เช่น
ตัวอย่าง สารที่เป็น กรด
ตัวอย่าง สารที่เป็น เบส
นิยามของ เบรินสเตด-ลาวรี สามารถอธิบาย สารที่เป็นกรดและเบสได้กว้างขวางกว่าทฤษฎีกรด- เบส อาร์เรเนียส เนื่องจากพิจารณาความเป็นกรดและเบสของสารจากการถ่ายโอนโปรตอนเท่านั้น ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่านั้น
เช่น
ความเป็นกรดของ NH4Cl และความเป็นเบสของ CH3COONa ซึ่งในโมเลกุลไม่มี H+ หรือ OH- แต่เมื่อละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส
เช่น NH4Cl เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออนและเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
NH4+ให้ H+ กับ H2O
ดังนั้น NH4+ จึงทำหน้าที่เป็นกรด ในขณะที่ H2O รับ H+ จาก NH4+
ดังนั้น H2O จึงทำหน้าที่เป็นเบสและในสารละลายมี H3O+ เกิดขึ้น สารละลาย NH4Cl จึงมีสมบัติเป็นกรด
สำหรับ CH3COONa เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออนและเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
H2O ให้ H+ กับ CH3COO- เกิดเป็น OH- ในขณะที่ CH3COO- รับ H+ จากน้ำเกิดเป็น CH3COOH
ดังนั้น H2O จึงทำหน้าที่เป็นกรด ส่วน CH3COO- ทำหน้าที่เป็นเบส ในสารละลายมี OH- เกิดขึ้น ดังนั้นจึงสามารถอธิบายสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย CH3COONa ได้
อธิบายความเป็นกรดเบสของสารได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีหรือไม่มีน้ำ หรือมี H+ ไม่มี H+ ก็ได้ โดยเฉพาะปฏิกิริยาที่ไม่มีน้ำเกี่ยวข้องแต่มีการใช้คู่อิเล็กตรอนร่วมกัน
เช่น
ปฏิกิริยาระหว่างโบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) กับแอมโมเนีย (NH3)
NH3 มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ จึงเป็นสารที่ให้คู่อิเล็กตรอน ส่วน BF3 เป็นสารที่รับคู่อิเล็กตรอน
ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบส ส่วน BF3 เป็นกรด
ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส ยังสามารถใช้อธิบายความเป็นกรด-เบส ของสารที่มีโปรตอนเช่นเดียวกับ ทฤษฎีของเบรินสเตด-ลาวรี
เช่น
ปฺฏิกิริยาระหว่างโปรตอนกับไฮดรอกไซด์เกิดเป็นน้ำ ดังสมการ
จากสมการ OH- ให้คู่อิเล็กตรอนกับ H+ จึงเป็นเบส ส่วน H+ เป็นกรด เพราะรับคู่อิเล็กตรอนจาก OH- แล้วเกิดพันธะ O-H
สารบางประเภทที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส เรียกว่า สารแอมโฟเทอริก (amphoteric)
โดยน้ำเป็นตัวอย่างของสารแอมโฟเทอริก ดังสมการ