แสงเชิงฟิสิกส์: สะท้อน หักเห แทรกสอด เลี้ยวเบน
แสงเชิงเรขาคณิต: กระจก เลนส์และการมองเห็น

แสงเชิงฟิสิกส์: สะท้อน หักเห แทรกสอด เลี้ยวเบน (2)

ยอดวิว 46.7k

แบบฝึกหัด

EASY

แสงเชิงฟิสิกส์: สะท้อน หักเห แทรกสอด เลี้ยวเบน (2)

MEDIUM

แสงเชิงฟิสิกส์: สะท้อน หักเห แทรกสอด เลี้ยวเบน (2)

HARD

แสงเชิงฟิสิกส์: สะท้อน หักเห แทรกสอด เลี้ยวเบน (2)

เนื้อหา

การแทรกสอดของแสง
ผ่านสลิตคู่

ในปี ค.ศ 1984 Thomas Young ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าแสงมีคุณสมบัติความเป็นคลื่น ซึ่งมีคุณสมบัติในการแทรกสอด (interference) และการเลี้ยวเบน (diffraction) ได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับคลื่นเสียงรวมถึงคลื่นในน้ำ
โดยในการทดลองนั้นได้มีการออกแบบการทดลองไว้ดังภาพ ในบทนี้เราจะพิจารณาการแทรกสอดของแสงผ่านช่องเปิดคู่หรือสลิตคู่ (double slit)

สมมุติว่าแสงที่ผ่านเข้ามา (incident wave) เป็นแสงสีเดียว (monochromatic light) เคลื่อนที่ผ่านสลิตตัวแรก open parentheses s subscript 0 close parenthesesที่ตำแหน่ง A จะเกิดการเลี้ยวเบน ไปเจอกับสลิตคู่อีก 2 ตัวคือ s subscript 1และ s subscript 2 ที่ตำแหน่ง B แสงที่ผ่านสลิตทั้ง 2 สลิตนี้เปรียบเสมือนแหล่งกำเนิดเคลื่อนสองแหล่งกำเนิด เมื่อคลื่นเกิดการแผ่ออกไปจากสลิตคู่นี้จะมาซ้อนทับกันที่ฉากรับภาพ (ตำแหน่ง C)
  • ถ้าคลื่นแสงเกิดการแทรกสอดเสริมกัน (constructive interference) จะปรากฏเป็นแถบสว่าง
  • หากคลื่นเกิดการแทรกสอดแบบหักล้างกัน (destructive interference) จะปรากฏเป็นแถบมืด
ตัวอย่าง ภาพของการแทรกสอดของแสงผ่านสลิตคู่แสดงดังภาพด้านล่าง

ในการวิเคราะห์การแทรกสอดของแสงเราจะพิจารณาตามไดอะแกรมดังภาพด้านล่างนี้
สามารถคำนวณหาตำแหน่งของแถบมืดและแถบสว่างบนฉากรับได้ตามสมการของการแทรกสอดของแสงผ่านสลิตคู่
  • แถบสว่าง คือ d sin theta equals d x over D equals space n lambda    เมื่อ n=1,2,3,...
  • แถบมืด คือ d sin theta equals d x over D equals left parenthesis n minus 1 half right parenthesis lambda  เมื่อ n=1,2,3,...
  • โดยที่
     d หมายถึง ระยะห่างระหว่างสลิต (ช่องแคบ)
                   ทั้ง 2 ช่อง
     x หมายถึง ระยะห่างระหว่างแถบสว่างกลางไปจนถึง
                   แถบมืดหรือแถบสว่างที่เราสนใจ (จุดP)
    D หมายถึง ระยะห่างระหว่างสลิตไปถึงฉากที่รับภาพ
    theta คือ มุมระหว่างแกนกลางกับเส้นที่ลากไปถึงแถบมืด
            หรือแถบสว่างที่เราสนใจ (จุด P)
    n แสดงถึงตำแหน่งของแถบสว่างเช่น
                 n=1 หมายถึงแถบสว่างที่ 1
    lambda หมายถึงความยาวคลื่นชองแสงที่สนใจ
ในบางกรณีระยะห่างของแถบสว่างหรือแถบมืดใดๆ จากแถบสว่างกลาง ระยะ x มีค่าน้อยกว่าระยะ D มากๆ ดังนั้นมุม θ จึงมีค่าน้อยมาก จนสามารถประมาณได้ว่า sin theta space almost equal to tan theta equals space space x over D
ดังนั้นจะได้สมการของการแทรกสอดของแสงจากสลิตคู่สามารถเขียนใหม่ได้เป็น
  • แถบสว่าง คือ d equals x over D equals n lambda  เมื่อ n=1,2,3,...
  • แถบมืด คือ d x over D equals open parentheses n minus 1 half close parentheses lambda  เมื่อ n=1,2,3,...
การหาระยะห่างระหว่างแถบสว่าง 2 แถบที่ติดกัน หรือแถบมืด 2 แถบที่ติดกัน (∆x) จะมีระยะห่างเท่ากัน สามารถหาได้จาก
                      increment x equals fraction numerator lambda D over denominator d end fraction
การคำนวนการซ้อนทับกันของแสงสว่างบนฉาก
ถ้าฉายแสงที่มีความยาวคลื่นสองค่าเป็น lambda subscript 1 และ  lambda subscript 2 ผ่านสลิตคู่ซึ่งมีระยะห่างระหว่างสลิตเป็น d และไปแทรกสอดกันบนฉากซึ่งห่างออกไปเป็นระยะ D แล้ว แถบสว่างที่เกิดจากการแทรกสอดของแสง lambda subscript 1 และแถบสว่างที่เกิดจากการแทรกสอดของแสง lambda subscript 2 ที่ปรากฏบนฉากจะมีโอกาสทับกันได้ ตำแหน่งนั้นแถบสว่างจากแสงทั้งสองบนฉาก จะต้องเบี่ยงเบนไปจากแนวสว่างกลางเป็นมุมเท่ากัน หรือห่างจากแนวสว่างกลางเป็นระยะห่างเท่ากัน

ถ้าให้แถบสว่างที่ n subscript 1 ของแสง lambda subscript 1 ทับอยู่กับแถบสว่างที่ n subscript 2 ของแสง lambda subscript 2 จะได้ว่า

  • แถบสว่างของแสง lambda subscript 1 ; d sin theta equals n subscript 1 lambda subscript 1 space space... left parenthesis 1 right parenthesis
  • แถบสว่างของแสง lambda subscript 2 ; d sin theta equals n subscript 2 lambda subscript 2 space space end subscript space... open parentheses 2 close parentheses

จากสมการ (1) และ (2) เนื่องจากมุม θ หรือระยะ x เท่ากันจะได้            

          d sin theta equals d x over D equals n subscript 1 lambda subscript 1 equals n subscript 2 lambda subscript 2