วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

วัฏจักรชีวิตของพืชดอก (ชุดที่ 1)

HARD

วัฏจักรชีวิตของพืชดอก (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

วัฏจักรชีวิตของพืชดอก


วงจรชีวิตของพืชนั้นมีความหลากหลายสูงมาก และ มีลักษณะเป็นวงจรชีวิตแบบสลับ (double life cycle) ได้แก่

 - วงจรชีวิตระยะ sporophyte ที่มีโครโมโซมเป็น 2N


 - วงจรชีวิตระยะ gametophyte ที่มีโครโมโซม N


พืชชั้นต่ำวงจรชีวิตระยะ gametophyte จะเด่นกว่า sporophyte เช่น ในมอสหรือลิเวอร์เวิร์ดจะมีระยะ gametophyte ยาวนานกว่าระยะ sporophyte
พืชดอกนั้นระยะเด่นของพืชเป็นระยะ sporophyte คือ พืชที่ยืนต้นที่พบทั่วไป และระยะ gametophyte นั้นถูกลดรูปเหลือแค่โครงสร้างของดอกในระยะที่พืชออกดอกเท่านั้น 


โครงสร้างของดอก

     ดอกของพืช คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากกิ่ง เพื่อการสืบพันธุ์ และทำหน้าที่ดึงดูดแมลงเข้ามาช่วยผสมเกสรให้พืช


รยางค์ของดอกเรียงตัวเป็นวงรอบๆฐานรองดอก

ครงสร้างของดอกนั้นประกอบด้วย 4 ชั้น คือ

  • ชั้นกลีบเลี้ยง (calyx) เป็นชั้นนอกสุดของดอกไม้ ประกอบด้วกลีบเลี้ยง (sepal)
    ทำหน้าที่ปกป้องดอกในขณะที่ยังเจริญไม่เต็มที่

  • ชั้นกลีบดอก (corolla) ประกอบด้วย กลีบดอก (petal) เป็นชั้นที่ใบเปลี่ยนไปทำหน้าที่ดึงดูดแมลงมาช่วยผสมเกสรให้กับพืช มักมีการสะสมรงควัตถุสีสันต่าง ๆ 

  • ชั้นเกสรเพศผู้ (androecium) ประกอบด้วย เกสรเพศผู้ (stamen) เป็นชั้นที่ใบของพืชประกอบเป็นส่วนของก้านชูอับละอองเรณู (filament) และอับละอองเรณู (anther) เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสร้างละอองเรณู ภายในประกอบไปด้วย microspore mother cell ที่จะแบ่งตัวแบบ meiosis ให้ microspore ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นละอองเรณู (pollen) ในละอองเรณูจะประกอบด้วยเซลล์สองเซลล์คือ generative nucleus และ tube nucleus

  • ชั้นเกสรเพศเมีย (gynoecium) เป็นชั้นของใบที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่สร้างโครงสร้างระบบสืบพันธุ์เพศเมีย โดยปลายยอดเป็นจุดรับ pollen ที่เรียกว่า stigma ถัดลงมาเป็นก้านชูเกสรเพศเมีย (style) และด้านล่างเป็นที่อยู่ของรังไข่ที่จะสร้าง ovule 
           การสร้าง ovule จะเริ่มจาก megaspore mother cell ทำการแบ่งเซลล์แบบ meiosis 2 ครั้ง ได้เป็น 4 เซลล์ ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน เซลล์ที่ใหญ่สุดจะทำการแบ่งนิวเคลียสต่อแบบ mitosis อีก 3 ครั้งได้เป็น 1 cell 8 นิวเคลียส ก่อนที่จะแบ่งเยื่อหุ้มเซลล์ออกเป็น 7 เซลล์ 3 กลุ่ม
    • กลุ่มแรกอยู่ด้านรู micropyle ประกอบด้วย ovule 1 เซลล์ และ synergids cell 2 เซลล์
    • กลุ่มที่อยู่ตรงกลาง เป็น 1 เซลล์ แต่มี 2 นิวเคลียส คือ polar nucleus
    • กลุ่มที่สามอยู่ตรงข้ามรู micropyle มี 3 เซลล์เรียกว่า antipodal ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ใน embryo sac     

     โครงสร้างของรังไข่นั้นมีได้หลากหลายขึ้นกับการประกอบกันของใบที่มารวมตัวกัน โดยรอยต่อของขอบใบจะเป็นจุดที่สร้าง ovule 

     ส่วนประกอบของดอกทั้งหมดนั้นจะอยู่บนส่วนของพืชที่เรียกว่า ฐานรองดอก (receptacle) เราสามารถแบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่มจากตำแหน่งของรังไข่กับ receptacle ได้คือ

  1. superior ovary
      คือ พืชที่รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก

  2. inferior ovary
      คือ พืชที่รังไข่อยู่ต่ำกว่าฐานรองดอก  

  3. half inferior ovary
      คือ พืชที่รังไข่จะจมอยู่ในฐานรองดอกส่วนหนึ่ง

      และจำนวนของดอกบนก้านดอกกับจำนวนรังไข่ที่มีในแต่ละดอกนั้น ทำให้เกิดชนิดของดอกต่าง ๆ กัน

   1. ดอกเดี่ยว (solitary flower) คือ ดอกหนึ่งดอกบนหนึ่งก้านดอก เช่น ดอกกุหลาบ ดอกบัว
   2. ดอกช่อ (inflorescences) คือ ดอกที่อยู่รวมกันหลายดอกบนก้านดอกก้านเดียว เช่น กล้วยไม้ เข็ม ราชพฤกษ์ ทานตะวัน ดาวเรื่อง เฟื่องฟ้า เป็นต้น
   3. ดอกรวม (common receptacle) คือ ดอกช่อที่ก้านช่อดอกสั้นมากจนดูเหมือนเป็นดอกเดี่ยว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง ดาวกระจาย

ทีมผู้จัดทำ