เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อให้พืชหาสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ CO2 และเป็นกระบวนการช่วยการลำเลียงน้ำมายังปลายยอดของพืชด้วยการคายน้ำ ทั้งสองกระบวนการอาศัยปากใบในการถ่ายเทสารต่าง ๆ
ดังนั้นการเปิดปิดปากใบจึงมีความสำคัญ เพราะเมื่อพืชเปิดปากใบเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส พืชจะสูญเสียน้ำออกไปในรูปไอน้ำด้วยเช่นกัน เรียกว่า การคายน้ำ (Transpiration) จากการคายน้ำ จะเกิดการดึงกันของโมเลกุลของน้ำภายในพืช เป็นแรงดึงจากการคายน้ำ (Transpiration pull) แรงดึงนี้จะทำให้พืชสามารถลำเลียงน้ำจากรากไปสู่ลำต้นที่อยู่สูงขึ้นไปในอากาศหลายสิบเมตรได้
นอกจากปากใบแล้ว ยังมีรอยแตกที่เปลือกของลำต้นที่เรียกว่า Lenticel ที่ทำหน้าที่ในการคายน้ำ แต่จะพบในพืชบางชนิด เช่น ต้นโมกบ้าน ต้นมะยม ต้นหม่อน เป็นต้น
เป็นโครงสร้างที่เกิดจากเซลล์ผิวของพืชที่เปลี่ยนรูปร่างไปทำหน้าที่พิเศษ เรียกว่า เซลล์คุม (Guard cell) เซลล์คุมมีรูปร่างโครงสร้างภายนอกคล้ายเมล็ดถั่ว หรือ ไต ของมนุษย์ในพืชใบเลี้ยงคู่ และ รูปร่างคล้ายดัมเบลหรือคล้ายกระดูกในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวประกบเข้าหากัน มีช่องตรงกลางที่เปิดปิดได้ เรียกว่า ปากใบ (Stoma)
การเปิดปิดปากใบเกิดจากการรับแสงสีน้ำเงินที่ความยาวคลื่น 400-500 nm ของตัวรับแสง แล้วกระตุ้นให้เกิดการปั๊ม H+ ออกจากเซลล์คุมและรับ K+ จากเซลล์รอบข้าง (Subsidiary cell) เข้ามา จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์และเกิดการดึงน้ำเข้าสู่เซลล์คุมจนเซลล์คุมเต่งขึ้น และปากใบเปิดออก เนื่องจากเซลล์คุมเองสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ทำให้เกิดน้ำตาลในเซลล์ จึงช่วยรักษาความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ไว้ให้คงที่ ทำให้ปากใบเปิดอยู่ตลอดเวลาช่วงที่ยังมีแสงอยู่ จนเข้าสู่กลางคืนกระบวนการจะย้อนกลับ K+ จะถูกปั๊มออกจากเซลล์คุมไปยังเซลล์ข้างเคียง ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์คุมลดลงต่ำกว่าเซลล์ข้างเคียง น้ำจึงแพร่ออกจากเซลล์คุมเมื่อเซลล์คุมเสียน้ำไป ทำให้เซลล์เหี่ยวลง และปากใบจะปิดลงในที่สุด
กระบวนการลำเลียงน้ำจะประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ การลำเลียงน้ำจากดินสู่ท่อลำเลียงน้ำในราก ถัดมาคือ การลำเลียงน้ำภายในท่อลำเลียงจากรากไปสู่ใบ และ การลำเลียงน้ำจากใบออกสู่สิ่งแวดล้อม
น้ำจากดินจะเข้าสู่พืชผ่านทางขนราก (Hair root) แล้วเข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ ของรากพืชด้วยกระบวนการดังนี้
การเคลื่อนที่ของน้ำนั้นจะเกิดด้วยรูปแบบใดก็ได้จนกว่าจะมาถึงชั้น Endodermis ภายในราก เซลล์ในชั้นนี้จะถูกเคลือบไว้ด้วยสาร
ซูเบอรินและลิกนิน เรียกแถบนี้ว่า Casparian strip ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านช่องว่างระหว่างผนังเซลล์ได้อีก น้ำต้องเคลื่อนผ่านเซลล์ด้วยกระบวนการ symplast เท่านั้น
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นจากแรงสามแรงคือ
ถ้าในสิ่งแวดล้อมมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมาก การระเหยของน้ำไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พืชจะคายน้ำส่วนเกินผ่านทางช่องเปิดของ Xylem คือ Hydathode ทำให้เกิดหยดน้ำเกาะตามขอบใบ เรียกกระบวนการนี้ว่า Guttation