การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (2) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (2) (ชุดที่ 2)

HARD

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (2) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง

การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก
หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุตามแนวเส้นตรงในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลกต่อวัตถุนั้น การเคลื่อนที่ลักษณะนี้คิดว่าไม่มีแรงต้านใด ๆ มากระทำต่อวัตถุ ยกเว้นแรงดึงดูดของโลก

การตกอย่างอิสระ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่ค่าหนึ่ง ความเร่งของการเคลื่อนที่อย่างอิสระนี้ เรียกว่า ความเร่งโน้มถ่วง (Gravitational acceleration) ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเขียนแทนด้วย g ซึ่งมีค่าประมาณ 9.8 m divided by s squared ทิศทางลงในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้นผิวโลก

เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือ การเคลื่อนที่
ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่ง ดังนั้น สูตรทั่วไปในการคำนวณ
จึงเหมือนกับสูตรการเคลื่อนที่ในแนวราบ เพียงแต่เปลี่ยนค่า a เป็น g เท่านั้น ดังตารางต่อไปนี้

แนวราบ

แนวดิ่ง

v equals u plus a tv equals u plus g t
s equals u t plus 1 half a t squareds equals u t plus 1 half g t squared
s equals space space fraction numerator u plus v over denominator 2 end fraction space ts equals space space fraction numerator u plus v space over denominator 2 end fraction t
v squared equals u squared plus 2 a sv squared equals u squared plus 2 g s


สมการ
การเคลื่อนที่ในแนวราบ

ค่าที่ไม่ขาดหายไป

v equals u plus a ts
s equals u t plus 1 half a t squaredv
v squared equals u squared plus 2 a st
s equals open parentheses fraction numerator u plus v over denominator 2 end fraction close parentheses ta


สมการ
การ
เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

ค่าที่ไม่ขาดหายไป

v equals u plus g th
h equals u t plus 1 half g t squaredv
v squared equals u squared plus 2 g ht
h equals open parentheses fraction numerator u plus v over denominator 2 end fraction close parentheses tg


เครื่องหมายในสูตร

  1. กำหนดให้ของ u เป็นบวกเสมอ ปริมาณใดก็ตามที่
    ทิศตรงข้ามกับ u จะมีเครื่องหมายเป็นลบ
  2. การกระจัดของวัตถุจุดเริ่มต้นและพิจารณาเครื่องหมายโดยใช้ u เป็นหลัก ถ้าการกระจัดมีทิศเดียวกับ u จะเป็นบวก ถ้ามีทิศตรงข้ามกับ u จะเป็นลบ

ข้อควรจำ

  1. เครื่องหมายของ g
    • ถ้าขว้างวัตถุขึ้นด้วยความเร็วต้น u ตลอดการเคลื่อนที่นี้ ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ใช้ค่า g เป็นลบเสมอ
    • ถ้าปล่อยวัตถุลงหรือขว้างวัตถุลงความความเร็วต้น u ตลอดการเคลื่อนที่นี้ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ใช้ค่า g เป็นบวกเสมอ
  2. ปล่อยวัตถุหรือทิ้งวัตถุลงมา u = 0 ถ้าขว้างลงมาความเร็วต้นจะไม่เท่ากับศูนย์
  3. ที่จุดสุงสุด v = 0
  4. ที่ระดับเดียวกัน อัตราเร็วขาขึ้นจะเท่ากับอัตราเร็วขาลง
    แต่ทิศทางตรงกันข้าม
  5. ในช่วงขาขึ้นและขาลงจะใช้เวลาเท่ากัน