การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (2) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (2) (ชุดที่ 2)

HARD

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (2) (ชุดที่ 3) Post test

เนื้อหา

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 2 ข้อ

  1. ขนาดของแรงสู่สมดุลแปรผันตรงกับขนาดของ
    การกระจัดจากจุดสมดุล

    แรงสู่สมดุล คือ แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่กลับมาอยู่ตำแหน่งสมดุล (เช่น จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่)
    F∝x
  2. ทิศทางของแรงสู่สมดุลจะตรงข้ามกับการกระจัดเสมอ
    ตัวอย่างที่ดีในการอธิบายคือ สปริงที่ติดมวล m ไว้ปลายสปริง



รูปที่ 1 แสดงการเคลื่อนที่ของมวลติดสปริง
ที่แสดงออกถึงการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
โดยแรงสปริงนี้จะเป็นไปตามกฎของฮุก (Hooke’s law)
ที่ว่าด้วยสมการ   stack F space with rightwards arrow on top equals negative k x with rightwards arrow on top space
**เครื่องหมายลบ บ่งบอกถึงทิศทางว่าแรงและการกระจัด
จะมีทิศตรงข้ามกันเสมอ**

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายนั้นเป็นการเคลื่อนที่ในรูปแบบของคลื่น โดยคลื่นดังกล่าวเขียนเป็นฟังก์ชั่น sine และ cosine ได้ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

การกระจัดbegin mathsize 14px style x left parenthesis t right parenthesis equals A sin left parenthesis omega t right parenthesis end stylebegin mathsize 14px style x left parenthesis t right parenthesis equals A cos left parenthesis omega t right parenthesis end style
ความเร็วbegin mathsize 14px style v left parenthesis t right parenthesis equals omega A cos left parenthesis omega t right parenthesis end stylebegin mathsize 14px style v left parenthesis t right parenthesis equals negative omega A sin left parenthesis omega t right parenthesis end style
ความเร็ว
มากสุด
begin mathsize 14px style v subscript m a x end subscript equals omega A end stylebegin mathsize 14px style v subscript m a x end subscript equals omega A end style
ความเร่งbegin mathsize 12px style a left parenthesis t right parenthesis equals negative omega squared A s i n left parenthesis omega t right parenthesis
a left parenthesis t right parenthesis equals negative omega squared x end stylebegin mathsize 12px style a left parenthesis t right parenthesis equals negative omega squared A c o s left parenthesis omega t right parenthesis
a left parenthesis t right parenthesis equals negative omega squared x
end style
ความเร่ง
มากสุด
begin mathsize 14px style a subscript m a x end subscript equals omega squared A end stylebegin mathsize 14px style a subscript m a x end subscript equals omega squared A end style
สูตรหา
ความเร็ว

ตำแหน่ง
ต่างๆ
begin mathsize 14px style v equals omega square root of A squared minus x squared end root end style

begin mathsize 14px style v equals omega square root of A squared minus x squared end root end style

กราฟของการเคลื่อนที่
แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย



รูปที่ 3 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง x,v,a เทียบกับ t
โดยหากพิจารณาจากกราฟ เฟสของกราฟ v-t
จะนำกราฟ x-t อยู่ 90 องศา และทำนองเดียวกัน
เฟสของกราฟ a-t จะนำกราฟ v-t อยู่ 90 องศา

ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

  1. มวลติดสปริง

    จาก 
                   omega equals k over m
T equals 2 pi square root of m over k end root
    หมายเหตุ: T ในสมการนี้คือคาบของการเคลื่อนที่มีหน่วยเป็น วินาที (s)

    • ในการคิดค่านิจสปริงจะมี 3 แบบ
      1. ถ้าตัดสปริงให้มีความยาวน้อยลง ค่านิจสปริงจะมีค่ามากขึ้น
      2. การต่อสปริงขนานกัน ค่านิจปริงจะนำบวกกันได้เลย

        k subscript n e t end subscript equals k subscript 1 plus k subscript 2 plus k subscript 3
      3. การต่อสปริงอนุกรมกัน ค่านิจสปริงจะรวมแบบเศษส่วน
        1 over k subscript n e t end subscript equals 1 over k subscript 1 plus 1 over k subscript 2 plus 1 over k subscript 3
  2. การแกว่งลูกตุ้มอย่างง่าย (Simple Pendulum)
    เป็นการแกว่งไปมาเป็นมุมเล็กๆของลูกตุ้มหรือมวลที่แขวนอยู่ปลายเชือกไม่ยืด หากปล่อยให้วัตถุเริ่มเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่ง ๆ วัตถุจะเคลื่อนที่ไปมาเป็นฮาร์โมนิกอย่างง่าย
    *หมายเหตุ: มุมในรูปที่วาดมีขนาดใหญ่เพื่อความง่ายในการมอง แต่การสั่นแบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายจะเกิดขึ้นตอนที่มุมมีค่าน้อยๆเท่านั้น
    จาก      omega equals square root of g over l end root
    จะได้ว่า    T equals 2 pi square root of l over g end root

ความถี่ธรรมชาติ 

ความถี่ธรรมชาติ คือ ความถี่ในการแกว่งอย่างอิสระของวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น การแกว่งของลูกตุ้มที่ถูกผูกไว้ด้วยเชือก ถ้าเชือกที่ใช้ผูกลูกตุ้มสั้น ลูกตุ้มก็จะแกว่งด้วยความถี่สูงหรือกล่าวให้เข้าใจง่ายคือเชือกสั้นลูกตุ้มก็จะแกว่งเร็ว ในขณะที่หากเชือกที่ใช้ผูกลูกตุ้มยาว ลูกตุ้มก็จะแกว่งช้าๆ นั่นคือ ลูกตุ้มที่ถูกผูกไว้ด้วยเชือกที่ยาวต่างกันก็จะแกว่งด้วยความถี่ธรรมชาติที่ต่างๆกันนั่นเอง
  • ความถี่ธรรมชาติในการแกว่งของลูกตุ้ม 
    คำนวณได้จาก f equals fraction numerator 1 over denominator 2 straight pi end fraction square root of g over l end root
  • ความถี่ธรรมชาติในการสั่นของมวลติดสปริง
    คำนวณได้จาก f equals fraction numerator 1 over denominator 2 straight pi end fraction square root of k over m end root