
สมบัติที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ มีสามารถในการรักษาสภาพ pH ของสารละลายเอาไว้ได้เมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อยลงไป กล่าวอีกในหนึ่ง คือ pH ของบัฟเฟอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากในสารละลายบัฟเฟอร์จะมีสารหรือไอออนที่ทำหน้าที่คอยควบคุมความเข้มข้นของ H3O+ และ OH- ในระบบให้คงที่ ซึ่งความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้เรียกว่า buffer capacity
สารละลายบัฟเฟอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน มีค่า pH ของสารละลายน้อยกว่า 7
ตัวอย่าง ของสารละลายบัฟเฟอร์ชนิดนี้ได้แก่ CH3COOH/CH3COONa HCN/KCN HCOOH/HCOONa และ HF/NaF เป็นต้น
2. สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน มีค่า pH ของสารละลายมากกว่า 7
ตัวอย่าง สารละลายบัฟเฟอร์ชนิดนี้ได้แก่ NH3/NH4Cl และ CH3NH2/ CH3NH4Cl เป็นต้น
สมมติให้สารละลายบัฟเฟอร์ของนักเรียนประกอบด้วย CH3COOH/CH3COONa กรดอะซีติก (CH3COOH) มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน
ซึ่งแตกตัวให้ CH3COO- และ H3O+ (แต่เนื่องจากเป็นกรดอ่อน โมเลกุลส่วนใหญ่จึงยังคงอยู่ในรูปของ CH3COOH)
เขียนปฏิกิริยาเคมีในส่วนนี้ได้เป็น
เกลือโซเดียมอะซีแตต (CH3COONa) สามารถแตกตัวได้ 100% ดังนั้น ในสารละลายจึงมี CH3COO- และ Na+ อยู่เป็นจำนวนมาก
เมื่อนักเรียนนำกรดอะซีติกและเกลือโซเดียมอะซีเตตมาผสมกัน จะทำให้สารละลายมีปริมาณ CH3COOH และ CH3COO- อยู่ในสารละลายในจำนวนที่ CH3COO- มีปริมาณที่มากกว่า เมื่อเทียบกับจำนวน CH3COO- ที่แตกตัวออกมาจากกรด CH3COOH เอง เมื่อทั้ง CH3COOH และ CH3COO- อยู่ในสภาวะสมดุล จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า บัฟเฟอร์
ซึ่งสามารถเขียนสมการแสดงสภาวะสมดุลของสารละลายบัฟเฟอร์ได้ว่า
(สมการนี้เรียกว่า Handerson Hasselbalch)
เติมกรด: หากนักเรียนเติมกรดลงไป สารละลายบัฟเฟอร์จะทำการกำจัด H+ ที่เพิ่มขึ้นมา โดยการนำ CH3COO- ไปทำปฏิกิริยากับกรด เกิดเป็น CH3COOH
จากสถานการณ์นี้ จำนวน CH3COO- มีค่าลดลง จำนวน CH3COOH มีค่าเพิ่มขึ้น แต่จำนวน H+ จะมีค่าคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก ทำให้ pH ของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก
เติมเบส: ในกรณีนี้ สารละลายบัฟเฟอร์จะทำการจำกัดเบสที่เติมมา โดยนำ CH3COOH มาทำปฏิกิริยากับ OH- เกิดเป็น CH3COO- และน้ำ
จากสถานการณ์นี้ จำนวน CH3COO- มีค่าเพิ่มขึ้น จำนวน CH3COOH มีค่าลดลง ทำให้จำนวน H+ มีค่าเท่าเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก ทำให้ pH ของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลง
สมมติให้สารละลายบัฟเฟอร์ของนักเรียนประกอบด้วย NH3/NH4Cl โดยแอมโมเนีย (NH3) มีคุณสมบัติเป็นเบสอ่อน
ซึ่งเมื่อแตกตัวในน้ำจะเกิดเป็น NH4+ และ OH- (แต่เนื่องจากเป็นเบสอ่อน โมเลกุลส่วนใหญ่จึงยังคงอยู่ในรูปของ NH3)
เขียนปฏิกิริยาเคมีการแตกตัวของ NH3 ได้เป็น
เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) สามารถแตกตัวได้ 100% ดังนั้น ในสารละลายจึงมี NH4+ และ Cl- อยู่เป็นจำนวนมาก
เมื่อนักเรียนนำแอมโมเนียและเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์มาผสมกัน จะทำให้สารละลายมีปริมาณ NH3 และ NH4+ อยู่ในสารละลายในจำนวนที่ปริมาณ NH4+ มีมากกว่าจำนวน NH4+ ที่แตกตัวออกมาจากแอมโมเนียเอง เกิดเป็นสภาวะบัฟเฟอร์
ที่สามารถเขียนสมการแสดงสภาวะสมดุลได้ว่า
(สมการนี้เรียกว่า Handerson Hasselbalch)
เมื่อเติมกรด: หากนักเรียนเติมกรดลงไป สารละลายบัฟเฟอร์จะทำการกำจัด H+ ที่เพิ่มขึ้นมา โดยการนำ NH3 ไปทำปฏิกิริยากับกรด เกิดเป็น NH4+
จากสถานการณ์นี้ จำนวน NH3 จะมีค่าลดลง จำนวน NH4+ มีค่าเพิ่มขึ้น แต่จำนวน OH- จะมีค่าคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก ทำให้ pH ของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก
เมื่อเติมเบส: ในกรณีนี้ สารละลายบัฟเฟอร์จะทำการจำกัดเบสที่เติมมา โดยนำ NH4+มาทำปฏิกิริยากับ OH- เกิดเป็น NH3 และน้ำ
จากสถานการณ์นี้ จำนวน NH3 จะมีค่าเพิ่มขึ้น จำนวน NH4+ มีค่าลดลง ทำให้จำนวน OH- มีค่าเท่าเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก ทำให้ pH ของสารละลายไม่เปลี่ยนแปลง
บัฟเฟอร์มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ช่วยรักษา homeostasis ในร่างกาย รักษาสภาพกรด-เบสภายในเซลล์ให้คงที่
ตัวอย่าง ช่วยในการรักษา pH ของพลาสมาในเลือด ช่วยรักษาสภาพบัฟเฟอร์ในไต เป็นต้น