หน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสารและการเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ของสารและการเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอ

MEDIUM

หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ของสารและการเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอ

HARD

หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ของสารและการเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอ

เนื้อหา

หน่วยวัดปริมาณสาร

การบอกปริมาณสาร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวเลข และ หน่วยวัด (unit) 

เนื่องจาก หน่วยวัดแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ จึงสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเลขและหน่วย โดยไม่ทำให้ปริมาณเดิมเปลี่ยนไปได้ ความสัมพันธ์ของหน่วยต่าง ๆ เขียนแทนด้วยอัตราส่วน ซึ่งเรียกว่า แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย (conversion factor) 

เมื่อนำ  แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย ไปคูณกับปริมาณที่มีหน่วยเหมือนกับส่วน จะได้หน่วยใหม่ แต่ปริมาณไม่เปลี่ยนแปลง (เนื่องจาก ทั้งเศษและส่วนมีปริมาณเท่ากัน)

ตัวอย่าง 

1 โมล = 6.02×1023  อนุภาค (อะตอม โมเลกุล ไอออน) เมื่อใช้ 1 โมล หารทั้งสองด้านจะได้เป็นดังนี้

หรือ ถ้าใช้ 6.02×1023  อนุภาค หารทั้งสองด้าน จะได้ดังนี้

หน่วยวัดปริมาณสารทางเคมีที่สำคัญอื่น ๆ

ได้แก่ กรัม ลูกบาศก์เดซิเมตรหรือลิตร เป็นต้น

โดยความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยวัดปริมาณสารทางเคมี แสดงดังต่อไปนี้

1 โมลอะตอม  มีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอม
1 โมลโมเลกุล  มีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลโมเลกุล
1 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร = 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1000 มิลลิลิตร
แก๊ส 1 โมล = 22.4 ลิตร (ลูกบาศก์เดซิเมตร) ที่ สภาวะมาตรฐาน ความดัน 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส (standard temperature and pressure, STP)

จากความสัมพันธ์ของหน่วยแต่ละหน่วย สามารถ เขียนในรูป แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย ได้เป็น


ตัวอย่าง

ตัวอย่าง เมทานอล (CH3OH)  3.01×1023 โมเลกุล มีมวลหนักกี่กรัม

โจทย์กำหนดจำนวนโมเลกุล ต้องการทราบมวล ดังนั้น ต้องเปลี่ยน โมเลกุล  rightwards arrow  เป็น โมล โดยใช้ แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย


และเปลี่ยน โมล เป็น  rightwards arrow  กรัม โดยใช้ แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย

ข้อสังเกต :  การคูณ ปริมาณที่กำหนด ให้คูณด้วย แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย จะคงเหลือหน่วยของเศษ ซึ่งเป็นหน่วยใหม่ที่ต้องการ