ปรากฏการณ์คลื่น และสมบัติของคลื่น (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ปรากฏการณ์คลื่น และสมบัติของคลื่น (2) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

ปรากฏการณ์คลื่น และสมบัติของคลื่น (2) (ชุดที่ 2)

HARD

ปรากฏการณ์คลื่น และสมบัติของคลื่น (2) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

คลื่นกล (2)

สมบัติของคลื่น

  • การสะท้อน (Reflection)
  • การหักเห (Refraction)
  • การแทรกสอด (Interference)
  • การเลี้ยวเบน (Diffraction)
การสะท้อนและการหักเหเป็นสมบัติที่พบได้ทั้งคลื่นและอนุภาค ซึ่งการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนนั้นเป็นสมบัติเฉพาะตัวของคลื่น
  1. การสะท้อนของคลื่น
    เมื่อคลื่นไป ตกกระทบสิ่งที่กีดขวาง จะเกิดการสะท้อนได้ตาม กฎการสะท้อน
    • มุมตกกระทบ (theta subscript 1) เท่ากับมุมสะท้อน (theta subscript 2)
    • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติ ต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
    • การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก แยกพิจารณาไต้ 2 กรณี คือ
      1.1. ถ้าปลายเชือกมัดไว้แน่น คลื่นสะท้อนมีเฟสตรงข้ามกับคลื่นตกกระทบ
      1.2. ถ้าปลายเชือกมัดไว้หลวม ๆ (จุดสะท้อนไม่คงที่) คลื่นสะท้อนมีเฟสตรงกันกับคลื่นตกกระทบ
  2. การหักเหของคลื่น
    เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นต่างกัน จะทำให้อัตราเร็ว (v) แอมปลิจูด (A) และความยาวคลื่น (lambda ) เปลี่ยนไป แต่ความถี่จะคงเดิม



    เกี่ยวกับการหักเหผ่านน้ำตื้นน้ำลึก
    เมื่อคลื่นเคลื่อนจากน้ำตื้น ลงไปสู่น้ำลึก ค่า lambda, A และ v จะมากขึ้นกว่าในน้ำตื้นเสมอ แต่ค่า f จะ คงที่
    กฎของสเนลล์     fraction numerator sin theta subscript 1 over denominator sin theta subscript 2 end fraction equals v subscript 1 over v subscript 2 equals lambda subscript 1 over lambda subscript 2 equals n subscript 21
    เมื่อ theta subscript 1 และ theta subscript 2 คือ มุมในตัวกลางที่ 1 และ 2
                             ตามลำดับ
    v subscript 1 และ v subscript 2 คือ ความเร็วคลื่นในตัวกลางที่ 1 และ
                       2 ตามลำดับ 
    lambda subscript 1และ lambda subscript 2 คือ ความยาวคลื่นในตัวกลางที่ 1 และ
                       2 ตามลำดับ 
    n subscript 21 คือ ค่าคงที่ เรียกชื่อว่า ดัชนีหักเหของตัวกลาง
               ที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1
ค่าดัชนีหักเหของตัวกลาง สามารถหาได้จากอัตราส่วนระหว่างความเร็วของแสงในสุญญากาศ (c) ต่อความเร็วของแสงในตัวกลาง (v) 
                          n equals c over v
มุมวิกฤติ (theta subscript c ) คือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเห มีค่าเป็น 90 องศา