เนื้อเยื่อพืช หน้าที่หลักโครงสร้างของราก
รากพืชสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะการเจริญได้ดังนี้
- ส่วนบริเวณหมวกราก (Region of root cap) ประกอบจากเซลล์ Parenchyma
อย่างหลวม ๆ มีผนังเซลล์บาง ฉีกขาดได้ง่าย ทำให้เกิดเมือกรอบ ๆ หมวกรากช่วยในการชอนไชไปในดิน
อีกทั้งช่วยปกป้องส่วนอื่นของรากระหว่างที่รากแทรกตัวในเนื้อดิน - ส่วนบริเวณแบ่งเซลล์ (Region of cell division) จะสังเกตได้จากรูปร่างของเซลล์เป็นทรงกลม
ผนังเซลล์บาง อยู่ถัดขึ้นมาจากหมวกราก ทำหน้าที่แบ่งเซลล์ตลอดเวลา ทั้งสองด้าน โดยแบ่งลงด้านล่างเป็นส่วนของหมวกราก และ แบ่งขึ้นเป็นส่วนของรากด้านบนต่อไป - ส่วนบริเวณเซลล์ยืดตามยาว (Region of cell elongation) จะสังเกตได้จากเซลล์มีรูปร่างยืดยาวในแนวตั้ง ในบริเวณนี้เซลล์จะไม่มีการเพิ่มจำนวนแล้ว แต่มีการยืดยาวของเซลล์ทำให้บริเวณนี้ยืดยาวขึ้นช่วยเพิ่มความยาวของราก
- ส่วนบริเวณการเปลี่ยนสภาพและการเจริญของเซลล์ (Region of cell differentiation and Maturation) จะสังเกตได้จากการที่เซลล์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปสู่สภาพเต็มวัย เช่น เกิดเซลล์ขนราก เซลล์ในบริเวณนี้จะเจริญและพัฒนาเต็มที่ จะไม่มีการเพิ่มจำนวนหรือขยายขนาดอีก
โครงสร้างของรากเมื่อตัดตามขวาง
รากนั้นมีการเจริญเติบโตทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิการเจริญของรากระยะปฐมภูมิ
เป็นการเจริญของรากที่เกิดในช่วงแรก หลังจากมีการแบ่งเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ แล้ว สามารถแบ่งได้ดังนี้โครงสร้างของรากปฐมภูมินั้นประกอบด้วย
- ชั้น Epidermis ที่เป็นเซลล์ชั้นเดียว(ยกเว้นรากกล้วยไม้ มี epidermis 2 ชั้น) ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ ไม่มีการเคลือบด้วยสาร Cutin มีขนรากช่วยเพิ่มการดูดซึมน้ำและสารอาหาร
- ชั้น Cortex เป็นชั้นที่อยู่ถัดเข้ามาจากผิวนอกจนถึงชั้น Stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ Parenchyma เป็นหลักมักมีการสะสมแป้งในเนื้อเยื่อชั้นนี้ ในรากชั้นในสุดของ Cortex จะมีชั้น Endodermis ที่มีแถบของเซลล์ที่มีการสะสม Suberin เป็นชั้นหนา กันการผ่านเข้าออกของน้ำระหว่างผนังเซลล์ เรียกแถบนี้ว่า Casparian strip
- ชั้น Stele เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของรากพืชโดยประกอบด้วยมัดของท่อลำเลียงน้ำและอาหาร และเนื้อเยื่ออื่น ๆ แบ่งออกได้เป็นสามชั้นย่อยคือ
- ชั้น Pericycle เป็นชั้นนอกสุดของ Stele อาจจะมีความหนา 1 ถึง 2 ชั้นเซลล์ เจริญมาจาก Procambium มีหน้าที่ในการเกิดรากแขนง
และชั้นนี้มีความสามารถที่จะเปลี่ยนกลับมาเป็นเนื้อเยื่อเจริญ Cork cambium ได้ - ชั้น Vascular bundle เป็นชั้นของเซลล์กลุ่มท่อลำเลียง โดยมีทั้งท่อลำเลียงน้ำและอาหารเรียงตัวอยู่เป็นแฉกสามารถใช้ในการจำแนกชนิดของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ได้ โดยในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีจำนวนแฉกของ Xylem มากกว่า 6 แฉก แต่ในพืชใบเลี้ยงคู่จำนวนแฉกของ Xylem จะอยู่ที่ 4-6 แฉกขณะที่ท่อลำเลียงอาหาร (Pholem) จะพบแทรกตัวอยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียงน้ำ
- ชั้น Pith เป็นชั้นเนื้อเยื้อที่อยู่ในสุดของรากพืช ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักเป็นเนื้อเยื่อ Parenchyma ขณะที่ในรากพืชใบเลี้ยงคู่ชั้นนี้มักเป็นส่วนของเนื้อเยื่อ Xylem
การเจริญของรากระยะทุติยภูมิ
มักพบในพืชใบเลี้ยงคู่เป็นส่วนใหญ่ โดยการเจริญจะเกิดแทรกในส่วนชั้น Stele- เนื้อเยื่อส่วน Pericycle จะเปลี่ยนตัวเองกลับไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญ Vascular cambium
- สร้าง Secondary xylem เข้าด้านในและสร้าง Secondary phloem ออกด้านนอก การเกิดลักษณะเช่นนี้นอกจากจะทำให้ลักษณะแฉกของท่อลำเลียงหายไป แล้วยังทำให้เกิดโครงสร้างคล้ายวงปีในลำต้นได้อีกด้วย
- เซลล์ในชั้น Pericycle ยังสามารถเปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อ Cork cambium เพื่อทำหน้าที่สร้างเปลือกรากแทนเนื้อเยื่อชั้น Epidermis เดิมที่ฉีกขาดจากการขยายตัวของรากและในชั้นนี้ยังสามารถเกิดรากแขนงได้อีกด้วย ซึ่งลักษณะนี้จะไม่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเนื่องจากชั้น Pericycle ไม่เกิดการเปลี่ยนกลับไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญ
เปรียบเทียบโครงสร้างตัดตามขวางของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

อ้างอิง https://diffzi.com/dicot-root-vs-monocot-root/
| รากพืชใบเลี้ยงคู่ | รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
pericycle | มีการเจริญออกด้านข้าง เกิดบริเวณคอร์ค แคมเบียม และ วาสคูลาร์ แคมเบียม | มีเพียงการเจริญออกด้านข้าง |
pith | ไม่พบ pith | พบ pith ขนาดใหญ่ และเจริญได้ดี |
xylem & phloem | มีจำนวนจำกัด | พบได้จำนวนมากเห็นได้ชัดเจน |
secondary growth | มีการเจริญขั้นทุติยภูมิ | ไม่พบการเจริญขั้นทุติยภูมิ |
การปรับตัวของรากทำหน้าที่พิเศษ
1. รากสะสมอาหาร เช่น หัวไชเท้า แครอท มันเทศ มันแกว กระชาย มันสำปะหลัง
2. รากหายใจที่มีปลายรากโผล่จากพื้นดินหรือพื้นน้ำ เช่น แสม ลำพู
3. รากที่ทำหน้าที่ค้ำยันลำต้น เช่น รากโกงกาง ไทร รากต้นเตยทะเล
4. รากที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น กล้วยไม้
5. รากที่ใช้ยึดเกาะกับผนัง เช่น รากพลูด่าง ตีนตุ๊กแก พริกไทย
6. รากกาฝากที่แทงเข้าไปในลำต้นพืชแล้วแย่งน้ำและอาหาร เช่น รากกาฝากมะม่วง รากต้นฝอยทอง
7. รากพูพอน (Buttress root) เป็นรากของพืชขนาดใหญ่ที่ขยายตัวช่วยในการค้ำจุนลำต้น
8. รากพิเศษ (Adventitious root) เป็นรากส่วนที่เจริญมาจากส่วนอื่นของพืชที่ไม่ใช่รากแก้ว เช่น รากที่ออกมาจากลำต้น