การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (1) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (1) (ชุดที่ 2)

HARD

การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย (1) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก
อย่างง่าย

  •  กราฟการกระจัด แอมพลิจูด คาบ ความถี่ เฟส
“การเคลื่อนที่แบบฮาโมนิกอย่างง่าย คือ
รูปแบบการเคลื่อนที่แบบสั่นกลับไปกลับมา
ผ่านจุดสมดุลคงที่จุดหนึ่งโดยมีแอมพลิจูดและคาบคงที่”


รูปที่ 1 รูปแบบการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
โดยมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาผ่านตำแหน่งสมดุล
(equilibrium position) แสดงด้วยเส้นประดังรูป


รูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายของอนุภาคหนึ่ง ที่มีการสั่นกลับไปกลับมาในแนวการเคลื่อนที่ขนานกับแนวระดับผ่านจุดสมดุลโดยมี
“คาบและแอมพลิจูดคงที่”

ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก

ในระดับนี้จะเขียนด้วยฟังก์ชัน sine และ cosine ตามมุมเฟสเริ่มต้นดังนี้

  • เริ่มเคลื่อนที่ที่ตำแหน่งสมดุล
    (เฟสเริ่มต้นเท่ากับ 0 rad)
    จะมีสมการการกระจัดในรูป sine คือ  x left parenthesis t right parenthesis equals A sin left parenthesis omega t right parenthesis


   รูปที่ 3 กราฟการกระจัด (x) กับเวลา (t)
ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
ที่เวลา t=0 การกระจัด x=0

  • เริ่มเคลื่อนที่ที่ตำแหน่งไกลสุดจากตำแหน่งสมดุล (เฟสเริ่มต้นเท่ากับ pi over 2 rad)
    จะมีสมการการกระจัดในรูป cosine คือ x left parenthesis t right parenthesis equals A cos left parenthesis omega t right parenthesis

    รูปที่ 4 กราฟการกระจัด (x) กับเวลา (t)
    ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
    ที่เวลา t=0 การกระจัด x=A

ปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

   ตามสมการ  x=Asin(ωt)  หรือ  x=Acos(ωt)
  • การกระจัด (x) คือ การวัดระยะห่างระหว่างวัตถุถึงจุดสมดุลมีหน่วยเป็น เมตร (m)
  • แอมพลิจูด (A) คือ การกระจัดของการสั่นมากที่สุดโดยวัดจากจุดสมดุลไปจุดไกลสุดของการสั่น
    มีหน่วยเดียวกับการกระจัดนั่นคือ เมตร (m)
  • เวลา (t) คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่เพื่อหาขนาดของการกระจัดที่เวลานั้น ๆ จากสมการข้างต้นมีหน่วยเป็น วินาที (s)
  • ความถี่เชิงมุม (ω) ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก
    มีหน่วยเป็นเรเดียนต่อวินาที (rad/s)
    มีค่าเท่ากับ omega equals fraction numerator 2 pi over denominator T end fraction หรือ omega equals 2 pi f
  • คาบ (T) คือ เวลาที่วัตถุใช้ในการสั่นครบ 1 รอบ
    มีหน่วยเป็น วินาที (s)
  • ความถี่ (f) คือ จำนวนรอบที่วัตถุสั่นใน 1 วินาที
    มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาทีหรือ Hz
    space space space space space space space ทบทวน space space space f equals fraction numerator 1 space over denominator T end fraction space comma space space T equals fraction numerator 1 space over denominator f end fraction

Trick  เมื่อการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกครบ 1 รอบ
          ใช้เวลา 1 คาบจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 4 เท่า
          ของแอมพลิจูด แต่การกระจัดจะเป็น 0

  • เฟส (ϕ) คือการบอกตำแหน่งของการสั่นเมื่อเทียบกับ
    การเคลื่อนที่เป็นวงกลม มีหน่วยเป็นเรเดียน (rad)

    ทบทวน มุม 360 degree เท่ากับ 2 straight pi space rad