เสียง: ความเข้มเสียง การสั่นพ้อง ดอปเปลอร์ (3)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

เสียง: ความเข้มเสียง การสั่นพ้อง ดอปเปลอร์ (3) (ชุดที่ 1) Pre test

MEDIUM

เสียง: ความเข้มเสียง การสั่นพ้อง ดอปเปลอร์ (3) (ชุดที่ 2) Post test

HARD

เสียง: ความเข้มเสียง การสั่นพ้อง ดอปเปลอร์ (3) (ชุดที่ 3) Post test

เนื้อหา

เสียง (3)

การได้ยิน

  • กำลังเสียง (Power, Ps): พลังงานเสียงจากแหล่งกำเนิดต่อเวลา (J/s หรือW)
  • ความเข้มเสียง (Intensity, I): กำลังเสียงที่แผ่ออกไปต่อพื้นที่ของหน้าคลื่นทรงกลม (W/m2), ความเข้มเสียงต่ำสุดที่หูของมนุษย์สามารถได้ยิน 10-12 W/m2, ความเข้มเสียงสูงสุดที่หูของมนุษย์สามารถทนได้ 1 W/m2
      

    • กราฟความเข้มเสียง I กับ r2
  • ระดับความเข้มเสียง (sound level, β): บอกระดับความดังของเสียง หน่วยเดซิเบล (Decibel scale, dB), ระดับความเข้มเสียงต่ำสุดที่หูของมนุษย์สามารถได้ยิน 0 dB, ระดับความเข้มเสียงสูงสุดที่หูของมนุษย์สามารถทนได้และไม่เป็นอันตราย 120 dB

      
    หรือในหน่วย bel

     

    เมื่อ I0 = ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษย์สามารถได้ยิน 10-12 W/m2

    ความเข้มสัมพัทธ์


          I subscript r equals I over I subscript 0
    • กราฟระดับความเข้ม (β) กับ log I



            beta equals 10 l o g I over I subscript 0
space space equals 10 l o g I over 10 to the power of negative 12 end exponent
space space equals space 10 log left parenthesis I space cross times space 10 to the power of 12 right parenthesis
space space equals space space 10 left square bracket log space I space plus space log 10 to the power of 12 right square bracket
beta space equals space 10 space log space I space plus space 120
space space space
space space space

    เทียบสมการเส้นตรง   

                   y = ax+b   
  • เป็นกราฟเส้นตรง,ไม่ผ่านจุด origin,
    (ตัดแกนที่จุด +120)

** เสียงที่มนุษย์ฟังได้
ความถี่ f             20-20,000 Hz
ความเข้ม            10-12 – 1 วัตต์/ตารางเมตร

มลภาวะทางเสียง

มลภาวะทางเสียง เป็นสภาวะที่มีการก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์ สัตว์ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ

ทั้งนี้ แหล่งที่มาของเสียงภายนอกทั่วโลกส่วนใหญ่มาจากการก่อสร้างและระบบการขนส่ง รวมทั้ง เสียงรบกวนจากพาหนะยานยนต์, เครื่องบิน และรถไฟ หรือแม้แต่การวางผังเมืองที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงได้เช่นกัน และทางด้านแหล่งอุตสาหกรรมข้างเคียง ตลอดจนการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยก็อาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงในพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยได้เช่นกัน

มลภาวะทางเสียงทั้งภายในและภายนอกอาคารมีหลายชนิด อาทิ เสียงเตือนภัยจากรถ, เสียงไซเรนสัญญาณฉุกเฉิน, อุปกรณ์เครื่องกล, พลุ, ฮอร์นบีบอัดอากาศ, เครื่องเจาะถนน, เสียงสุนัขเห่า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, การแสดงแสงสีเสียง, ระบบเสียงเพื่อความบันเทิง, โทรโข่งไฟฟ้า และเสียงตะโกนจากมนุษย์

  • ผลกระทบ

ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง

- ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

  1. หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 82 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
  2. หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานาน ๆ

ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง

ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ

ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง

ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี