วิทยาศาสตร์ มาจากภาษาลาติน “Scientia” หมายความว่าความรู้ทั่วไป ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสามารถพิสูจน์ผ่านกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสรุปได้ว่าถูกต้องและเป็นความจริง
การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นต้องอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ ดังนี้
วิทยาศาสตร์สามารถแบ่งได้เป็น วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
คือ ทำให้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น
ดังนั้น จัดได้ว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน
จากการสังเกต การบันทึก การทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล
เพื่อที่จะหาคำอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตนั้น หรือตั้งเป็นทฤษฎีที่เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกับสิ่งที่สังเกตเห็น หรือผลการทดลองนั้น ไ ขึ้นมาในแนวทางนี้อาจต้องทำการทดลองซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในความถูกต้องของคำอธิบายและทฤษฎีนั้น
จากการสร้างแบบจำลอง
เป็นการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความมีเหตุผล และมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี นำมาประกอบกันในการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ซึ่งไม่เคยคิดกันมาก่อนโดยทฤษฎีที่สร้างขึ้นมานี้จะเป็นที่ยอมรับว่าใช้ได้ก็ต่อเมื่อสามารถนำไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการทดลอง หรือต้องมีผลการทดลองที่ยืนยันสนับสนุน ทฤษฎีนั้นจึงเป็นที่ยอมรับว่าใช้ได้
การแสดงผลของการวัดและการอ่านผลจากเครื่องมือวัด
การอ่านค่าจากเครื่องมือวัดแบบแสดงผลด้วยขีดสเกล ต้องทราบความละเอียดของเครื่องมือวัดนั้นๆ เช่น ไม้บรรทัดที่มีช่องสเกลเล็กที่สุดเท่ากับ 0.1 เซนติเมตร สามารถอ่านได้ละเอียดที่สุดเพียงทศนิยมตำแหน่งเดียวของเซนติเมตรเท่านั้น และต้องประมาณค่าตัวเลขหลังทศนิยมตำแหน่งที่สอง เช่น 8.30 เซนติเมตร ถ้ามั่นใจว่าความยาวยาวเท่ากับ 8.3 พอดี ตัวเลขที่ประมาณขึ้นมาก็คือ 0
การอ่านค่าจากเครื่องวัดแบบแสดงผลด้วยตัวเลข สามารถอ่านได้โดยตรงตามตัวเลขบนจอภาพ
เช่น เวลา 10.10 นาฬิกา ก้อนหินหนัก 1.53 กิโลกรัม เป็นต้น ไม่ต้องบอกค่าประมาณ
การเลือกใช้เครื่องมือวัด
ต้องคำนึงถึงประเภทของความละเอียดที่ต้องการวัด เช่น การวัดความยาวทั่ว ๆ ไป ควรใช้ตลับเมตรหรือไม้เมตร แต่สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด ควรใช้ เวอร์เนียร์ หรือ ไมโครมิเตอร์
หน่วยของการวัด เป็นการกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นหน่วยกลางทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Units) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า "SI"
หน่วยฐาน (Base Units) เป็นหน่วยหลักของเอสไอ ทั้งหมด 7 หน่วย ดังตาราง
ปริมาณ
ชื่อหน่วย
สัญลักษณ์
ความยาว เมตร m มวล กิโลกรัม kg เวลา วินาที s กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ A อุณหภูมิ
อุณหพลวัติเคลวิน K ปริมาณของสาร โมล mol ความเข้มของ
การส่องสว่างแคนเดลา cd
หน่วยเสริม (Suppilmentary Units) หน่วยเสริมของระบบ SI มี 2 หน่วย คือ เรเดียน (Radian: rad) เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบ และ สตีเรเดียน (Steradian: sr) เป็นหน่วยวัดมุมตัน
หน่วยอนุพันธ์ (Derived Units) เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วยและบางหน่วยก็ใช้ชื่อและสัญลักษณ์เป็นพิเศษ เช่น หน่วยเมตร/วินาที (m/s), กิโลกรัมเมตรต่อวินาทีกำลังสอง (kg.m/s2) หรือนิวตัน (N), จูลต่อวินาที (J/s) หรือวัตต์ (w)
การบันทึกปริมาณที่มีค่ามากหรือน้อยและการปลี่ยนหน่วย
ตัวพหุคูณ คือ 10n เป็นการเขียนเพื่อลดรูปปริมาณที่ใหญ่มากๆ หรือเล็กมากๆ
คำอุปสรรค คือ สัญลักษณ์แทนค่าตัวพหุคูณบางค่า ดังตาราง
ตัวนำหน้า สัญลักษณ์ ตัวคูณ Exa- E 1018 Peta- P 1015 Teta- T 1012 Giga- G 109 Mega- M 106 Kilo- K 103 Hecto- H 102 Deka- Da 101 Deci- D 10-1 Centi- C 10-2 Milli- M 10-3 Micro- 10-6 Nano- n 10-9 Pico- p 10-12 Femto- f 10-15 Atto- a 10-18
วิธีที่ 1 เทียบบัญญัติไตรยางศ์ |
เปลี่ยนมิลลิกรัม -----> วิธีทำ =0.4 มิลลิกรัม = = ดังนั้น = = |
วิธีที่ 2 ใช้ตัวพหุคูณ |
(**เอาตัวตั้งคูณ ตัวเปลี่ยนหาร) วิธีทำ ตัวตั้ง คือ m (มิลลิ) = ตัวเปลี่ยน คือ k (กิโล) = ดังนั้น = |
เลขนัยสำคัญ ตัวเลขที่อ่านได้จากสเกลของเครื่องมือวัด รวมกับตัวเลขที่ได้จากการคาดเดาอีก 1 ตำแหน่ง
การนับเลขนัยสำคัญ
การบวก การลบ การคูณ และการหารเลขนัยสำคัญ
ความไม่แน่นอนในการวัด
ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์จากการบวกสามารถคิดจากปริมาณความคลาดเคลื่อนจริงของแต่ละตัวมาบวกกัน (**การบวกลบ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกกันเสมอ)
ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์จากการคูณหาร สามารถคิดจากเปอร์เซนต์ของความคลาดเคลื่อนของแต่ละตัวมาบวกกัน (** การคูณหาร ค่าความคลาดเคลื่อนบวกกันเสมอ)