตามแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล และเรียงลำดับจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจากมากไปน้อยของโมเลกุลที่มีขนาดเท่าๆ กัน ได้ดังต่อไปนี้
ความสามารถในการละลายน้ำ สารในกลุ่มที่ 1 และ 2 สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อโมเลกุลมขนาดเล็ก และความสามารถในการละลายน้ำจะค่อยๆ ลดลงไป เมื่อขนาดของโมเลกุลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนโมเลกุลที่มีกิ่งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลต่ำกว่าโมเลกุลที่เป็นเส้นตรง เพราะการอัดตัวกันเป็นไปได้ยากกว่า จึงเป็นผลทำให้โมเลกุลที่มีกิ่งมากละลายน้ำได้ง่ายขึ้น และมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำลง แสดงว่า สมบัติของสารประกอบอินทรีย์ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโมเลกุล