เคมีอินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสามในชีวิตประจำวัน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
วิเคราะห์โครงสร้าง และระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ตามระบบ IUPAC
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
วิเคราะห์ และเปรียบเทียบสมบัติของสารประกอบอินทรีย์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (1)
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (2)
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สืบค้นข้อมูลการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (2)

MEDIUM

ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (2)

HARD

ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (2)

เนื้อหา

ในรรมชาติพบว่าผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล สัปปะรด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลิ่นหอมเหล่านี้คือ สารประกอบเอสเทอร์ (ester)   

เอสเทอร์สามารถสังเคราะห์ได้จาก ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน (esterification)  คือ การนำกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) มาทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ (alcohol) ที่อุณหภูมิสูง โดยใช้กรดเข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เอสเทอร์เป็นผลิตภัณฑ์ และมีการหลุดออกของโมเลกุลน้ำ   

สามารถเขียนสมการทั่วไปแสดงการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันได้ดังนี้

จากสมการเคมีจะสังเกตได้ว่า 

เป็นส่วนที่มาจาก กรดคาร์บอกซิลิก และ O-R’ เป็นส่วนที่มาจาก แอลกอฮอล์  
โดย R และ R’ คือ หมู่แทนที่อัลคิล (alkyl) หรือเอริล (aryl)   

ตัวอย่างเช่น

ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันของกรดอะซิติก (acetic acid) และเมทานอล (methanol) โดยใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น (conc. H2SO4) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น เมทิลอะซิเตท (methyl acetate)

เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

เมื่อนำเอสเทอร์มาทำปฏิกิริยากับน้ำที่อุณหภูมิสูง โดยมีกรดเจือจางเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น กรดคาร์บอกซิลิก และแอลกอฮอล์ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (hydrolysis)

สามารถเขียนสมการทั่วไปแสดงการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ได้ดังนี้

ตัวอย่างเช่น

ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเมทิลอะซิเตท โดยใช้กรดซัลฟิวริกเจือจาง (H2SO4 dilute) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น กรดอะซิติก และเมทานอล

เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเอสเทอร์ โดยใช้เบส เช่น NaOH หรือ KOH เรียกว่า ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน (saponification) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น เกลือคาร์บอกซิเลตของกรดคาร์บอกซิลิก และแอลกอฮอล์

สามารถเขียนสมการทั่วไปแสดงการเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน ได้ดังนี้

ตัวอย่างเช่น

ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันของเมทิลอะซิเตท และโซเดียมไฮดรอกไซด์  จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น เกลือโซเดียมอะซิเตทและเมทานอล    

เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

ตัวอย่าง

  • ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน (saponification) ที่พบในชีวิตประจำวัน คือ การผลิตสบู่  
  • ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน (saponification) ของไขมัน (lipid) เช่น ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) โดยใช้เบส NaOH หรือ KOH จะได้ผลิตภัณฑ์ คือ กลีเซอรอล (glycerol) และเกลือของกรดไขมัน หรือสบู่ (soap)

เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

เมื่อนำ กรดคาร์บอกซิลิกมาทำปฏิกิริยากับเอมีน (amine) เช่น แอมโมเนีย (NH3) ที่อุณหภูมิสูง จะได้ผลิตภัณฑ์คือ สารกลุ่มเอไมด์ (amide)

เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

จากสมการเคมีพบว่า สารประกอบเอไมด์ ประกอบไปด้วยหมู่เอไมด์ ( C with parallel to with O on top on top minus sign N ) เป็นหมู่ฟังก์ชัน 

ตัวอย่างสาร กลุ่มเอไมด์ที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น

อะเซตามิโนเฟน หรือที่รู้จักในชื่อ พาราเซตามอล ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้
นอกจากการใช้กรดคาร์บอกซิลิกเป็นสารตั้นต้นในการสังเคราะห์เอไมด์ 
สามารถใช้สารกลุ่ม  เอสเทอร์เป็นสารตั้งต้นได้เช่นกัน  

เมื่อนำ เอสเทอร์มาทำปฏิกิริยากับเอมีน (amine) เช่น แอมโมเนีย จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น เอไมด์ (amide) และได้แอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์ข้างเคียง  เรียกปฏิกิริยาสังเคราะห์เอไมด์นี้ว่า อะมิโนไลซิส (aminolysis)  

สามารถเขียนสมการทั่วไปแสดงการเกิดปฏิกิริยาอะมิโนไลซิส ได้ดังนี้

อย่างไรก็ตามการสังเคราะห์เอไมด์ โดยใช้กรดคาร์บอกซิลิก หรือเอสเทอร์เป็นสารตั้งต้น เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากให้ปริมาณผลิตภัณฑ์เอไมด์ที่ต่ำ 

ควรสังเคราะห์เอไมด์จากแอซิดคลอไรด์ (acid chloride) ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เอไมด์ในปริมาณที่สูง